กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

วัคซีนโรคหัด คืออะไร?

วัคซีนสำคัญช่วยป้องกันเด็กๆ และผู้ใหญ่จากโรคหัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เผยแพร่ครั้งแรก 15 ต.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 ก.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
วัคซีนโรคหัด คืออะไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคหัด (Measles) เป็นโรคที่พบได้ทั้งในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เด็ก และผู้ใหญ่อายุ 20- 40 ปี ที่อยู่รวมกันเป็นหมู่มาก มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มพารามิคโซไวรัส (Paramyxovirus)
  • โรคหัดสามารถติดต่อกันผ่านการหายใจ การสัมผัสน้ำมูก และน้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง เช่น จากการไอ จาม แล้ว นอกจากนี้แล้วเชื้อไวรัสยังสามารถมีชีวิตอยู่ในอากาศ หรือพื้นผิวสัมผัสต่างๆ ได้นานถึง 2 ชั่วโมง
  • สำหรับเด็กเล็ก หากเป็นโรคหัดจะมีโอกาสเสียชีวิตได้มากเพราะมีภูมิต้านทานต่ำ สอดคล้องกับข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกที่จัดให้โรคหัดเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เด็กเสียชีวิตมากที่สุด
  • เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายจะใช้เวลาในการฟักตัว 10- 14 วัน ระยะนี้ยังไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา จากนั้นจะเริ่มมีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น มีไข้ น้ำมูกไหล เริ่มมีตุ่มภายในกระพุ้งแก้มซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคหัด จากนั้นจะเข้าสู่ระยะออกผื่น มีผื่นสีแดงตามร่างกาย  
  • มีรายงานว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนโรคหัดมากกว่า 95% จะมีภูมิต้านทานต่อโรคนี้ ช่วยลดการติดเชื้อและอัตราการตายได้ ดังนั้นการฉีดวัคซีนโรคหัดจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีและคุ้มค่า (ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดได้ที่นี่)

โรคหัด (Measles) เป็นโรคที่พบได้ทั้งในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เด็ก และผู้ใหญ่อายุ 20- 40 ปี ที่อยู่รวมกันเป็นหมู่มาก เช่น โรงเรียน ค่ายทหาร เรือนจำ มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มพารามิคโซไวรัส (Paramyxovirus) 

โรคหัดสามารถติดต่อกันผ่านการหายใจ การสัมผัสน้ำมูก และน้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง นอกจากการสัมผัสโดยตรง เช่น จากการไอ จาม แล้ว เชื้อไวรัสนี้ยังสามารถมีชีวิตอยู่ในอากาศ หรือพื้นผิวสัมผัสต่างๆ ได้นานถึง 2 ชั่วโมง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สำหรับเด็กเล็ก หากเป็นโรคหัดจะมีโอกาสเสียชีวิตได้มากเพราะมีภูมิต้านทานต่ำ สอดคล้องกับข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกที่จัดให้โรคหัดเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เด็กเสียชีวิตมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนโรคหัดมากกว่า 95% จะมีภูมิต้านทานต่อโรคนี้ ช่วยลดการติดเชื้อและอัตราการตายได้ แม้จะได้รับวัคซีนเพียงเข็มเดียว

อาการของโรคหัด 

  • ระยะติดเชื้อและฟักตัว เชื้อไวรัสจะใช้เวลาในการฟักตัว 10- 14 วัน ระยะนี้ยังไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา
  • ระยะก่อนออกผื่น มีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น มีไข้ น้ำมูกไหล ไอแห้ง ตาแดง อ่อนเพลีย เจ็บคอ เริ่มมีตุ่มภายในกระพุ้งแก้มบริเวณใกล้ฟันกรามเรียกว่า "ตุ่มค็อปลิก (Koplik spot)" ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคหัด ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ในช่วงนี้ (4 วันก่อนผื่นขึ้น) 
  • ระยะออกผื่น มีผื่นสีแดงขนาดเล็ก ไม่นูน ขึ้นตามร่างกาย หากขึ้นติดๆ กันจะดูเป็นปื้นใหญ่ ผื่นสีแดงจะเริ่มขึ้นจากบริเวณหลังใบหู ตีนผม ลำคอ แขน ลำตัว ในระยะนี้ยังคงมีไข้สูงอย่างต่อเนื่อง
  • เมื่อผื่นสีแดงลงมาถึงเท้า ไข้ก็จะหายไป ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ในช่วงนี้ (4 วันหลังผื่นขึ้น)
  • ระยะต่อเนื่อง ผื่นเริ่มเปลี่ยนสีจากแดงเป็นน้ำตาล และค่อยๆ ลอกออก ตามลำดับ 

ความน่ากลัวของโรคหัดคือ ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ได้แก่ หูติดเชื้อ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ลำไส้อักเสบ สมองอักเสบ ดังนั้นหากติดเชื้อโรคหัดต้องรีบรักษาให้เร็วที่สุด 

อย่างไรก็ตาม วิธีที่ดีและมีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันไม่ให้เป็นโรคหัดทั้งในเด็กและผู้ใหญ่คือ การฉีดวัคซีนโรคหัดเพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน 

วัคซีนโรคหัด (MMR)

วัคซีนโรคหัด (MMR) เป็นวัคซีนป้องกันโรคหัด (Measles) คางทูม (Mumps) และหัดเยอรมัน (Rubella) ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส 

ด้วยเหตุนี้จึงสามารถพัฒนาวัคซีนให้สามารถฉีดรวมกันในเข็มเดียวได้ เพื่อลดความเจ็บปวด ให้ความสะดวก ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่าย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีน MMR วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 475 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การรับวัคซีนโรคหัด (MMR) สามารถรับครั้งแรกได้ตั้งแต่อายุ 9 เดือน และรับวัคซีนซ้ำครั้งที่ 2 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันเมื่ออายุ 2 ปีครึ่ง สำหรับเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามกำหนด เมื่อมีอายุ 7 ปี สามารถรับวัคซีนได้อีกครั้ง

ใครควรเข้ารับการฉีดวัคซีน?

ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (CDC) แนะนำให้เด็กทุกคนฉีดวัคซีน MMR เข็มแรกควรให้ระหว่างอายุ 9 เดือน และแนะนำให้ฉีดเข็มที่สองระหว่างอายุ 2 ปีครึ่ง หรือสามารถฉีดในช่วงใดก็ได้หลังจากการฉีดเข็มแรกไปแล้ว 28 วัน

สำหรับผู้ใหญ่ อาจไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน MMR หากว่า คุณมีคุณสมบัติเข้าข่ายต่อไปนี้

  • เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อนตอนเด็ก ไม่ว่าจะเป็นแบบ MMR 2 เข็ม หรือ MMR เข็มแรก และวัคซีนโรคหัดเป็นเข็มที่ 2
  • เกิดก่อนปี ค.ศ. 1957 ( คุณน่าจะเคยติดเชื้อนี้ตอนที่เป็นเด็กแล้วและขณะนี้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคแล้ว)
  • มีผลการตรวจเลือดที่แสดงว่า มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัด คางทูม และหัดเยอรมัน
  • เป็นผู้หญิงที่เกิดก่อนปีค.ศ. 1957 และมั่นใจว่า จะไม่มีบุตรอีก เคยได้รับวัคซีนโรคหัดเยอรมัน หรือมีผลตรวจเลือดพบภูมิต่อโรคหัดเยอรมัน

หากคุณเคยได้รับ วัคซีน MMR แค่ 1 เข็ม และมีความเสี่ยงต่ำที่จะมีการติดเชื้อไวรัส คุณอาจไม่ต้องฉีดเข็มที่ 2 ก็ได้

อย่างไรก็ตาม คุณควรได้รับวัคซีน MMR 2 เข็ม หากคุณอยู่ในภาวะต่อไปนี้ 

  • เคยได้รับวัคซีนชนิดเชื้อตาย ซึ่งใช้ระหว่างปีค.ศ. 1963-1967
  • เคยได้รับวัคซีนชนิดโรคคางทูมชนิดเชื้อตายก่อนปีค.ศ. 1979 และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง
  • เป็นผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์
  • นักเรียนและนักศึกษาที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนนี้ 
  • วางแผนเดินทางไปต่างประเทศ หรือเดินทางด้วยเรือสำราญ
  • เป็นผู้ให้บริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์อื่นๆ
  • อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีการระบาดของโรค

ใครบ้างที่ไม่ควรฉีดวัคซีน MMR 

  • อยู่ระหว่างกำลังตั้งครรภ์ หรือคิดว่า มีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์
  • มีบิดา มารดา หรือพี่น้องที่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน 
  • มีประวัติแพ้วัคซีน MMR ที่ฉีดเข็มแรก อย่างร้ายแรง
  • มีประวัติแพ้วัคซีน หรือยานีโอมัยซิน เจลาติน
  • ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
  • มีระดับภูมิคุ้มกันที่ต่ำมาก เช่น จากการติดเชื้อ HIV 
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็งซึ่งได้รับยาเคมีบำบัด หรือฉายแสง
  • เคยมีภาวะโรคที่ทำให้ฟกช้ำ หรือเลือดออกได้ง่าย
  • ผู้ป่วยวัณโรค
  • ผู้ที่ได้รับเลือด และผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากเลือด
  • ผู้มีอาการป่วย หรือไม่สบาย แม้ว่าจะเล็กน้อย เช่น หวัด  
  • ได้รับวัคซีนอื่นในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ผลข้างเคียงของวัคซีน

  • มีไข้สูงภายใน 5-12 วัน หลังจากนั้นไข้จะลดลง
  • มีผื่นขึ้นตามร่างกายเล็กน้อยราว 1-2 สัปดาห์
  • ปวดข้อ
  • บวมแดง ร้อน บริเวณที่ฉีด
  • มีต่อมน้ำเหลืองบริเวณแก้ม คอ หรือใต้ขากรรไกรโต
  • ชักจากการมีไข้สูง

ผลข้างเคียงเหล่านี้เป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไปเช่นเดียวกับการฉีกวัคซีนชนิดอื่นๆ แต่หากมีผลข้างเคียงอย่างรุนแรง ควรรีบมาพบแพทย์ทันที 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆ จากวัคซีน MMR ที่พบได้น้อยประกอบด้วย สูญเสียการได้ยินถาวร มีอาการชัก และระดับการรู้สึกตัวลดลงเป็นเวลานาน และสมองถูกทำลาย

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้พบได้น้อยมาก การรับวัคซีนป้องกันโรคจึงเป็นการลงทุนเพื่อป้องกันโรคที่คุ้มค่ามากกว่าเมื่อเทียบกับการรักษาโรค หรือเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน

ราคาวัคซีน MMR 

สำหรับราคาวัคซีน MMR ซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันโรคหัด (Measles) คางทูม (Mumps) และหัดเยอรมัน (Rubella) 

  • สำหรับโรงพยาบาลรัฐบาล ราคาเข็มละ 300 - 700บาท 
  • สำหรับโรงพยาบาลรัฐบาล ราคาเข็มละ 500-1,200 บาท ทั้งนี้ยังไม่รวมอัตราค่าบริการของโรงพยาบาลแต่ละแห่งซึ่งอาจแตกต่างกันไป 

หากคุณมีบุตรหลานควรใส่ใจเรื่องการรับวัคซีนสำคัญๆ ตามกำหนด เพื่อให้พวกเขาเติบโตชึ้นอย่างแข็งแรง ห่างไกลจากโรคต่างๆ แม้แต่คุณผู้ใหญ่เอง หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังที่กล่าวมาก็ควรเข้ารับวัคซีนเช่นกัน  

ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

บทความที่เกี่ยวข้อง
วัคซีน MMR (วัคซีนโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน) คืออะไร จำเป็นหรือไม่ ใครควรฉีดบ้าง?


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
วัคซีน MMR คืออะไร? ฉีดกี่เข็ม? ฉีดตอนไหน? | HDmall (https://hdmall.co.th/c/vaccine-mmr).
Measles, World Health Organization (WHO) (https://www.who.int/immunization/diseases/measles/en/), 2 July 2019.
National Center for Biotechnology Information, Measles Vaccine (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5863094/), 6 July 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)