กัญชา

เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
กัญชา

คุณน่าจะเคยได้ยินชื่อเสียงเรียงนามของกัญชามาแล้วไม่มากก็น้อย มาดูข้อมูลลับเหล่านี้ที่ผู้เชี่ยวชาญได้ค้นพบเกี่ยวกับกัญชา 

กัญชาคืออะไร

กัญชาเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง เมื่อนำมาใช้เป็นยาเสพติดจะใช้บริเวณใบ ยอดช่อดอก และกิ่งก้าน ที่นำมาตากแดดจนแห้ง แล้วบดให้ละเอียด ส่วนที่ทำให้กัญชามีฤทธิ์รุนแรงคือส่วนของเกสรดอกกัญชา (Hash) ที่มีลักษณะกลมเหนียวสีน้ำตาลหรือสีดำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การใช้กัญชาเพื่อเสพจะใช้ในลักษณะคล้ายกับใบยาสูบคือ บดใบแห้งเป็นผงแล้วมวนสูบ ใส่ใบยาในกล้องยาสูบ หรือสูบผ่านบ้องกัญชา บางคนเสพด้วยการผสมกัญชาลงไปในอาหารหรือชงดื่มแบบชา 

ผลข้างเคียงระยะสั้น

กัญชามีส่วนประกอบของสารเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ที่ออกฤทธิ์จากปอดเข้าสู่เส้นเลือดและขึ้นสู่สมองหรืออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย

โดย THC จะถูกส่งไปยังต่อมเซลล์ประสาทในสมอง และเมื่อเซลล์ต่างๆ เหล่านี้แผ่กระจายทั่วสมองซึ่งควบคุมการรับรู้และอารมณ์ ทำให้ผู้เสพมีอาการเมายาและรู้สึกเพลิดเพลิน นอกจากนี้ THC ยังถูกส่งไปยังต่อมเซลล์ประสาทอื่นๆ ในสมองที่ส่งผลถึงกระบวนการคิด ความจำ สมาธิ และการประสานงานระหว่างสมองและร่างกาย ทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมา ดังนี้

  • มีปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการคิดวิเคราะห์และการคิดแก้ไขปัญหา
  • มีปัญหาเกี่ยวกับความจำและการรับรู้
  • สูญเสียการประสานงานระหว่างสมองและกล้ามเนื้อ
  • เกิดอาการรับรู้ของสมองที่ผิดเพี้ยนไป

แม้ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้นจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว แต่มันอาจนำมาซึ่งอันตรายและความเสียหายหากผู้เสพขับรถในขณะที่มีอาการมึนเมากัญชา

พบว่ากัญชาอาจทำให้ผู้เสพมีอาการอื่นๆ เพิ่มเติม ดังนี้

  • อยากอาหารมากขึ้น
  • วิงเวียนศีรษะและง่วงซึม
  • ควบคุมตนเองไม่ได้

ผลข้างเคียงระยะยาว

จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ที่เสพกัญชามาเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้เกิดผลข้างเคียง ดังต่อไปนี้

  • การทำงานของสมองเปลี่ยนไปจากปกติ กัญชาจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง ทำให้เกิดปัญหากับความจำ ไม่สามารถทำหลายสิ่งในเวลาเดียวกันได้ และไม่มีสมาธิ
  • ภาวะการมีบุตรยาก จากการทดลองกับสัตว์ การใช้กัญชาจะทำให้เพศชายผลิตสเปิร์มน้อยลงและไข่ตกช้าลงในผู้หญิง ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่เสพกัญชาจะส่งผลถึงเด็ก ทำให้เด็กมีปัญหาด้านพัฒนาการและพฤติกรรม
  • ปัญหาระบบทางเดินหายใจ ผู้ที่สูบกัญชาปริมาณมากมาเป็นระยะเวลานานจะมีปัญหาเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น มีเสมหะ ไอเรื้อรัง หรือเป็นโรคหลอดลมอักเสบ เป็นต้น
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย การเสพกัญชาปริมาณมากจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดปกติทำให้ผู้เสพติดเชื้อและเป็นโรคง่าย
  • ปัญหาทางด้านอารมณ์ ผู้ที่เสพกัญชามากๆ มักเกิดภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล และหากผู้เสพมีภาวะของโรคจิตเภทหรือไบโพล่าอยู่แล้ว การเสพกัญชาจะทำให้อาการดังกล่าวแย่ลง 

ปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น

ในหลายประเทศ กัญชาถือว่าเป็นสิ่งถูกกฎหมายหากครอบครองในปริมาณน้อย เช่น แพทย์สั่งเพื่อการรักษาโรค แต่ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่กัญชาถือว่าเป็นพืชผิดกฎหมาย ห้ามให้มีการเสพ ปลูก หรือขาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดจากการเสพกัญชา ดังนี้

  • ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมหรือกระทำผิดโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากกฎหมายการควบคุมที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ คุณอาจกระทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัวจากการครอบครองกัญชา
  • มีปัญหาในอาชีพการทำงาน ผู้ที่มีประวัติการเสพ ครอบครอง หรือขายกัญชา จะมีประวัติอาชญากรรมติดตัว ทำให้ส่งผลถึงการเรียนต่อหรือการสมัครงานในอนาคตได้
  • การตรวจสารเสพติด ในปัจจุบัน หนึ่งในกระบวนการรับบุคลากรเข้าทำงานจะมีการตรวจหาสารเสพติดในร่างกายด้วย และหากคุณเสพกัญชามาก่อนหรืออาจเสพมากว่าสัปดาห์ผลการตรวจจะแสดงค่าบวก ซึ่งนั่นจะส่งผลให้คุณไม่ได้งาน นอกจากนี้ ในบางองค์กรมีการตรวจสารเสพติดลูกจ้างอย่างสม่ำเสมอ นั่นหมายความว่า หากคุณเสพยาคุณจะมีโอกาสตกงานสูงมาก 

การใช้กัญชาในทางการแพทย์

องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาได้รับรองให้มีการใช้กัญชาเม็ดเพื่อรักษาอาการปวด คลื่นไส้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือใช้กับผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย และกัญชาสามารถนำมาใช้ในขั้นตอนของการรักษาผู้ป่วยมะเร็งหรือผู้ป่วยเอดส์ด้วย

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ ดังนั้น กัญชาเม็ดจึงถูกอนุญาตให้ใช้ได้ในบางรัฐในสหรัฐอเมริกาและการใช้ยาจะต้องมีใบสั่งของแพทย์เท่านั้น

นอกจากนี้ การศึกษาวิจัยยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าการสูบกัญชาจะสามารถรักษาโรคได้เช่นเดียวกับการกินแบบเม็ดหรือแคปซูล โดยนักวิทยาศาสตร์ยังคงดำเนินการศึกษาทดลองต่อไป 

แล้วจะมีวิธีเลิกอย่างไร

ผู้เสพกัญชาอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานานจะมีอาการติดยาและเลิกเสพได้ยาก หากพวกเขาอยู่ในห้วงเวลาของการเลิกกัญชา พวกเขาจะมีอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียว วิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ และเบื่ออาหาร อาการของผู้เลิกเสพกัญชาจะมีลักษณะคล้ายกับผู้เลิกดื่มกาแฟ และอาการจะรุนแรงในช่วง 1-2 วันแรก แต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นหลังจากนั้น โดยพวกเขาจะเลิกได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์

หากคุณพบว่าคุณเองหรือคนที่คุณรู้จักต้องการเลิกเสพกัญชาแต่ไม่สามารถเลิกได้ คุณสามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือนักบำบัด จากการศึกษาวิจัยพบว่า การรักษาผู้ติดยาด้วยการรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญหรือการเข้าร่วมกลุ่มบำบัดจะทำให้การเลิกยานั้นได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

ที่มาของข้อมูล  http://kidshealth.org/en/teens/marijuana.html


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Marijuana (cannabis): Facts, effects, and hazards. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/246392)
What is marijuana? | FAQs | Marijuana. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/marijuana/faqs/what-is-marijuana.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคจากการเสพกัญชา
โรคจากการเสพกัญชา

อาการแสดงเมื่อเสพติดกัญชา ภาวะเสพติดกัญชา

อ่านเพิ่ม