>อะไรคือโรคจากการเสพกัญชา?
โรคจากการเสพกัญชา คือนิยามที่ถูกกำหนดขึ้นใหม่ในเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช DSM 5 ใช้เรียกกลุ่มอาการที่สัมพันธ์กับการเสพกัญชา เดิมในเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช DSM 4 TR ฉบับก่อนหน้า กลุ่มอาการที่สัมพันธ์กับการเสพกัญชาจะถูกนิยามเป็น 2 กลุ่มย่อย เรียกว่า กลุ่มอาการแสดงเมื่อเสพติดกัญชา และภาวะเสพติดกัญชา
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
แสดงว่าการใช้กัญชาอาจไม่ทำให้ “เสพติด”กัญชา?
การตัดเอานิยามภาวะเสพติดกัญชาออกไปจากเกณฑ์วินิจฉัยโรคฉบับใหม่นั้น อาจทำให้หลายคนนำไปตีความว่า เช่นนั้นแล้วการใช้กัญชาอาจไม่จำเป็นต้องนำไปสู่การเสพติดกัญชาอย่างนั้นหรือ?
เพราะที่ผ่านมากัญชาก็ได้ชื่อว่าเป็นเพียงยาเสพติดชนิดอ่อนอยู่แล้ว
ก่อนเกณฑ์วินิจฉัยฉบับใหม่นี้จะถูกกำหนดขึ้น ได้มีการพิจารณาในหลายแง่มุมว่าควรนิยามโรคจากการเสพติดกัญชาว่าอย่างไรดี เนื่องจากผู้ใช้กัญชาหลายรายปฏิเสธอาการเสพติด แต่ในขณะที่ก็มีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่เกิดภาวะเสพติดกัญชาตามมา
นายแพทย์อลัน บัดนีย์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาวะเสพติดกัญชา ได้ศึกษารวบรวมผลงานวิจัยเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นหลังการหยุดเสพกัญชาแล้วพบว่า ผลทดลองในห้องปฏิบัติการได้บ่งชี้ว่าผู้ที่หยุดเสพกัญชาทั้งในกลุ่มผู้ป่วยที่นอนในโรงพยาบาลและผู้ป่วยนอก มีรูปแบบการเพิกถอนยาในลักษณะเดียวกันกับที่เกิดขึ้นกับผู้ที่หยุดเสพสารที่มีฤทธิ์เสพติดชัดเจน เช่น โคเคน หรือเฮโรอีน โดยสำหรับกัญชานั้น อาการถอนยาจะเกิดขึ้นหลังการหยุดใช้นานประมาณ 24 ชั่วโมง และเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่มีอาการรุนแรงสุดเมื่อเวลาผ่านไป 2-4 วัน และค่อยน้อยลงหลังจากผ่านไป 1-3 สัปดาห์
ดังนั้น แค่เพียงเพราะการนิยามชื่อเรียกขึ้นใหม่โดยไม่ใส่คำว่า “เสพติด” อย่างชัดเจนในคำจำกัดความนั้น ไม่ได้แปลว่ากัญชาไม่มีฤทธิ์เสพติด เนื่องจากผลงานวิจัยได้ยืนยันข้อเท็จจริงเรื่องนี้ชัดเจน
ทำไมถึงยุบรวมกลุ่มอาการสองกลุ่มเป็นโรคเดียว?
ในขั้นตอนการปรับปรุงเกณฑ์การวินิจฉัยออกมาเป็น DSM 5 นั้น คณะกรรมการได้พิจารณาทบทวนการจัดแบ่งกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นจากสารเสพติดชนิดต่าง ๆ ว่าควรแบ่งเป็นกลุ่มอาการย่อยสองกลุ่มเช่นเดิมหรือยุบรวมเหลือเพียงกลุ่มเดียว โดยพิจารณาถึงกลุ่มอาการที่เกิดจากการเสพติดกัญชาเป็นพิเศษ จากเดิมใน DSM 4 TR ในสองกลุ่มอาการย่อย “กลุ่มอาการแสดงเมื่อเสพติดกัญชา” ถือเป็นภาวะที่รุนแรงน้อยกว่า “กลุ่มอาการเสพติดกัญชา” โดยหมายรวมถึงปัญหาทางกายภาพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามหลังการเสพกัญชา โดยไม่จำเป็นต้องมีอาการเสพติด
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ในทางตรงข้าม “กลุ่มอาการเสพติดกัญชา” เป็นภาวะที่แสดงถึงระดับความเสพติดของผู้ป่วย ที่ประเมินได้จากอาการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการที่แสดงถึงภาวะถอนยาและภาวะดื้อยา
คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญได้ใช้ขั้นตอนคิดวิเคราะห์หลายรูปแบบ จนได้ข้อสรุปว่าการตั้งเกณฑ์เพื่อพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเสพติด เมื่อยุบลงเหลือเพียงกลุ่มอาการเดียวเรียกรวมเป็น “โรคจากเสพกัญชา” จะสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าเมื่อจัดแบ่งออกเป็นกลุ่มอาการย่อยสองกลุ่มแบบเดิม โดย “โรคจากการเสพกัญชา” จะรวมเอาอาการต่าง ๆ จากเดิมที่จัดอยู่ทั้งใน “กลุ่มอาการแสดงเมื่อเสพติดกัญชา” และ “กลุ่มอาการเสพติดกัญชา” มาไว้ด้วยกันตั้งเป็นเกณฑ์การวินิจฉัยใหม่ 11 อาการแสดง โดยความรุนแรงของโรคแบ่งเป็นระดับน้อย ปานกลาง และมาก ระดับน้อยคือมีอาการแสดงเข้าเกณฑ์ 2-3 อาการ ระดับปานกลางเข้าเกณฑ์ 4-5 อาการ และระดับรุนแรงคือมากกว่า 6 อาการขึ้นไป
ทั้งนี้ ระดับความรุนแรงในเกณฑ์แบ่งแบบใหม่นี้เป็นอาการแสดงทางกายภาพ ซึ่งไม่ได้บ่งชี้ถึงความรุนแรงของระดับความเสพติด ซึ่งหากต้องการประเมินร่วม สามารถทำได้โดยใช้เกณฑ์อื่นๆเพิ่มเติม
อาการแสดงของโรคจากการเสพกัญชา
เกณฑ์การวินิจฉัย “โรคจากการเสพกัญชา” คือมีอาการแสดงเข้าเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 2 ข้อขึ้นไป ภายในระยะเวลา 12 เดือน
- เสพกัญชาเกินขนาดที่ตั้งใจไว้ในตอนแรก
- มีปัญหาการควบคุมหรือลดปริมาณการใช้กัญชา
- หมดเวลาส่วนใหญ่ไปกับการเสพกัญชา
- มีความอยากเสพกัญชามากผิดปกติ
- มีปัญหาการทำงาน การเรียน หรือปัญหาที่บ้านอันเป็นผลมาจากการเสพกัญชา
- เสพกัญชาแม้จะตระหนักว่าการเสพกัญชาจะก่อให้เกิดปัญหาในการเข้าสังคม หรือปัญหาความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
- ลดหรือเลิกทำกิจกรรมอื่นที่เคยทำเพื่อเสพกัญชา
- เสพกัญชาแม้จะตระหนักดีว่าอยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงสูง
- เสพกัญชาแม้จะตระหนักดีว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ
- มีภาวะดื้อต่อการเสพกัญชาในขนาดเท่าเดิม
- มีภาวะถอนยาเมื่อหยุดเสพกัญชา
อย่างไรก็ตามต้องย้ำอีกครั้งว่า เกณฑ์การวินิจฉัยโรคจากการเสพกัญชาเกณฑ์ใหม่นี้ ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ถึงระดับความรุนแรงของการ “เสพติด” กัญชา กล่าวคือแม้ว่าความรุนแรงของโรคจะจัดว่ารุนแรงมากตามเกณฑ์อาการแสดงข้างต้นนี้ ผู้ป่วยอาจจะเสพติดกัญชาในทางจิตเวชในระดับน้อย และในทำนองเดียวกันแม้ว่าจะจัดว่ามีความรุนแรงของโรคน้อย ผู้ป่วยอาจมีระดับการเสพติดกัญชาในทางจิตเวชมากก็เป็นได้ ทั้งนี้เพราะการประเมินระดับความรุนแรงของการเสพติดยาในทางจิตเวชนั้น มุ่งเน้นไปที่การประเมินภาวะดื้อต่อยาและภาวะถอนยาเป็นหลักเท่านั้น เนื่องจากเป็นสองอาการหลักที่เป็นลักษณะจำเพาะเจาะจงต่อภาวะเสพติดยา