การเสพกัญชาส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์อย่างไร

การเสพกัญชาส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์อย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 4 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 28 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การเสพกัญชาส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์อย่างไร

บางการศึกษาพบว่า กัญชาอาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ ยิ่งถ้าเสพอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ลดลง ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ในผู้ชาย กัญชาทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ลดลง ส่งผลให้ปริมาณเชื้ออสุจิในเพศชายลดลง 

โดยผลการศึกษาในปี 2015 พบว่า 29% ของผู้ชายที่ใช้กัญชาต่อเนื่องจะมีปริมาณเชื้ออสุจิลดลง ส่วนผู้หญิงที่เสพกัญชา ฮอร์โมนดีไฮโดรเอพิแอนโดรสเตอโรน (Dehydroepiandrosterone) จะลด ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะส่งผลต่อการสร้างไข่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้ ในกัญชายังมีสารที่เรียกว่า THC ซึ่งมีผลต่อระบบสืบพันธุ์เพศหญิง โดยลดการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้การตกไข่ช้าลง และขัดขวางการเคลื่อนที่ของเชื้ออสุจิ ทำให้โอกาสในการปฏิสนธิลดลงด้วย

มีการศึกษาที่ชี้ชัดว่า การเสพกัญชาเป็นประจำระหว่างตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด และทำให้เด็กที่เกิดมามีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และเนื่องจากการสูบกัญชา (หรือยาสูบ) เป็นการเพิ่มระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด จึงทำให้ทารกได้รับออกซิเจนน้อยลง และอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตได้

ยังมีการศึกษาอื่นๆ อีกพบว่า เด็กที่ได้รับฤทธิ์กัญชาตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่ จะมีการทำงานของสมองผิดปกติ และมักนอนหลับยากตั้งแต่วัยทารก รวมถึงอาจมีภาวะซึมเศร้า และมีปัญหาด้านพฤติกรรมต่างๆ เช่น สมาธิสั้น หุนหันพลันแล่น ควบคุมตัวเองไม่ได้ อีกทั้งยังมีงานวิจัยที่พบความเชื่อมโยงระหว่างการได้รับฤทธิ์กัญชาตั้งแต่ก่อนคลอด กับการสอบได้คะแนนในชั้นเรียนต่ำด้วย

ดังนั้น The American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้กัญชาระหว่างการตั้งครรภ์

นอกจากนี้ บางครั้งเราอาจไม่รู้ว่ากัญชาที่เสพนั้นบริสุทธิ์หรือไม่ อาจมีการปนเปื้อนของยาชนิดอื่นหรือยากำจัดวัชพืช ซึ่งยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ขึ้นไปอีก แม้แต่ในแหล่งขายยาที่ถูกกฎหมายก็อาจไม่ได้มีการควบคุมอย่างเข้มงวด และถึงแม้จะมีการกล่าวอ้างว่าผลิตภัณฑ์ทั้งหมดผ่านการตรวจสอบและรับรองถูกต้องแล้วก็ตาม

แต่หากคุณใช้กัญชาด้วยจุดประสงค์ทางการแพทย์ ให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพว่าคุณวางแผนจะมีบุตร เพื่อขอคำแนะนำสำหรับการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยที่สุด


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ดร. ภญ. ผกาทิพย์ รื่นระเริงศักดิ์, กัญชากับการรักษาโรค, บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/453/กัญชา/), 17 เมษายน 2562
Julia Ries, 5 Things to Know About Marijuana Use and Your Fertility (https://www.healthline.com/health-news/5-things-to-know-about-fertility-and-marijuana), 10 June 2019
Heather Cruickshank, Here’s Why Experts Are Worried About Marijuana Use During Pregnancy (https://www.healthline.com/health-news/more-women-are-using-marijuana-during-pregnancy-heres-what-can-happen), 22 July 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป