ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกัญชาและโคเคน

เผยแพร่ครั้งแรก 13 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกัญชาและโคเคน

อ่านข้อมูลที่เป็นประโยชน์เรื่องข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกัญชาและโคเคน โคเคนทําให้คุณต้องจ่ายมากกว่าที่คุณคิด – ในหลายแง่มุม อาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยบํารุงสุขภาพสําหรับผู้ใช้กัญชาและโคเคน ตลอดจนวิธีช่วยลด ละ เลิก โคเคน และข้อควรระวัง หากคุณสนใจสามารถอ่านต่อได้ที่นี่

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกัญชา

กัญชาสกัดมาจากพืชที่มีชื่อว่า Cannabis sativa กัญชาแห้งจะเป็นการนําส่วนของใบและก้านมาบด ในขณะที่ยางกัญชาทํามาจากยางในส่วนของดอก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ทั้งสองประเภทสามารถนํามาสูบหรือรับประทานได้ หากนํามาสูบ ผล ของมันจะคงอยู่ประมาณ 3 ชั่วโมง หากใช้รับประทาน ผลจะคงอยู่ได้ 4-10 ชั่วโมง แต่กว่าจะเริ่มออกฤทธิ์จะใช้เวลานานกว่าแบบสูบ ข้อแตกต่างจากยากล่อมประสาทอื่นคือ กัญชามีคุณสมบัติประหลาดที่เรียกว่า “revers tolerance” คือผู้ที่ใช้เป็นประจําจะต้องการกัญชาในปริมาณที่น้อยลง เพื่อ ให้ได้ผลเท่ากับการใช้ครั้งแรกๆ มันออกฤทธิ์ให้เกิดการมึนเมา ผ่อนคลาย กล่อมประสาท กระตุ้นความอยากอาหาร และทําให้ประสาทหลอนอย่างอ่อนๆ ได้ ซึ่งผลที่เกิดต่างกันไปในแต่ละคน

การสูบกัญชาหนึ่งมวนสามารถส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้น เร็วขึ้น อุณหภูมิในร่างกายต่ำลง และระดับวิตามินซีในเลือดต่ำลง ยังพบด้วย ว่า การสูบกัญชาในระหว่างตั้งครรภ์ส่งผลให้เด็กมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำและเพิ่ม ความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด

ข้อควรระวัง: อาการทางจิตขั้นรุนแรงอาจเกิดขึ้นได้ หากนํากัญชามา รับประทาน และผู้ใช้มักไม่สามารถระบุปริมาณที่รับประทานเข้าไปได้

อาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยบํารุงสุขภาพสําหรับผู้ใช้กัญชา

เพิ่มการรับประทานผลไม้รสเปรี้ยวและผักใบเขียว (อาการอยากของหวาน ที่เกิดจากการใช้กัญชามักทําให้คุณรับประทานน้ําตาลและแป้งมากเกินควร ซึ่ง หมายความว่ามันทําให้คุณสูญเสียวิตามินบีที่จําเป็นไปจากร่างกายด้วย)

  • วิตามินซี 1,000 มก. เช้าและเย็น
  • วิตามินอี 100-400 ไอยู วันละ 1-3 เวลา เพื่อปกป้องปอดของคุณ

โคเคนทําให้คุณต้องจ่ายมากกว่าที่คุณคิด - ในหลายแง่มุม

โคเคนเป็นสารที่ทําให้หลอดเลือดหดตัว เป็นสารกระตุ้นระบบประสาท ส่วนกลาง และทําให้เส้นประสาทถูกกระตุ้นมากขึ้น หากนํามาใช้ทาภายนอก มันจะขัดขวางการนําประสาท และทําให้เกิดการชา

ไม่ว่าผู้ที่ใช้โคเคนจะจ่ายมากเท่าใด สิ่งที่ได้รับมักจะเป็นโคเคนที่มีความ บริสุทธิ์ไม่เกินกว่าร้อยละ 60 ที่เหลือจะเป็น“สารเจือปน” ซึ่งผู้ขายยานํามา เจือปนเพื่อเพิ่มปริมาณและผลกําไร สารเจือปนบางอย่างไม่มีอันตราย เช่น แล็กโทส เดกซ์โทรส อินอซิทอล (วิตามินบี) และแมนนิทอล สารเจือปนที่ไม่ใช่ยา เช่น แป้งข้าวโพด แป้งโรยตัว และแป้งทําอาหาร อาจทําอันตรายกับร่างกายได้ เพราะสารเหล่านี้ไม่ละลายในเลือด และทําให้เกิดการอุดตันได้ เบนโซโคนซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์คล้ายยา อาจทําให้เกิดลิ่มเลือดและภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ หากนํามาใช้ผสมในโคเคน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เพราะยาจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วผ่านทางเยื่อบุต่างๆ การสูดดมทางจมูกจึงเป็นวิธีที่นิยมที่สุดในการใช้โคเคน การนํามาทาใต้ลิ้นหรือหนังตา หรือแม้แต่บริเวณอวัยวะเพศ ก็เป็นวิธีที่ใช้กันบ่อยเช่นกัน โคเคนยังอาจนํามาใช้ฉีดเข้า เส้นเลือดดํา หรือนํามาสูบโดยผ่านขั้นตอนที่เรียกว่า “ฟรีเบสซิ่ง” หรือแคร็ก โดยการนําโคเคน ผงฟู และน้ํา มาต้มกลั่นจนได้ส่วนที่สูดดมได้เรียกว่า “ร็อก”

อาการมึนเมาจากโค้ก (เป็นสแลงที่ใช้เรียกโคเคน - ผู้แปล) นั้นค่อนข้างสั้น (ประมาณครึ่งชั่วโมง) อาการคือ อารมณ์ดีผิดปกติ รู้สึกมีพลังและความมั่นใจ สูง และต้องใช้ยามากขึ้นเรื่อยๆ ในครั้งต่อไป เพื่อให้ได้ผลแบบเดิม การเสพติดจึงรุนแรงมาก

นอกจากจะทําให้เกิดเลือดกําเดาไหล หัวใจเต้นเร็ว ตัวเย็น เหงื่อออก ไม่อยากอาหาร และรู้สึกคล้ายมีแมลงหรือเหลือบไรไต่ตามตัวในบางคนแล้ว ยังทําให้เกิดอาการชัก อาเจียน ช็อกหมดสติ และเสียชีวิตได้ พิษของมัน คาดเดาได้ยาก แม้ปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ทําให้ถึงแก่ชีวิตได้ หากมีสารเจือปนที่อันตรายหรือผู้เสพมีอาการตอบสนองไวต่อยา 

อาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยบํารุงสุขภาพสําหรับผู้ใช้ โคเคน

  • เอ็มวีพี
  • แคลเซียมผ่านการคีเลชัน (500 มก.) กับแมกนีเซียม (250 มก.) วันละ 2 เวลา เช้าและก่อนนอน
  • อาจรับประทานกาวากาวาชนิดแคปซูลก่อนนอน เพื่อรักษาอาการนอนหลับ ไม่สนิท
  • วิตามินซี 1,000 มก. วิตามินอี 200 - 400 ไอยู และวิตามินบีรวม 100 มก. ทั้งหมดนี้ วันละ 1-3 เวลา

วิธีช่วยลด ละ เลิก โคเคน

ไทโรซีน กรดแอมิโนที่มักพบในเนื้อสัตว์และแป้งสาลี (ดูเพิ่มเติมในตอนที่ 86) ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า อ่อนเพลีย และหงุดหงิด ซึ่งทําให้การเลิกใช้ โคเคนเป็นไปได้ยาก ที่โรงพยาบาลแฟร์โอ๊กส์ในซัม-มิท รัฐนิวเจอร์ซีย์ ให้ผู้ที่ติดยารับประทานกรดแอมิโนผสมในน้ำส้มเป็นเวลาสิบสองวัน ร่วมกับวิตามินซี บี (ไทอะมีน ไนอะซิน และไรโบฟลาวิน) และไทโรซีนไฮดร็อกซีเลส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ช่วยให้ร่างกายใช้ไท-โรซีนได้ พบว่า ผลการรักษาได้ผลดีมาก การรับประทานเซนต์จอห์นส์วอร์ตคอมเพล็กซ์แบบดอัลแอ๊คชั่น 1 เม็ดในตอนเช้า ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cannabis. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/substance_abuse/facts/cannabis/en/)
Marijuana: Myths, Effects, Risks, and How to Get Help. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/basic-facts-about-marijuana-67790)
Fast Facts and Fact Sheets | Marijuana. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/marijuana/fact-sheets.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคจากการเสพกัญชา
โรคจากการเสพกัญชา

อาการแสดงเมื่อเสพติดกัญชา ภาวะเสพติดกัญชา

อ่านเพิ่ม
การเสพกัญชาส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์อย่างไร
การเสพกัญชาส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์อย่างไร

การเสพกัญชาส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์อย่างไร

อ่านเพิ่ม