โรคมาลาเรีย (Malaria)

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคมาลาเรีย (Malaria)

ความหมาย

เป็นโรคติดเชื้อ บางครั้งเรียกไข้มาลาเรีย ไข้จับสั่น มักพบบริเวณที่เป็นป่าเขา

สาเหตุ

เกิดจากการติดเชื้อ Plasmodium เช่น Plasmodium vivax, Plasmodium falciparum, Plasmodium ovale, Plasmodium mamaiae เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

พยาธิสรีรภาพ

เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยถูกยุงก้นปล้อง (Anopheline mosquito) กัด โดย Sqorozoit ของเชื้อมาลาเรียที่อยู่ในน้ำลายยุงจะเข้าสู่กระแสเลือดแล้วเข้าไปอาศัยในเซลล์ของตับจนหมดภายใน 1 ชั่วโมง ทำให้ในระยะเวลานี้ไม่สามารถตรวจ Sporozoit ได้ในกระแสเลือด เมื่อ Sporozoit เข้าสู่เซลล์ตับแล้วจะเจริญเป็น Merozoit ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก่อนเข้าสู่กระแสเลือดอีกครั้ง ต่อมา Merozoit ที่อยู่ในเซลล์ตับแตกออดเชื้อมาเลเรีย Plasmodium จะเจริญเต็มที่เป็น Mature schizoint เข้าไปอาศัยอยู่ในเม็ดเลือดแดง แล้วเริ่มต้นวงจรชีวิตในเม็ดเลือดแดงต่อไป เมื่อเชื้อมาลาเรียเข้าไปอยู่ในเม็ดเลือดแดง แล้วเริ่มต้นวงจรชีวิตในเม็ดเลือดแดงต่อไป เมื่อเชื้อมาลาเรียเข้าไปอยู่ในเม็ดเลือดแดงทำให้เลือดแดงแตกร่างกายจะตอบสนองต่อแอนติเจนของเชื้อมาลาเรียโดยการปล่อยไซโตไคน์ เช่น Interleukin 1(IL-1) และ Tumor necrosis factor (TNF) ออกมา ทำให้ผู้ป่วยมีไข้สูงหนาวสั่น หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจะทำให้มีภาวะพร่องออกซิเจน ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสียหน้าที่ เนื่องจากเม็ดเลือดแดงจุถูกทำลายเป็นจำนวนมาก มีการจับกลุ่มกันของเม็ดเลือดแดง ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดี เม็ดเลือดแดงไม่สามารถบีบตัวผ่านหลอดเลือดที่ตีบแคบหรือที่มีขนาดเล็กได้ เลือดจับตัวเป็นลิ่มเลือดเล็ก ๆ ในหลอดเลือดฝอย หรือเป็นก้อนโตและเกิดทั่วไปในอวัยวะต่าง ๆ (Disseminated intravascular clotting : DIC) จากภาวะพร่องออกซิเจน ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับม้ามโตและมีเลือดคั่งเป็นหย่อม ๆ ภายในสมองบวมและมีเลือดคั่ง ปอดมีเลือดคั่งและบวม

อาการ

มีไข้หนาวสั่น หากติดเชื้อต่างกันจะมีความรุนแรงต่างกัน อาการสำคัญ คือ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดศีรษะ มีไข้เป็นช่วง ๆ เม็ดเลือดแดงแตก ตับและม้ามโต หากมีภาวะแทรกซ้อน จะมีไข้สูง มาลาเรียขึ้นสมอง ปอดบวมน้ำ ไตวายเฉียบพลัน ตับ ทำหน้าที่บกพร่อง น้ำตาลในเลือดต่ำ

การวินิจฉัย

มีประวัติเคยเข้าไปในดงมาลาเรียภายในเดือนก่อน มีไข้โดยวัดอุณหภูมิได้ประมาณ 40 องศาเซลเซียส หนาวสั่น ซีด หน้าแดง ตาแดง ม้ามโต ตับอาจโต อาจจะมีอาการซีดเหลือง ปัสสาวะแดงเข้มหรือดำเหมือนน้ำโคล่า หากมาลาเรียขึ้นสมองจะมีอาการเพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว หรือหมดสติ เจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย พบเชื้อมาลาเรียในเม็ดเลือดแดง

การรักษา

ให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ให้น้ำเกลือ ให้เลือด เป็นต้น ให้ยาต้านมาลาเรีย เช่น ควินิน (Quinine) อาร์ทีซูเนต (Artesunate) ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำจนกว่าอาการจะดีขึ้นจึงเปลี่ยนเป็นยารับประทาน

การพยาบาล

ดูแลให้ผู้ป่วยมีภาวะสมดุลน้ำและอิเล็กโทรไลต์ ลดไข้ และลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ป้องกันภาวะแทรกซ้อน และลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
หน้าฝนนี้ต้องระวัง! 5 โรคติดต่อยอดฮิต ที่มาพร้อมกับหน้าฝน
หน้าฝนนี้ต้องระวัง! 5 โรคติดต่อยอดฮิต ที่มาพร้อมกับหน้าฝน

ถ้าไม่อยากเป็นเหยื่อของเชื้อโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน ต้องรีบอ่าน

อ่านเพิ่ม