กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคกรดไหลย้อน (GERD) โรคทางเดินอาหารเรื้อรัง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคกรดไหลย้อน (GERD) โรคทางเดินอาหารเรื้อรัง

โรคกรดไหลย้อน เป็นโรคทางเดินอาหารเรื้อรัง โดยเกิดขึ้นเมื่อกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับเข้าไปที่หลอดอาหาร ซึ่งกรดจะทำให้เกิดความระคายเคืองต่อเยื่อบุของหลอดอาหาร และจะทำให้เกิดอาการต่างๆ ของโรคกรดไหลย้อนขึ้น

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อนเกิดขึ้นจากความผิดปกติของหูรูดที่กั้นระหว่างกระเพาะอาหารกับหลอดอาหาร โดยปกติเมื่อมีการกลืนอาหารเกิดขึ้น กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างจะคลายตัว ซึ่งจะช่วยให้อาหารและน้ำสามารถเคลื่อนไปยังกระเพาะอาหารได้ เมื่อการกลืนเสร็จสิ้น หูรูดดังกล่าวก็จะหดรัดตัวเพื่อป้องกันการย้อนกลับของอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แต่ถ้าหูรูดดังกล่าวคลายตัวอย่างผิดปกติ ก็จะทำให้กรดในกระเพาะอาหารสามารถไหลย้อนกลับขึ้นไปที่หลอดอาหาร ซึ่งเป็นเป็นสาเหตุของอาการแสบร้อนกลางอก และในบางครั้งอาการเหล่านี้ยังรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยได้

นอกจากนี้กรดจากกระเพาะอาหารส่งผลทำให้เกิดภาวะหลอดอาหารอักเสบ (esophagitis) ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานและไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา เช่น เลือดออกในหลอดอาหาร และอาจทำให้เกิดมะเร็งที่หลอดอาหารได้

โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน ได้แก่ โรคอ้วน การตั้งครรภ์ การสูบบุหรี่ โรคหอบหืด ผู้ป่วยโรคเบาหวาน รวมถึงความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

อาการของโรคกรดไหลย้อน

ผู้ป่วยที่มีภาวะของโรคกรดไหลย้อน ส่วนใหญ่มักจะมีความรู้สึกแสบร้อนที่กลางอก บางครั้งอาการแสบร้อนอาจจะกระจายไปยังลำคอ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกถึงรสเปรี้ยวในช่องปาก สำหรับอาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ในผู้ป่วย ได้แก่ กลืนลำบาก อาการไอแห้ง มีเสียงแหบหรือเจ็บคอ และอาจมีความรู้สึกถึงก้อนเนื้อภายในลำคอ

การรักษาและการป้องกับโรคกรดไหลย้อน

ยาลดกรด ได้แก่ ยาที่มีองค์ประกอบของอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (aluminium hydroxide) และแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (magnesium hydroxide) ซึ่งยาเหล่านี้จะลดความเป็นกรดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อาการแสบร้อนกลางอกดีขึ้น แต่การใช้ยาในกลุ่มนี้เพียงอย่างเดียวอาจไม่ให้ผลการรักษาที่ดีนัก และการใช้ยาในกลุ่มนี้ที่มากเกินไป จะทำให้เกิดอาการข้างเคียงขึ้นได้ เช่น อาการท้องผูก หรือท้องเสีย

ยาที่ลดการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งได้แก่ ไซเมทิดีน (cimetidine) ฟาโมทิดีน (famotidine) นิซาทิดีน (nizatidine) และรานิทิดีน (ranitidine) ยาในกลุ่มนี้อาจไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็ว แต่จะช่วยลดการผลิตกรดได้ยาวนานนานถึง 12 ชั่วโมง

ยาที่ป้องกันการผลิตกรดและรักษาหลอดอาหาร ยาในกลุ่มนี้สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ยาวนาน จึงช่วยทำให้เนื้อเยื่อที่เสียหายของหลอดอาหารสามารถฟื้นฟูให้กลับมาปกติได้ดังเดิม ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ แลนโซพราโซล (lansoprazole) และโอมีพราโซล (omeprazole)

นอกจากนี้ผู้ป่วยสามารถบรรเทาและป้องกันโรคกรดไหลย้อน ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ไม่รับประทานอาหารที่มีรสจัด ไม่นอนหลังรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแสบร้อนกลางอกโดยเฉพาะในเวลากลางคืน อาจนอนโดยการหนุนหมอนสูงก็จะช่วยบรรเทาอาการได้

โรคกรดไหลย้อน (GERD) เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของหูรูดที่ส่วนล่างของหลอดอาหาร ส่งผลทำให้กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมา ซึ่งทำให้เกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ โดยโรคกรดไหลย้อนสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย


23 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
GERD | Gastroesophageal Reflux Disease. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/gerd.html)
GERD: Symptoms, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/14085)
Gastroesophageal reflux disease (GERD) - Symptoms and causes. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gerd/symptoms-causes/syc-20361940)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ภาวะมีลมในช่องท้อง ท้องอืด และมะเร็งลำไส้ใหญ่
ภาวะมีลมในช่องท้อง ท้องอืด และมะเร็งลำไส้ใหญ่

ถอดรหัสสัญญาณแสดงอาการปวดในทางเดินอาหาร

อ่านเพิ่ม
อาการเจ็บแน่นหน้าอก อาจเป็นผลมาจากโรคแผลในกระเพาะอาหาร
อาการเจ็บแน่นหน้าอก อาจเป็นผลมาจากโรคแผลในกระเพาะอาหาร

ปวดท้องแน่นหน้าอก อาการที่อาจเกิดจากโรคแผลในกระเพาะอาหาร ไม่ใช่โรคหัวใจ

อ่านเพิ่ม
โรคกระเพาะอาหาร แผลที่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะอาหาร แผลที่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร

หิวก็ปวด อิ่มก็ปวด อาการเด่นของโรคกระเพาะอาหาร โรคยอดฮิตของคนที่กินอาหารไม่ตรงเวลา

อ่านเพิ่ม