ผื่นใกล้ช่องคลอดเกิดจากอะไรได้บ้าง?

โรคอะไรบ้างที่ทำให้เกิดผื่นใกล้ช่องคลอด
เผยแพร่ครั้งแรก 8 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ผื่นใกล้ช่องคลอดเกิดจากอะไรได้บ้าง?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ผิวบริเวณช่องคลอดสามารถติดเชื้อ หรือเกิดผื่น รอยปื้นได้ไม่ต่างจากผิวหนังบริเวณอื่น
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อยีสต์ เชื้อปรสิต เชื้อโรคหิด เชื้อโรคเริม เชื้อโรคซิฟิลิส สามารถทำให้เป็นผื่นขึ้นใกล้ช่องคลอดได้ ส่วนมากมีสาเหตุมาจากการติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ หรือการสัมผัส การใช้ของร่วมกับผู้ป่วยที่มีเชื้อเหล่านี้อยู่แล้ว
  • โรคผิวหนังอักเสบที่มีสาเหตุมาจากการถูกแมลงกัด การใส่เสื้อผ้าคับเกินไป ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวหนังบริเวณช่องคลอดระคายเคืองจนเกิดผื่นแดงได้
  • อาการอื่นๆ ที่มักเกิดร่วมกับผื่นแดง ได้แก่ แผลพุพอง มีตกขาวมาก ผิวหนังตกสะเก็ด มีตุ่มเม็ดแดงขึ้น
  • อาการแพ้จากการสัมผัสสารเคมีจากสบู่ ผลิตภัณฑ์ซักผ้า ผ้าอนามัย ก็สามารถทำให้เกิดผื่นที่ช่องคลอดได้ คุณจึงควรหลีกเลี่ยงสัมผัสสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ และควรรู้ว่า ตนเองแพ้สารอะไรบ้าง จะช่วยลดโอกาสเกิดผื่นใกล้ช่องคลอดได้ (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ ภาวะแพ้ได้ที่นี่)

ผิวรอบๆ ช่องคลอดก็สามารถเกิดปัญหาได้ไม่ต่างจากผิวบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นรอบๆ น้องสาวของคุณ บางสาเหตุนั้นก็ไม่ใช่เรื่องน่ากังวล ในขณะที่บางสาเหตุก็อาจมีความร้ายแรงมากกว่าที่คิด 

หากตอนนี้คุณกำลังเผชิญปัญหาผื่นแถวช่องคลอด วันนี้เรามาดูกันว่า มีสาเหตุใดที่ทำให้เกิดผื่นใกล้กับช่องคลอดบ้าง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. หูดข้าวสุก

หูดข้าวสุก (Molluscum Contagiosum) เป็นการติดเชื้อที่ผิวหนังชั้นนอกที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มพอกซ์วิริเด (Poxviridae) สามารถติดต่อหากันได้จากการมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสรอยโรคโดยตรง หรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อ

อาการของโรคหูดข้าวสุก คือ มีตุ่มเล็กๆ สีแดง และตุ่มคล้ายกับน้ำสีขาวอยู่ข้างในขึ้นตามผิวหนัง ซึ่งน้ำสีขาวในตุ่มนี้เอง ที่เป็นที่มาของชื่อ "หูดข้าวสาร"  

หูดข้าวสุกสามารถขึ้นที่บริเวณหัวหน่าวได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ตุ่มที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้ทำให้คุณเจ็บ หรือคัน แต่มันสามารถเกิดการติดเชื้อ กลายเป็นสีแดง บวม และทำให้รู้สึกไม่สบายผิว 

2. ภาวะช่องคลอดอักเสบ

ภาวะช่องคลอดอักเสบ (Vaginitis) สามารถทำให้ผิวใกล้ช่องคลอดแดง มีตกขาวในปริมาณมาก ส่งกลิ่นเหม็น และทำให้เกิดความระคายเคืองได้ 

ภาวะช่องคลอดอักเสบมีอยู่หลายประเภท เช่น

  • การติดเชื้อยีสต์ (Yeast Infection) เกิดขึ้นเมื่อยีสต์ชนิดที่อยู่ในช่องคลอดเติบโตเกินกว่าที่จะควบคุม
  • ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis) เกิดจากการที่แบคทีเรียในช่องคลอดเจริญเติบโตมากเกินไป
  • การติดเชื้อทริโคโมแนส (Trichomoniasis) เป็นปรสิตที่แพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์

3. โรคหิด

โรคหิด (Scabies) เกิดจากตัวหิดซึ่งเป็นไรชนิดหนึ่งเข้าไปอาศัยอยู่ในผิวหนังของเรา รวมถึงผิวบริเวณรอบๆ ช่องคลอดก็สามารถเป็นที่อยู่อาศัยของหิดได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อเป็นโรคหิด คุณจะมีผื่น หรือตุ่มใกล้ๆ กับของลับ นอกจากนี้ คุณอาจมีอาการคันอย่างรุนแรงโดยเฉพาะตอนกลางคืน โรคหิดสามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสผิวหนังของคนอื่นที่เป็นโรคนี้ รวมถึงอาจเกิดจากการสัมผัสผ้าขนหนู หรือที่นอนที่มีตัวหิดอาศัยอยู่

4. โรคสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่สามารถพบได้ทุกบริเวณของร่างกาย รวมถึงบริเวณใกล้ช่องคลอด เมื่อเป็นแล้วก็จะทำให้เกิดปื้นสีแดงที่ผิว ที่ขอบของปื้นเป็นขุยสีเงิน อีกทั้งทำให้เกิดผื่นได้หลายขนาดด้วย 

หากคุณเกาบริเวณที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน ก็สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้ผิวแห้ง หรือทำให้ผิวหนาขึ้น

5. ผื่นแพ้สัมผัส

โรคผื่นแพ้สัมผัสเกิดขึ้นเมื่อคุณสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผิวระคายเคือง เช่น สบู่ ผลิตภัณฑ์ซักผ้า ผ้าอนามัย น้ำหอม หรือโลชั่น 

หากคุณเป็นโรคผื่นแพ้สัมผัส มันก็อาจทำให้คุณรู้สึกคัน มีผิวแดง และมีอาการบวมใกล้ๆ กับช่องคลอดได้ หากคุณทาสารจากผลิตภัณฑ์ที่แพ้บริเวณอวัยวะเพศ

6. โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง

โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง (Neurodermatitis) ทำให้เกิดปื้นที่ทำให้รู้สึกคันระคายเคืองที่ผิว นอกจากนี้คุณอาจพบปื้นรอบๆ ช่องคลอด มีลักษณะเหนียว ตกสะเก็ด นูน ขรุขระ มีสีแดง หรือมีสีเข้มกว่าผิวส่วนที่เหลือ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อย่างไรก็ตาม โรคผิวหนังอักเสบไม่ได้เป็นโรคติดต่อจากการสัมผัส แต่มันอาจเกิดจากบางสิ่งที่ทำให้ผิวระคายเคือง เช่น การถูกแมลงกัด การใส่เสื้อผ้าที่คับเกินไป

7. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างโรคซิฟิลิส (Syphilis) และโรคเริม (Herpes) ที่อวัยวะเพศสามารถทำให้เกิดผื่นใกล้กับน้องสาวของคุณ ยิ่งไปกว่านั้น มันยังทำให้เกิดแผลเปื่อย และแผลพุพองใกล้ช่องคลอดด้วย 

จากโรคที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นใกล้กับช่องคลอดได้ นอกจากนี้ อาการของโรคคงจะสร้างความรำคาญให้กับคุณไม่น้อย ดังนั้น หากผื่นดังกล่าวไม่มีทีท่าว่าจะหายไป การไปพบแพทย์ก็จะช่วยให้คุณรู้สาเหตุที่แท้จริง และแก้ปัญหาได้ตรงจุด 

ดูแพ็กเกจอาการแพ้ ภาวะแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


36 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vaginal Rash Causes, Symptoms, Diagnosis, and Treatments. Healthline. (https://www.healthline.com/health/why-do-i-have-a-rash-on-or-around-my-vagina)
Rash on Genitals: Causes, Treatments, and Outlook. Healthline. (https://www.healthline.com/health/rash-on-genitals)
Genital rash: Causes, pictures, symptoms, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/316692)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป