กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Q&A เกี่ยวกับถ้วยอนามัย (Menstrual Cups)

คลายทุกข้อสงสัยของถ้วยอนามัย อุปกรณ์สำหรับจัดการกับประจำเดือนชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพดี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่อาจจะน่ากลัวสำหรับผู้ที่ไม่เคยลองใช้มาก่อน
เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
Q&A เกี่ยวกับถ้วยอนามัย (Menstrual Cups)

ถ้วยอนามัย (Menstrual cups) คืออุปกรณ์กักเก็บประจำเดือนสำหรับผู้หญิงที่ความปลอดภัยสูง สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการใช้ถ้วยอยามัย คือการใช้งานอย่างถูกต้องและการทำความสะอาดให้ถูกสุขลักษณะ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้มาก่อนจะรู้สึกกังวลและกลัวที่จะต้องใช้ถ้วยอนามัย

  1. ถ้วยอนามัย สามารถใส่เข้าไปในช่องคลอดได้อย่างไร?
    แม้ขนาดของถ้วยอนามัยจะใหญ่กว่าผ้าอนามัยแบบสอด ด้วยขนาดมาตรฐานคือเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เซนติเมตร แต่ก็ถือว่าเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของทารกที่คลอดออกมาทางช่องคลอด

    ช่องคลอด เป็นอวัยวะที่มีความน่าสนใจมาก เพราะสามารถเปิดขยาย ขยับ และงอได้ โดยผนังของช่องคลอดจะถูกปกคลุมไว้ด้วยเยื่อบุอ่อนนุ่มที่มีรอยพับ (Rugae) ตามพื้นผิว เมื่อช่องคลอดอยู่ในสถานะคลายตัวหรือไม่มีสิ่งใดอยู่ในโพรงช่องคลอด ผนังของช่องคลอดจะซ้อนทับกัน

    เมื่อมีการสอดบางอย่างเข้าไปในช่องคลอด เช่น ถ้วยอนามัย ผ้าอนามัยแบบสอด ของเล่นสำหรับผู้ใหญ่ (Sex Toy) หรือองคชาต ผนังและรอยพับภายในช่องคลอดจะงอและเคลื่อนไหวเพื่อสร้างช่องว่างให้กับสิ่งที่สอดเข้ามาโดยไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด
  2. การใช้ถ้วยอนามัย จะทำให้ช่องคลอดยืดออกหรือไม่?
    ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ช่องคลอดมีความสามารถในการยืดและขยายออกเพื่อรองรับสิ่งที่เข้าไปข้างในได้อยู่แล้ว และเมื่อสิ่งนั้นๆ ถูกดึงออกมา ช่องคลอดก็จะคืนกลับสู่สภาพเดิม ดังนั้น การใช้ถ้วยอนามัยจึงไม่ได้ทำให้ช่องคลอดมีความเปลี่ยนแปลงไป หรือทำให้ช่องคลอดยืดตัวจนลดความรู้สึกทางเพศใดๆ ทั้งสิ้น
  3. ผู้ที่ยังไม่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ สามารถใช้ถ้วยอนามัยได้หรือไม่?
    การมีเพศสัมพันธ์ ไม่ได้ทำให้ช่องคลอดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนั้น ถึงไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ก็สามารถใช้ถ้วยอนามัยได้ เพียงแต่อาจจะต้องใช้เวลานานพอสมควรสำหรับการใส่ครั้งแรก และการปรับตัวให้ชินเมื่อมีถ้วยอนามัยอยู่ในร่างกาย
  4. ถ้วยอนามัยสามารถหลุดเข้าไปติดภายในร่างกายได้หรือไม่?
    ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่บางครั้งจะคลำหาส่วนปลายของถ้วยอนามัยไม่เจอ หากเจอเหตุการณ์เช่นนี้ก็อย่าพึ่งตื่นตกใจไป เพราะตามสรีระของเพศหญิงช่องคลอดจะมีลักษณะเป็นท่อยาว หากวัดจากคอมดลูกออกมา จะมีความยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร ซึ่งถ้วยอนามัยไม่สามารถลอดผ่านคอมดลูกเข้าไปได้อยู่แล้ว

    ในกรณีที่คลำหาส่วนปลายของถ้วยอนามัยไม่เจอ หรือไม่สามารถดึงถ้วยออกมาได้ ให้ลองปฏิบัติดังนี้

    หากปฏิบัติด้วยวิธีต่อไปนี้แล้ว แต่ยังไม่สามารถนำถ้วยอนามัยออกมาได้ ให้ขอความช่วยเหลือจากแพทย์ ห้ามใช้สิ่งของใด ๆ สอดเข้าไปเพื่อดึงออกเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

    แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

    • ลองเปลี่ยนอิริยาบถเป็นการนั่งยองๆ แล้วดึงถ้วยออกมา
    • เพิ่มแรงดันภายในช่องท้อง ด้วยการออกแรงเบ่งท้อง คล้ายเบ่งอุจจาระ
    • รอให้ครบ 12 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาที่ถ้วยจะเสื่อมสภาพ และเคลื่อนตัวลงต่ำจากตำแหน่งเดิม
  5. สามารถสวมใส่ถ้วยอนามัยได้นานแค่ไหน?
    ถ้วยอนามัยสามารถใช้ได้นานถึง 12 ชั่วโมง เมื่อครบกำหนดแล้ว ต้องดึงออกมาทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าและสบู่ แต่สำหรับผู้หญิงบางคนที่มีประจำเดือนมาก ก็อาจต้องทำความสะอาดถ้วยบ่อยกว่าปกติ
    ในช่วงเวลากลางคืนก็สามารถสวมใส่ถ้วยอนามัยแทนการใช้ผ้าอนามัยแบบหนา หรือการใส่ผ้าอนามัยแบบสอดชนิด 8 ชั่วโมงได้ เนื่องจากถ้วยอนามัยสามารถใช้ได้นานถึง 12 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม เมื่อตื่นแล้วก็ควรรีบดึงถ้วยออกมาทำความสะอาดทันที

  6. สามารถปัสสาวะหรือถ่ายอุจจาระขณะสวมใส่ถ้วยอนามัยได้หรือไม่?
    ปกติแล้ว การสวมใส่ถ้วยอนามัยจะไม่ได้เข้าไปขัดขวางการขับถ่ายใดๆ โดยเฉพาะการปัสสาวะ ส่วนการอุจจาระก็ยิ่งไม่เกี่ยวข้องกันเลย แต่ด้วยพื้นที่ว่างในเชิงกรานที่อาจลดน้อยลงเมื่อสวมใส่ถ้วยอนามัย และแรงกดที่เกิดขึ้นเมื่อเบ่งถ่ายอุจจาระ ก็อาจทำให้มีการถ่ายอุจจาระยากขึ้นกว่าเดิม ในกรณีที่ขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมตรวจสอบว่าถ้วยอนามัยยังคงอยู่ตำแหน่งเดิมหรือไม่
  7. สามารถมีเพศสัมพันธ์ขณะสวมใส่ถ้วยอนามัยได้หรือไม่?
    หากมีการสวมใส่ถ้วยอนามัยอยู่ขณะมีประจำเดือน จะไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่ รวมถึงการช่วยตัวเองด้วยนิ้วหรือของเล่นได้ ต้องถอดถ้วยอนามัยออกก่อน หากต้องการดำเนินกิจกรรมทางเพศในระหว่างนี้แต่ไม่อยากถอดถ้วยอนามัยออก ก็ควรใช้วิธีปลุกเร้าอารมณ์แบบอื่นแทน เช่นการจูบ การร่วมเพศทางปาก หรือการกระตุ้นที่คลิตอริส
  8. สามารถใช้ถ้วยอนามัยได้หรือไม่ หากสวมใส่ห่วงคุมกำเนิดอยู่?
    ห่วงคุมกำเนิด (Intrauterine Device (IUD)) เป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดชนิดออกฤทธิ์ระยะยาว ซึ่งต้องสอดเข้าไปในช่องคลอดให้ถึงมดลูก โดยแกนหลักของ IUD จะคงอยู่ในมดลูก ในขณะที่เส้นพลาสติกสองเส้นจะห้อยออกมานอกคอมดลูกไม่กี่เซนติเมตร

    ผู้ที่ใช้ IUD บางคนกลัวว่าการใช้ถ้วยอนามัยจะทำให้ IUD เคลื่อนออก ทำให้การคุมกำเนิดไม่ได้ผล ดังนั้น จึงมีคำแนะนำให้ปฏิบัติตามดังนี้
    • ควรใช้ถ้วยอนามัย หลังจากใส่ IUD ไปแล้ว 3 เดือน
    • ตรวจสอบสายของ IUD ทุกครั้ง ก่อนมีประจำเดือนและหลังมีประจำเดือน
    • ตัวถ้วยอนามัยควรอยู่ในช่องคลอดส่วนล่าง โดยทิ้งระยะห่างจากคอมดลูกไว้ หากมีปัญหาคอมดลูกอยู่ต่ำ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าสามารถสวมใส่ถ้วยอนามัยได้หรือไม่
  9. ถ้วยอนามัยมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มอาการ Toxic Shock หรือไม่?
    แทบจะไม่มีรายงานว่าถ้วยอนามัยเป็นสาเหตุของกลุ่มอาการท็อกซิกช็อค (Toxic Shock Syndrome (TSS)) เลย เพราะการสะสมของแบคทีเรียอันตรายในช่องคลอด มักจะมีความเกี่ยวพันกับการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดที่มีความสามารถในการดูดซับสูงมากกว่า

    แต่ก็เคยมีรายงานว่าถ้วยอนามัยเคยเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะ TSS อยู่หนึ่งกรณี แต่ในกรณีนั้นเกิดจากผู้ใช้มีบาดแผลขนาดเล็กในช่องคลอดที่เกิดระหว่างการสอดถ้วยเข้าไป เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงนี้ แนะนำให้ตัดเล็บมือให้สั้นและทำความสะอาดมือให้สะอาดก่อนใส่หรือถอดถ้วยอนามัย และหากสวมแหวนหรือกำไลอยู่ก็ควรถอดเก็บไว้ก่อนเช่นกัน
  10. สามารถทำความสะอาดถ้วยอนามัยในห้องน้ำสาธารณะได้หรือไม่
    ห้องน้ำสาธารณะส่วนใหญ่ มักไม่มีอ่างล้างมือในห้องชักโครกโดยตรง การทำความสะอาดถ้วยอนามัยจึงทำได้ยาก หากคุณจำเป็นต้องเปลี่ยน และทำความสะอาดถ้วยอนามัยในพื้นที่สาธารณะ ก็สามารถเทของเหลวลงชักโครกและใช้กระดาษชำระทำความสะอาดถ้วย โดยพยายามเช็ดให้แน่ใจว่ารูในถ้วยอนามัยไม่มีเลือดตกค้างแล้ว เพียงเท่านี้ก็สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ชั่วคราว เมื่อกลับถึงบ้าน ก็ควรนำออกมาทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดอีกครั้ง
  11. หากคุณอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีน้ำสะอาด จะสามารถใช้ถ้วยอนามัยได้หรือไม่?
    การทำความสะอาดถ้วยอนามัย ควรทำด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทุกครั้งที่ถอดออกมา และควรนำไปต้มน้ำร้อนในช่วงสิ้นสุดประจำเดือนแล้ว เพราะการเช็ดถ้วยอนามัยด้วยกระดาษชำระจะทำได้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เนื่องจากวิธีการทำความสะอาดเช่นนี้ไม่ใช่การทำความสะอาดที่ถูกสุขลักษณะเท่าที่ควร

ที่มาของข้อมูล

Nicole Telfer, Menstrual cups: questions, myths, and misconceptions (https://helloclue.com/articles/culture/menstrual-cups-questions-myths-and-misconceptions), 2 มกราคม 2019.


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The 8 Best Menstrual Cups of 2020. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/best-menstrual-cups-4685063)
What is a menstrual cup? Pros, cons, and how to use one. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325093)
Menstrual cups 'safe and effective' alternative to tampons and pads. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/news/lifestyle-and-exercise/menstrual-cups-safe-and-effective-alternative-tampons-and-pads/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการคันและแสบในช่องคลอดไม่ใช่เรื่องปกติ
อาการคันและแสบในช่องคลอดไม่ใช่เรื่องปกติ

จุดซ่อนเร้นคือจุดสำคัญ ขอให้หมั่นสังเกตเพื่อแก้ไขก่อนที่อาการจะรุนแรงและยากต่อการรักษา

อ่านเพิ่ม
การใช้ยาเหน็บช่องคลอด
การใช้ยาเหน็บช่องคลอด

ยาใช้เฉพาะที่ซึ่งควรศึกษาวิธีใช้งานให้ดี เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของตัวยาและป้องกันไม่ให้เกอดภาวะแทรกซ้อน

อ่านเพิ่ม