กล้ามเนื้อรอบตาหดตัวคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
กล้ามเนื้อรอบตาหดตัวคืออะไร?

กล้ามเนื้อรอบตาหดตัวเป็นการหดตัวของกล้ามเนื้อเปลือกตาที่ควบคุมไม่ได้ซ้ำๆ  ส่วนมากมักเกิดที่หนังตาบนแต่ก็สามารถเกิดได้ทั้งหนังตาบนและล่าง ในผู้ป่วยส่วนมากมักมีอาการไม่รุนแรงและรู้สึกเหมือนว่าหนังตากระตุกเบาๆ ในขณะที่บางคนนั้นอาจจะกระตุกแรงจนทำให้หนังตาทั้งบนและล่างนั้นปิดเข้าหากันได้ ภาวะนี้ไม่ใช่ภาวะเดียวกันกับตากระตุก

การหดตัวนั้นมักจะเกิดทุกๆ เวลาไม่กี่วินาทีเป็นเวลา 1-2 นาที และไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดเมื่อไหร่ และมักจะเป็นๆ หายๆ เป็นเวลาหลายวัน หลังจากนั้นอาจจะไม่มีอาการได้หลายสัปดาห์หรือหลายเดือน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การหดตัวนั้นไม่ได้ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและไม่ได้เป็นอันตราย แต่อาจจะทำให้รำคาญ ส่วนมากมักจะหายไปได้เอง ในบางรายอาการนี้อาจจะเป็นอาการเตือนของโรคการเคลื่อนไหวผิดปกติเรื้อรังโดยเฉพาะหากเกิดร่วมกับกล้ามเนื้อใบหน้าอื่นๆ หรือมีการเคลื่อนไหวที่ไม่สามารถควบคุมได้

สาเหตุ

โรคนี้อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่สามารถระบุสาเหตุได้ และเนื่องจากมีเพียงบางรายเท่านั้นที่อาการนี้จะเป็นอาการของโรคที่รุนแรง ทำให้ไม่มีการศึกษาสาเหตุอย่างละเอียด อย่างไรก็ตาม มันอาจจะเกิดจากหรือมีอาการแย่ลงจากภาวะเหล่านี้

  • การระคายเคืองที่ตา
  • กล้ามเนื้ออักเสบที่เปลือกตา
  • อ่อนเพลีย
  • นอนไม่พอ
  • เหนื่อย
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
  • ความเครียด
  • การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่หรือดื่มคาเฟอีน

หากอาการกระตุกนี้ยังเรื้อรัง คุณอาจจะเป็นภาวะที่เรียกว่า benign essential blepharospasm ซึ่งเป็นอาการตากระตุกเรื้อรังที่ไม่สามารถควบคุมได้ ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคนี้เช่นเดียวกัน

ภาวะต่อไปนี้มักทำให้อาการกระตุกนั้นรุนแรงขึ้น

  • เปลือกตาอักเสบ
  • เยื่อบุตาอักเสบ
  • ตาแห้ง
  • มีสารระคายเคืองในสิ่งแวดล้อม เช่นลม แสงที่จ้า หรือมลภาวะในอากาศ
  • อ่อนเพลีย
  • แพ้แสง
  • ความเครียด
  • ดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนมากเกินไป
  • สูบบุหรี่

ภาวะนี้เป็นภาวะที่พบในผู้หญิงได้บ่อยกว่าผู้ชาย และมักจะเกิดในช่วงวัยกลางคน มักจะมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และอาจจะทำให้มีอาการตาเบลอ ไวต่อแสงมากขึ้น และทำให้กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุก

ภาวะแทรกซ้อน

มีผู้ป่วยบางรายที่อาการนี้อาจจะเป็นอาการของโรคทางสมองหรือระบบประสาทที่รุนแรง แต่มักจะเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ เสมอ ความผิดปกติทางสมองและระบบประสาทที่มักทำให้เกิดอาการนี้ประกอบด้วย

  • Bell’s palsy (facial palsy) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้ใบหน้าซีกหนึ่งนั้นตกลง
  • Dystonia ทำให้กล้ามเนื้อนั้นกระตุกและทำให้ร่างกายส่วนนั้นบิดหรือทำท่าทางประหลาด
  • Cervical dystonia ทำให้เกิดการบิดตัวที่คอและทำให้ศีรษะนั้นบิดไปอยู่ในท่าต่างๆ ที่ผิดปกติ
  • Multiple sclerosis เป็นโรคของระบบประสาทส่วนกลางที่ทำให้เกิดปัญหาทางความจำและการเคลื่อนไหว และอ่อนแรง
  • โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการสั่นตามแขนขา กล้ามเนื้อหดเกร็ง มีปัญหาทางด้านการทรงตัวและการพูด
  • Tourette’s syndrome เป็นโรคที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ไม่สามารถควบคุมได้และกล้ามเนื้อในกล่องเสียงกระตุกทำให้เกิดเสียงผิดปกติ
  • การมีแผลที่กระจกตาที่ยังไม่ได้รับการรักษาอาจจะทำให้เกิดอาการนี้ได้เช่นกัน หากคุณคิดว่าได้รับการบาดเจ็บที่ตา ควรไปพบจักษุแพทย์ทันที เพราะอาจจะทำให้ตาบอดได้

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

โรคนี้มักไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรงที่ต้องไปพบแพทย์ฉุกเฉินเพื่อรับการรักษา แต่อาการกล้ามเนื้อหดตัวเรื้อรังนั้นอาจจะเป็นอาการของโณคทางสมองและระบบประสาทที่รุนแรงได้ ดังนั้นหากคุณมีอาการเรื้อรังร่วมกับอาการต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ตาแดง บวม หรือมีขี้ตาที่ผิดปกติ
  • หนังตาตก
  • หนังตาปิดทุกครั้งที่คุณเกิดอาการกล้ามเนื้อรอบตากระตุก
  • มีอาการกระตุกติดต่อกันหลายสัปดาห์
  • อาการกระตุกนั้นเริ่มเกิดขึ้นที่ส่วนอื่นๆ ของใบหน้า

การรักษา

ส่วนมากโรคนี้มักสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษาในเวลาไม่กี่วันหรือสัปดาห์ หากไม่หาย คุณอาจจะลองลดหรือกำจัดสิ่งที่อาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการ เช่นความเครียด ความอ่อนเพลีย และคาเฟอีน

คุณอาจจะลองใช้วิธีต่อไปนี้เพื่อลดอาการที่เกิดขึ้น

  • ดื่มคาเฟอีนลดลง
  • นอนให้เพียงพอ
  • ดูแลให้ตาของคุณมีความชุ่มชื้นเพียงพอ เช่นการใช้น้ำตาเทียมหรือยาหยอดตา
  • ประคบอุ่นที่ตาเวลาที่มีอาการกระตุก
  • การฉีด Botox นั้นอาจจะช่วยรักษาภาวะ benign essential blepharospasm ได้ โดยอจจะช่วยบรรเทาอาการกระตุกรุนแรงได้หลายเดือน แต่ผลของการฉีดนั้นจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไปและอาจจะต้องมีการฉีดซ้ำ

ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจจะต้องผ่าตัดกล้ามเนื้อและเส้นประสาทที่เปลือกตาบางส่วน

การป้องกัน

หากอาการของคุณนั้นเป็นบ่อยกว่าปกติ ให้จดบันทึกว่ามีอาการเกิดขึ้นเมื่อไหร่บ้าง พร้อมกับจดการดื่มคาเฟอีน การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์รวมถึงระดับความเครียดและการนอนหลับในช่วงเวลาดังกล่าว

หากคุณพบว่าคุณมีอาการบ่อยในเวลาที่นอนไม่พอ พยายามเริ่มเข้านอนให้เร็วขึ้น 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงเพื่อลดความเครียดที่กระทำต่อเปลือกตาและลดอาการที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์

เนื่องจากมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ การรักษาและผลลัพธ์นั้นจึงขึ้นกับโรคและแต่ละบุคคล ในปัจจุบันมีการทำวิจัยเพื่อค้นหาว่ามีปัจจัยทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องหรือไม่ แต่โรคนี้ก็มักจะไม่ได้พบในครอบครัวเดียวกัน อาการที่เกิดขึ้นจากความเครียด การนอนไม่พอ และปัจจัยทางการใช้ชีวิตอื่นๆ นั้นมักจะมีผลลัพธ์ที่ดีที่สุด หากอาการนี้เกิดขึ้นจากโรคอื่นๆ การรักษาโรคนั้นก็จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดอาการกระตุกที่เกิดขึ้น


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Eyelid twitch: Common causes, treatment, and prevention. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318268)
Causes and Relief for the Eyelid Twitch. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/why-does-my-eye-twitch-3422029)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โครงสร้างของตา
โครงสร้างของตา

เรียนรู้โครงสร้างของตา ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

อ่านเพิ่ม
กล้ามเนื้อตาอัมพาต (Ophthalmoplegia)
กล้ามเนื้อตาอัมพาต (Ophthalmoplegia)

กล้ามเนื้อตาอัมพาต เป็นอาการที่ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นภาพซ้อน สามารถเป็นได้ตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลังจากการได้รับอุบัติเหตุ และการป่วยเป็นโรคบางชนิด

อ่านเพิ่ม