กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โครงสร้างของตา

เรียนรู้โครงสร้างของตา ประกอบด้วยอะไรบ้าง?
เผยแพร่ครั้งแรก 21 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โครงสร้างของตา

โครงสร้างของตา

ลูกตา เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างทรงกลม ฝังอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ ด้านหน้าจะมี "หนังตา" หรือเรียกอีกชื่อว่า "เปลือกลูกตา" ช่วยห่อหุ้มเป็นเกราะป้องกันอันตรายให้แก่ลูกตา ส่วนต่อมน้ำตาในส่วนที่เป็นต่อมน้ำตาใหญ่จะฝังอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ ทำหน้าที่หลั่งน้ำตามาช่วยหล่อลื่นปกป้องกระจกตาและลูกตา ส่วนกล้ามเนื้อกลอกลูกตาจะอยู่ด้านบนและด้านข้าง คอยช่วยในการเคลื่อนที่ของลูกตา 

ลูกตาของเราจะคงรูปร่างอยู่ได้ตลอดเวลา ก็เพราะมีของเหลวที่มีลักษณะเป็นวุ้นแข็งซึ่งเรียกว่า "น้ำวุ้นตา" (Vitreous) อยู่ภายใน ทำให้ลูกตาคงรูปร่างเป็นทรงกลม โดยลูกตาประกอบด้วยผนัง 3 ชั้น ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชั้นนอกสุด 

ผนังลูกตาชั้นนอกสุดเรียกได้อีกชื่อว่า "ชั้นเปลือกลูกตา" (Sclera) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสีขาว มีสภาพกึ่งแข็ง ทำหน้าที่ห่อหุ้มลูกตาไว้ทั้งหมดเพื่อรักษารูปทรงของลูกตาไว้ และช่วยป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อชั้นใน ผนังลูกตาชั้นนี้จะทึบแสง ยกเว้นทางด้านหน้าที่จะมีลักษณะโปร่งแสงและนูนออกมาเล็กน้อย เพื่อให้แสงผ่านเข้าสู่ลูกตาได้ ซึ่งส่วนนี้เรามีชื่อเรียกที่คุ้นเคยกันดีว่า "กระจกตา" (Cornea) 

ชั้นกลาง 

ผนังลูกตาชั้นกลาง (Choroid) เป็นชั้นที่ประกอบด้วยส่วนประกอบหลายอย่าง ดังนี้ 

  • เส้นเลือดฝอย ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก และทำหน้าที่ส่งผ่านสารอาหารให้แก่ส่วนอื่นๆ ภายในลูกตา 
  • เม็ดสีเมลานิน (Melanin) คอยช่วยดูดซับแสงส่วนเกินและลดการสะท้อนของแสงที่เข้ามาในลูกตา
  • ส่วนหน้าของลูกตา ซึ่งในผนังชั้นกลางนี้จะมีความหนาและยืดหยุ่นกว่าส่วนอื่น เพราะต้องคอยทำหน้าที่ควบคุมลูกตาโดยการบีบเลนส์แก้วตาให้เหมาะกับระยะทางของภาพ เพื่อให้การมองเห็นของเราสามารถรับภาพใกล้และไกลได้อย่างชัดเจน
  • ม่านตา (Iris) เป็นส่วนหนึ่งของชั้นเยื่อในผนังชั้นกลางที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งม่านตาของคนแต่ละเชื้อชาติจะมีสีที่แตกต่างกัน เช่น คนยุโรปจะมีตาสีฟ้าหรือสีเขียว ส่วนคนเอเชียจะมีตาสีน้ำตาลหรือดำ ตรงกลางของม่านตาจะมีรูซึ่งเรียกว่า "รูม่านตา" (Pupil) รูนี้จะเป็นทางผ่านของแสงเพื่อเข้าสู่ลูกตา และทำให้เกิดเป็นหน้าที่ของม่านตานั่นคือ คอยควบคุมไม่ให้แสงเข้าสู่ตามากเกินไป โดยรูม่านตาจะแคบลง เมื่อมีแสงสว่างจ้ามากๆ เข้าตาหรือเมื่อมองของในระยะใกล้ และรูจะใหญ่ขึ้น เมื่อมีแสงสว่างน้อยและเรากำลังมองภาพในระยะไกล
  • กล้ามเนื้อของม่านตา หรือเรียกอีกชื่อว่า "กล้ามเนื้อกลอกลูกตา" จะอยู่บริเวณกระจกตาต่อกับเปลือกตา และอยู่ใกล้กับม่านตาด้วย 
  • ท่อแคแนลออฟชเลม" (Canal of Schlemn) เป็นทางให้น้ำในลูกตาส่วนหน้า หรือ เอเควียวฮิวเมอร์ (Aqueous humor) ไหลผ่านเข้าไปในหลอดเลือดดำที่อยู่ภายในผนังลูกตาได้ ซึ่งท่อนี้หากเกิดการอุดตันขึ้น ก็จะทำให้เกิดความดันของเหลวในลูกตาสูงกว่าปกติ และเป็นที่มาของโรคต้อหินนั่นเอง
  • เลนส์แก้วตา (Lens) เป็นส่วนที่ยึดติดกับผนังชั้นกลางผ่านเส้นเอ็นเล็กๆ ที่อยู่รอบๆ เลนส์แก้วตา ซึ่งหน้าที่ของเลนส์แก้วตาคือ คอยหักเหแสงที่เข้าสู่ลูกตาเพื่อไปตกที่จอตาให้เราเห็นภาพได้ เลนส์แก้วตาจะถูกบีบให้โค้งมากขึ้นหรือน้อยลงนั้น ขึ้นอยู่กับการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อม่านตา เพื่อให้ภาพที่อยู่ใกล้และไกลสามารถตกลงที่จอตาได้พอดี และเมื่อเราอายุมากขึ้น เลนส์แก้วตาก็จะเริ่มเสียน้ำไป มีความหนาขึ้นและยืดหยุ่นได้น้อยลง ทำให้การหักเหของแสงไม่ได้พอดีอย่างที่เคยเป็น และเป็นที่มาของ "ภาวะสายตายาวตามอายุ" (Presbyopia) ทำให้ต้องใช้แว่นตาในการช่วยมองเห็นนั่นเอง

ชั้นในสุด 

เรียกได้อีกชื่อว่า "จอประสาทตา" หรือ "เรตินา" (Retina) เป็นชั้นที่มีเนื้อเยื่อประสาทตา และเซลล์ที่ไวต่อแสงเรียงตัวเป็นชั้นๆ อยู่มากมาย ซึ่งในส่วนที่ติดกับจอประสาทก็จะมีน้ำวุ้นตาคอยช่วยให้ลูกตาคงรูปอยู่ได้ ซึ่งในส่วนของจอประสาทตานี้ จะมีเซลล์รับแสงอยู่ 2 ชนิดคือ เซลล์รูปแท่ง (Rod cell) มีความไวต่อแสงแต่ไม่สามารถแยกความแตกต่างของสีได้ และ เซลล์รูปกรวย (Cone cell) เป็นเซลล์ที่สามารถบอกสีของวัตถุที่เรามองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่จะต้องอาศัยแสงสว่างค่อนข้างมาก

ที่ผนังจอประสาทตาจะมีส่วนรับภาพอยู่ 2 ส่วนคือ 

  • ส่วนที่รับภาพได้ชัดที่สุดซึ่งเรียกว่า "โฟเวีย" (Fovea) เป็นบริเวณที่จะมีเซลล์กรวยอยู่เป็นจำนวนมาก 
  • ส่วนที่หากแสงมาตกบริเวณนี้ ก็จะมองไม่เห็นภาพใดๆ เลยซึ่งเรียกว่า "จุดบอดแสง" (Blind spot) 

นอกจากนี้ ในจอประสาทตายังมีเซลล์เส้นประสาท (Optic Nerve) ที่จะคอยรับกระแสประสาทและส่งไปยังเส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 ด้วย หลังจากนั้นก็จะถูกส่งต่อไปยังสมองส่วนซีรีบรัม (Cerebrum) ซึ่งเป็นสมองที่อยู่ด้านหน้าสุด มีขนาดใหญ่ที่สุด และทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการมองเห็น รวมถึงการรับรส การดมกลิ่น การได้ยินและการพูดของเรา

เราจะเห็นได้ว่าการทำงานของระบบภายในลูกตานั้นมีความซับซ้อนและเกี่ยวเนื่องกันอยู่ แต่สิ่งที่สังเกตได้และควรระมัดระวังคือ การทำงานทุกอย่างของดวงตา มีอายุการใช้งานที่สามารถเสื่อมสภาพลงได้ตามอายุของคนเรา ดังนั้น เพื่อให้สุขภาพดวงตาของเรายังคงแข็งแรงสม่ำเสมอ ไม่มีการเสื่อมไปก่อนวัยอันควร เราก็ควรดูแลดวงตาของตนเองให้ดีและหมั่นไปตรวจสุขภาพตากับจักษุแพทย์อย่างสม่ำเสมอ


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ขยายม่านตา ตรวจสุขภาพตาเพื่ออะไร? ตรวจอะไรบ้าง?, (https://hdmall.co.th/c/eye-screening-program).
Eye anatomy: A closer look at the parts of the eye. All About Vision. (https://www.allaboutvision.com/resources/anatomy.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
กล้ามเนื้อตาอัมพาต (Ophthalmoplegia)
กล้ามเนื้อตาอัมพาต (Ophthalmoplegia)

กล้ามเนื้อตาอัมพาต เป็นอาการที่ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นภาพซ้อน สามารถเป็นได้ตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลังจากการได้รับอุบัติเหตุ และการป่วยเป็นโรคบางชนิด

อ่านเพิ่ม