กล้ามเนื้อตาอัมพาต (Ophthalmoplegia)

กล้ามเนื้อตาอัมพาต เป็นอาการที่ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นภาพซ้อน สามารถเป็นได้ตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลังจากการได้รับอุบัติเหตุ และการป่วยเป็นโรคบางชนิด
เผยแพร่ครั้งแรก 4 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กล้ามเนื้อตาอัมพาต (Ophthalmoplegia)

กล้ามเนื้อตาอัมพาต เป็นภาวะที่ทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ซึ่งตามปกติแล้วกล้ามเนื้อที่จับลูกตาและควบคุมการเคลื่อนไหวจะมีทั้งหมดหกมัดต่อข้าง แต่ภาวะนี้จะส่งผลต่อกล้ามเนื้ออย่างน้อยหนึ่งมัด หรืออาจจะมากกว่านั้น ภาวะกล้ามเนื้อตาอัมพาต สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • กล้ามเนื้อตาอัมพาตชนิดภายนอกลุกลามเรื้อรัง (Chronic Progressive External Opthalmoplegia) : มักเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ช่วงอายุระหว่าง 18-40 ปี โดยทั่วไปแล้วจะเริ่มเกิดจากเปลือกตาที่หย่อนคล้อย ซึ่งผู้ป่วยจะเริ่มควบคุมกล้ามเนื้อซึ่งประสานงากับดวงตาได้ยากขึ้น
  • กล้ามเนื้อตาอัมพาตภายใน (Internal Opthalmoplegia) : เกิดจากความเสียหายของเส้นประสาทตา ไปจนถึงเส้นใยประสาทเล็กๆ ที่ประสานการเคลื่อนไหวของดวงตาไปรอบๆ ความผิดปกตินี้มักทำให้เห็นภาพซ้อน

ภาวะกล้ามเนื้อตาอัมพาตมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในผู้ชายที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ป่วยที่มีปัญหาต่อการควบคุมกล้ามเนื้อ เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Graves’ disease) จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้มากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการของกล้ามเนื้อตาอัมพาต

ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอัมพาต อาจมองเห็นภาพซ้อนหรือภาพเบลอ และไม่สามารถเพ่งตาให้มองตรงกันได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยบางคนอาจไม่สามารถเคลื่อนลูกตาทั้งสองข้างได้พร้อมกัน และบางคนอาจมีเปลือกตาหย่อนคล้อยลงมา

หากกล้ามเนื้อตาอัมพาตมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบอื่นๆ ของร่างกาย อาจพบอาการกลืนลำบาก และกล้ามเนื้ออวัยวะส่วนอื่นอ่อนแรงร่วมอยู่ด้วย

สาเหตุของกล้ามเนื้อตาอัมพาต

ภาวะกล้ามเนื้อตาอัมพาดสามารถเป็นได้ตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลัง เช่น ได้รับอุบัติเหตุบริเวณดวงตา เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เป็นโรคความผิดปกติของกล้ามเนื้อ หรือเกิดภาวะกล้ามเนื้อตายเนื่องจากการขาดเลือด ที่ทำให้เกิดการหยุดชะงักของสัญญาณที่ส่งจากสมองไปยังดวงตา

นอกจากนี้ อาจพบภาวะกล้ามเนื้อตาอัมพาตได้จากสาเหตุดังนี้

  • โรคไมเกรน
  • โรคของต่อมไทรอยด์
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • อาการบาดเจ็บที่สมอง
  • โรคเนื้องอกในสมอง
  • การติดเชื้อ

การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อตาอัมพาต

แพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อตาอัมพาตได้ด้วยการตรวจร่างกายเพื่อตรวจการเคลื่อนไหวของดวงตา หากพบความผิดปกติก็อาจต้องทำการสแกน MRI หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาความผิดปกติของดวงตาให้ละเอียดยิ่งขึ้น ซึ่งจะต้องมีการส่งตัวไปยังจักษุแพทย์หรือแพทย์ประสาทวิทยาต่อไป

การรักษากล้ามเนื้อตาอัมพาต

การรักษากล้ามเนื้อตาอัมพาตจะขึ้นอยู่กับประเภทของโรค อาการที่เกิดขึ้น และสาเหตุที่เกี่ยวข้อง โดยปกติแล้วเด็กที่เกิดมาพร้อมกับอาการดังกล่าวจะสามารถเรียนรู้วิธีชดเชยการมองเห็นของตนเองที่บกพร่องได้ ส่วนการรักษาภาวะดังกล่าวในผู้ใหญ่ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยสวมแว่นตาพิเศษหรือสวมที่ปิดตาเพื่อบรรเทาการเห็นภาพซ้อนและช่วยให้มองเห็นเป็นปกติได้มากขึ้น

การป้องกันภาวะกล้ามเนื้อตาอัมพาต

ภาวะกล้ามเนื้อตาอัมพาตมักจะเป็นอาการของโรคอื่นหรือความผิดปกติทางการแพทย์อื่น แต่หากไปพบจักษุแพทย์เป็นประจำก็อาจช่วยให้ตรวจพบอาการได้เร็วขึ้น แม้ว่าจะยังมองเห็นปกติก็ตาม ดังนั้น จึงขอแนะนำให้ตรวจดวงตาเป็นประจำทุกๆ 2 ปี


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Amber Erickson Gabbey and Kathryn Watson, Ophthalmoplegia (https://www.healthline.com/health/ophthalmoplegia), December 14, 2016.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โครงสร้างของตา
โครงสร้างของตา

เรียนรู้โครงสร้างของตา ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

อ่านเพิ่ม