ดวงตา เป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญของร่างกายที่ต้องได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ยิ่งปัจจุบันคนเราใช้คอมพิวเตอร์ และมือถือวันละหลายชั่วโมง แล้วยังต้องเผชิญกับแสงแดด ลม ที่มีผลต่อสุขภาพดวงตา
ตามปกติแล้ว เมื่ออายุมากขึ้นดวงตาจะเสื่อมสภาพไป เช่น เกิดอาการตาพร่ามัว ตาแห้ง ปวดเบ้าตา แต่มีอีกทางเลือกที่ช่วยบำรุง และชะลอความเสื่อมของอวัยวะสำคัญนี้ได้ คือ การรับประทานวิตามินบำรุงสายตา
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
วิตามินบำรุงสายตา ตาแห้ง
1. โอเมก้า-3
หลายคนอาจพบปัญหาการมองเห็นไม่ชัด หรือตาแห้ง กรณีนี้โอเมก้า-3 (Omega-3) สามารถช่วยได้ โดยเฉพาะ DHA (กรดไขมันชนิดหนึ่งในตระกูลโอเมก้า-3) เป็นส่วนหนึ่งของเยื่อหุ้มเซลล์เรตินาของดวงตา
นอกจากนี้ยังมีการวิจัยมากมายพบว่า โอเมก้า-3 จะช่วยผลิตน้ำตาให้มากขึ้น จึงช่วยให้ดวงตาชุ่มชื้น ช่วยลดระดับความรุนแรงของอาการตาแห้ง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการสายตาพร่ามัว
เราสามารถรับประทานอาหารที่มีน้ำมันปลาโอเมก้า-3 หรือที่มี DHA สูงได้จากสัตว์ โดยเฉพาะปลา ทั้งปลาทะเล และปลาน้ำจืด อาจจะมีมากน้อยต่างกันตามแต่ละชนิด เช่น
- ปลาแซลมอน
- ปลาจาระเม็ดขาว
- ปลาจาระเม็ดดำ
- ปลาสำลี ปลากะพงขาว
- ปลากระพงแดง
- ปลาอินทรี
- ปลาทู
- ปลาเก๋า
- ปลาน้ำจืดไทย เช่น ปลาดุก ปลาสวาย ปลาช่อน ปลาสลิด ปลาตะเพีน ปลากราย ปลานิล ปลาไหล
- ธัญพืชจำพวกแฟล็กซีด (Flaxseed) เมล็ดเชีย และพืชตระกูลถั่ว
สำหรับวิธีรับประทาน แนะนำให้รับประทานปลาทะเล หรือปลาน้ำจืด สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง มากกว่าแนะนำให้รับประทานอาหารเสริม หรือหากใครไม่สะดวกรับประทานปลา สามารถรับประทานอาหารเสริม ประมาณ 250-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
2. วิตามินเอ
ไม่เพียงแต่โอเมก้า 3 เท่านั้น “วิตามินเอ” ก็เป็นวิตามินบำรุงสายตาอีกตัวหนึ่ง กล่าว คือ วิตามินเอ เป็นองค์ประกอบสำคัญของโรดอปซิน (Rhodopsin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่อยู่ที่จุดรับแสงเรตินาในดวงตา ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเยื่อบุตา และกระจกตา ช่วยในการมองเห็นที่มีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้วิตามินเอ ยังช่วยในการเจริญเติบโต การสร้างเยื่อบุเซลล์ และการแบ่งตัวของเซลลหัวใจ ตับ ปอด ไต และอวัยวะอื่นๆ ให้เป็นไปตามปกติ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
หากการขาดวิตามินเอมีความรุนแรงยิ่งขึ้น เรียกว่า "ภาวะเยื่อบุตาอักเสบ (Xeropthalmia)" โดยในระยะแรก ผู้ป่วยจะมีอาการตาบอดกลางคืน (Night Blindness) เยื่อบุตาขาวแห้งแบบเกล็ดกระดี่ขึ้นตา (Bitot's spot)
หลังจากนั้นผู้ป่วยจะมีอาการกระจกตาแห้ง (Corneal Xerosis) กระจกตาเป็นแผล (Keratomalacia) จนทำให้ตาบอดในที่สุด
วิตามินเอที่อยู่ในอาหาร มี 2 ลักษณะ
- วิตามินเอแท้ หรือวิตามินเอบริสุทธิ์ (Retinol) พบได้ในผลิตผลจากสัตว์ ได้แก่ ตับ ไข่แดง น้ำนม เนย มันหวาน ผักใบเขียว ฟักทอง โดยวิตามินเอจะประกอบด้วยสารโรดอปซิน (Rhodopsin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในดวงตาซึ่งมีความไวต่อแสง จึงช่วยทำให้มองเห็นในที่มืดได้ดี
- แคโรทีนอยด์ ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้ เช่น แคโรทีน ลูทีน (Lutein) ซีอะแซนทิน (Zeaxanthin) ช่วยปกป้องเรตินาจากการทำร้ายของแสงยูวี และสามารถช่วยบำรุงสุขภาพดวงตาได้ การเลือกรับประทานอาหารที่มีสารเหล่านี้จึงช่วยชะลอโรคเกี่ยวกับดวงตาเมื่อเราแก่ตัวลงได้
โรคเกี่ยวกับดวงตาที่มักพบในผู้สูงอายุ เช่น โรคจอประสาทเสื่อม โรคต้อกระจก โดยหากระดับแคโรทีนอยด์ในเลือดต่ำ มีความเสี่ยงสูงมากต่อการเป็นโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก (Wet AMD) ซึ่งผู้สูงอายุหลายๆ ท่านอาจอยู่ในระยะเริ่มต้นของโรคเหล่านี้
แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยสารแคโรทีน คือ ผักผลไม้ที่มีสีส้ม หรือสีเหลือง เช่น แครอท มะละกอ ฟักทอง มะม่วง ส้ม ชนุน เสาวรส
แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยสารลูทีน และซีอะแซนทิน คือ ผักโขม ผักคะน้า ข้าวโพดหวาน บร็อกโคลี ถั่ว และผลไม้ที่มีสีแดง ส้ม เหลือง
3. วิตามินซี
นอกจากลูทีน และซีอะแซนทินแล้ว ผลไม้ที่มีสีแดง ส้ม เหลือง ก็ยังให้ “วิตามินซี” สูง ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้ดีเลยทีเดียว โดยมีการวิจัยพบว่า หากรับประทานวิตามินซีวันละ 490 มิลลิกรัมขึ้นไป สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคต้อกระจกได้ถึง 75%
เพราะวิตามินซีเป็นสารที่ใช้ในการผลิตคอลลาเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของกระจกตา และเยื่อบุตา
หากคุณไม่แน่ใจว่า ร่างกายของตนเองมีปริมาณวิตามินที่เหมาะสมหรือยัง หรืออยากทราบว่า ควรรับวิตามินบำรุงตัวไหนเพิ่มเติม ก็สามารถเข้ารับการตรวจวิตามินกับแพทย์ได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
4. สังกะสี
นอกจากรับประทานวิตามินบำรุงสายตา ชนิดวิตามินเอ วิตามินซี และกรดไขมันอื่นๆ ดังกล่าวมาแล้ว การรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีสูงก็ช่วยบำรุงดวงตาได้เช่นกัน โดยให้ผลดีต่อเรตินา และเป็นสารสำคัญในการทำงานของเอนไซม์ ช่วยชะลอความเสื่อมของจอประสาทตา
สังกะสีพบได้ในเนื้อสัตว์ทุกชนิด และอาหารทะเล แต่ทั้งนี้ก็ต้องระวังวิธีปรุงอาหารด้วย เพราะหากปรุงด้วยวิธีการทอด หรือเลือกเนื้อสัตว์ชนิดติดมันมากเกินไป รับประทานบ่อยๆ นอกจากจะทำให้น้ำหนักเกินมาตรฐาน ยังส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมอีกด้วย
สุดท้ายนี้นอกจากกินอาหารที่มีวิตามินบำรุงสายตาแล้ว หากจำเป็นต้องใช้สายตามากๆ แนะนำให้พักสายตาทุก 30 นาที โดยการมองต้นไม้ หรือวัตถุสีเขียว หรืออาจกระพริบตาให้บ่อยขึ้น ซึ่งจะเป็นช่วยคลายกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทดวงตา ช่วยลดความอ่อนล้าของตาได้
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจตา จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android