กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo)

อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน สาเหตุ การวินิจฉัย และวิธีการรักษาแบบต่างๆ
เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo) เป็นอาการรู้สึกเหมือนสิ่งรอบๆ ขยับหรือหมุนอยู่ จนรู้สึกคงสมดุลไม่ได้ เดินหรือยืนลำบาก เวียนหัว อาเจียน อาจจะมีความรุนแรงจนทำให้ยืนไม่ติดพื้นก็ได้
  • อาการบ้านหมุน มักเกิดขึ้นจากปัญหาเรื่องสมดุลภายในหูชั้นใน แต่บางครั้งอาจมีสาเหตุอื่นๆ เช่น ไมเกรน เส้นประสาทการทรงตัวอักเสบ  การใช้ยาบางประเภท เป็นต้น
  • การรักษาอาการบ้านหมุนด้วยตัวเอง อาจทำได้โดยค่อยๆ ออกกำลังในท่าที่ทำให้มีเพื่อให้สมองคุ้นชิน เลี่ยงการงอตัวก้มเก็บของ นอนโดยยกศีรษะให้สูงขึ้น ไม่ลุกเร็วๆ เลี่ยงการยืดคอหยิบของจากชั้นสูง 
  • แต่หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนรุนแรงจนกินน้ำไม่ได้ ปวดศีรษะรุนแรง เสียการได้ยินกระทันหัน เดินเซ เห็นภาพซ้อน ถือเป็นอาการที่ควรไปพบแพทย์ทันที
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

เกี่ยวกับอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน

เวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo) เป็นอาการที่ทำให้คุณเกิดความรู้สึกเหมือนรอบ ๆ ร่างกายของคุณขยับหรือหมุนอยู่ อาการนี้มักจะเกิดขึ้นจนสังเกตแทบไม่ได้ หรืออาจจะมีความรุนแรงจนทำให้ยืนไม่ติดพื้นก็ได้

การกำเริบของอาการนี้สามารถเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและคงอยู่นานไม่กี่วินาที หรืออาจจะเกิดขึ้นต่อเนื่องนานกว่านั้นก็ได้ ซึ่งจะทำให้การใช้ชีวิตของคุณเป็นไปได้ยากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน

อาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนมีดังนี้:

สาเหตุของอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน?

อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน มักเกิดขึ้นจากปัญหาเรื่องสมดุลภายในหูชั้นใน แต่ก็สามารถเกิดขึ้นจากปัญหาที่สมองบางส่วนก็ได้

สาเหตุของอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนมีดังนี้:

  • โรคหินปูนในหูชั้นใน (benign paroxysmal positional vertigo (BPPV)) – การเคลื่อนไหวของศีรษะบางจุดทำให้เกิดเศษตะกอนขนาดเล็กหลุดออกจากเยื่อบุของช่องทางในหูชั้นใน เมื่อเศษดังกล่าวไหลไปพร้อมกับน้ำในหูซึ่งจะส่งสัญญาณแปลกปลอมไปยังสมอง ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนซึ่งมักเป็นเมื่อเปลี่ยนท่าทาง
  • ไมเกรน (migraines) : มักมีอาการปวดศีรษะรุนแรงร่วมด้วย
  • หูชั้นในอักเสบ (labyrinthitis) : การติดเชื้อภายในหูชั้นใน ทำให้ข้อมูลที่ส่งไปยังสมองจะแตกต่างจากข้อมูลที่สมองได้รับจากหูและตาที่เป็นปกติ ความเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เกิดอาการวิงเวียนและอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน
  • เส้นประสาทการทรงตัวอักเสบ (vestibular neuronitis) : การอักเสบของเส้นประสาทสำหรับทรงตัวที่อยู่ในหูชั้นใน และทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อควบคุมสมดุลผิดปกติ
  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Ménière's disease)
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis) : ภาวะที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง) ซึ่งพบได้น้อย
  • โรคเนื้องอกบนเส้นประสาทหู (acoustic neuroma) : ภาวะหายากที่มีเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งโตบนเส้นประสาทหูที่ช่วยควบคุมสมดุลและการได้ยิน
  • เนื้องอกในสมองส่วนซีลีเบลลัม
  • ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (transient ischaemic attack (TIA) หรือ stroke) : การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองถูกตัดขาดบางตำแหน่ง
  • การใช้ยาบางประเภท
  • การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ

คุณอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่นมีไข้สูง, หูอื้อ (tinnitus) และสูญเสียการได้ยิน ขึ้นอยู่กับภาวะตัวการที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนของคุณ

อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน กับการกลัวความสูง

คำว่า “อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน” มักถูกเอามาใช้อธิบายอาการกลัวความสูงอย่างผิด ๆ โดยคำเรียกอาการกลัวความสูงจนเกิดอาการวิงเวียน หน้ามืด ที่เกิดขึ้นจากการมองลงมาที่พื้นจากที่สูง คือคำว่า “Acrophobia”

อาการนี้เป็นอาการทางจิตใจที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะเป็นสิ่งที่ร่างกายจะนำมาใช้ป้องกันตัวเองเมื่อรู้สึกถึงอันตรายและความไม่มั่นคงจากความสูง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

หากอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนของเกิดจากสาเหตุที่ไม่ชัดเจน คุณอาจต้องเข้าพบแพทย์หากว่า:

  • คุณมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนรุนแรงและไม่สามารถดื่มน้ำได้
  • คุณมีอาการปวดศีรษะรุนแรง
  • คุณมีภาวะสูญเสียการได้ยินกะทันหันแต่คาดว่าไม่ได้เกิดจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
  • คุณมีอาการอ่อนแรง เดินเซ เห็นภาพซ้อน หรืออาการร่วมทางระบบประสาทอื่นๆ

การวินิจฉัยอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน

แพทย์ของคุณจะสอบถามอาการและดำเนินการทดสอบง่าย ๆ เพื่อช่วยให้ได้ผลการวินิจฉัยที่เที่ยงตรงมากขึ้น

คำถามสำคัญที่แพทย์จะถามเป็นอันดับแรก มีดังนี้:

  • รายละเอียดของอาการแรกเริ่มของคุณ เช่น คุณมีอาการหน้ามืดหรือเห็นภาพหมุนรอบตัวคุณก่อนหรือไม่
  • คุณประสบกับอาการอื่น ๆ หรือไม่ เช่น สูญเสียการได้ยิน, หูอื้ออึง, คลื่นไส้, อาเจียน หรือรู้สึกแน่นหู
  • คุณมีอาการบ่อยแค่ไหน และแต่ละครั้งเกิดขึ้นนานเพียงใด
  • อาการของคุณส่งผลต่อกิจกรรมการใช้ชีวิตประจำวันหรือไม่ เช่น คุณไม่สามารถเดินหรือยืนขณะที่มีอาการได้เลย เป็นต้น
  • มีสิ่งใดที่กระตุ้นให้เกิดอาการหรือทำให้อาการทรุดลงหรือไม่ เช่น การขยับศีรษะในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
  • อะไรที่คุณทำเพื่อช่วยให้อาการดีขึ้น

แพทย์อาจต้องทำการตรวจร่างกายของคุณ เพื่อตรวจหาสัญญาณของภาวะที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน ซึ่งอาจเป็นทั้งการมองเข้าไปในหูและตรวจสอบดวงตาเพื่อมองหาอาการตากระตุก (nystagmus)

แพทย์อาจทำการตรวจสอบเรื่องสมดุลของคุณ หรือลองกระตุ้นให้เกิดอาการขึ้นด้วยการขอให้คุณสลับอิริยาบถจากนั่งไปเป็นนอน

แพทย์อาจส่งตัวคุณไปยังโรงพยาบาลหรือพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการทดสอบเพิ่มเติมตามความจำเป็น ดังนี้:

  • การทดสอบการได้ยิน : หากคุณมีอาการหูอื้อ (tinnitus) หรือสูญเสียการได้ยิน แพทย์อาจส่งคุณไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู, จมูก, และคอ (ENT) เพื่อทดสอบการได้ยิน ซึ่งอาจมีดังนี้:
    • การตรวจระดับการได้ยิน (audiometry test) : จะมีการใช้เครื่องจักรที่เรียกว่า audiometer ปล่อยเสียงออกมาในระดับความดังและความสูงที่ต่างกัน คุณต้องฟังเสียงเหล่านี้ทางหูฟังและส่งสัญญาณว่าคุณได้ยินเสียงทั้งแบบกดปุ่มหรือยกมือ
    • การตรวจการได้ยินด้วยส้อมเสียง (tuning fork test) : ส้อมเสียงจะปล่อยคลื่นเสียงออกในระดับเสียงที่คงที่เมื่อมีการเคาะเบา ๆ ผู้ทดสอบจะต้องเคาะส้อมเสียงก่อนยกส้อมขึ้นในระดับศีรษะทั้งสองข้าง
  • การตรวจการทำงานของอวัยวะทรงตัวในหู (Videonystagmography (VNG)) ถูกใช้เพื่อตรวจหาสัญญาณของอาการตากระตุกอย่างละเอียดมากขึ้น การทดสอบนี้จะมีการใช้แว่นตาชนิดพิเศษสวมให้คนไข้โดยผู้ใส่จะต้องมองไปยังเป้าหมายทั้งแบบที่อยู่นิ่ง ๆ และเคลื่อนไหวอยู่ แว่นตานี้จะบันทึกการเคลื่อนไหวของดวงตาของคุณตลอดการทดสอบ
  • การทดสอบด้วยความเย็นร้อน (caloric test) เป็นการทดสอบที่ใช้วิธีเปิดน้ำอุ่นหรือน้ำเย็นหรืออากาศเข้าไปในหูของคุณนานประมาณ 30 นาที โดยความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจะกระตุ้นสมดุลของอวัยวะในหูทำให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถตรวจสอบได้ว่าอวัยวะเหล่านั้นทำงานดีหรือไม่อย่างไร
  • การทดสอบการทรงตัว (Posturography) คือการทดสอบสมดุลร่างกายเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สายตา, การรับรู้อากัปกิริยา (ความรู้สึกจากเท้าและข้อต่อต่าง ๆ), และข้อมูลที่คุณได้จากหูในการทรงตัวของคุณเอง
  • การสแกน บางกรณีอาจมีการสแกนศีรษะของคุณด้วยการถ่ายภาพสะท้อนแม่เหล็ก (magnetic resonance imaging (MRI)) หรือการถ่ายภาพคอมพิวเตอร์หรือซีทีสแกน (computerised tomography (CT)) เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน เช่นโรคเนื้องอกบนเส้นประสาทหู เป็นต้น

วิธีรักษาอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน

คุณสามารถดูแลจัดการเพื่อบรรเทาอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนที่คุณประสบ โดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอาจให้คำแนะนำแก่คุณได้ดังนี้:

  • ออกกำลังกายง่าย ๆ เพื่อแก้ไขอาการ
  • นอนโดยยกศีรษะให้สูงขึ้น ด้วยการหนุนหมอนสองใบขึ้นไป
  • ค่อยๆ ลุกขึ้นจากเตียงช้าๆ และนั่งที่ขอบเตียงประมาณ 1 นาทีก่อนลุกขึ้น
  • เลี่ยงการงอตัวก้มเก็บของ
  • เลี่ยงการยืดคออย่างการเอื้อมหยิบของจากชั้นสูง
  • ขยับศีรษะอย่างช้าๆ และระมัดระวังระหว่างการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
  • ออกกำลังในท่าที่ทำให้คุณมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน เพื่อให้สมองคุ้นชินกับอิริยาบถ (ควรทำเฉพาะสถานการณ์ที่คุณมั่นใจว่าตนเองจะไม่ล้ม และใช้ตัวช่วยค้ำร่างกายต่าง ๆ ตามความจำเป็น)

หากยังไม่ดีขึ้น มีการรักษาทางการแพทย์บางประเภท ที่สามารถรักษาอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนบางสาเหตุได้ เช่น:

  • Epley manoeuvre : การบริหารศีรษะด้วยท่าทางสี่แบบเพื่อขยับเศษตะกอนที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนอยู่กับที่จนไม่ทำให้เกิดอาการขึ้น
  • การออกกำลังแบบ Brandt-Daroff : โดยการออกกำลังกายนี้จะประกอบด้วยรูปแบบการเคลื่อนไหวหลายท่าทาง ใช้ทดแทนหาก Epley manoeuvre ไม่ได้ผล
  • การฟื้นฟูการทรงตัว Vestibular rehabilitation (VRT) : โปรแกรมการบริหารที่ช่วยกระตุ้นสมองให้ปรับตัวกับข้อความที่ผิดปกติจากหู การทำเช่นนี้จะทำให้ร่างกายเริ่มคุ้นชินกับสัญญาณอื่น ลดอาการวิงเวียนและช่วยควบคุมสมดุลการทรงตัวของคุณ
  • การรักษาด้วยยา Prochlorperazine : ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้และอาเจียนรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนได้ ยาชนิดนี้ออกฤทธิ์ด้วยการเข้ายับยั้งผลของสารเคมีในสมองที่เรียกว่าโดพามีน (dopamine)
  • การรักษาด้วยยา Antihistamines : บรรเทาอาการคลื่นไส้, อาเจียน, และอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนรุนแรงได้ ยาชนิดนี้ออกฤทธิ์ด้วยการเข้ายับยั้งสารเคมีที่เรียกว่าฮิสตามีน

ในบางกรณีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนจะหายไปเองโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาใดๆ อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยบางรายที่ประสบกับอาการนี้ซ้ำซากนานหลายเดือนหรือแม้แต่หลายปี เช่น ผู้ป่วยโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Ménière's disease) ที่อาจต้องรักษาไปตามอาการ ดังนี้:

  • การปรับเปลี่ยนอาหารการกิน : โดยเฉพาะอาหารที่มีเกลือต่ำ
  • การใช้ยารักษาการกำเริบของโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
  • ยาที่ใช้ป้องกันการกำเริบของโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
  • การรักษาอาการหูอื้อ : เช่น การบำบัดด้วยเสียง ด้วยการลดความแตกต่างระหว่างเสียงของอาการหูอื้อและเสียงฉากหลังเพื่อทำให้เสียงจากอาการสร้างความรบกวนน้อยลง
  • การรักษาภาวะสูญเสียการได้ยิน : อย่างเช่นการใช้เครื่องช่วยฟัง
  • กายภาพบำบัดเพื่อจัดการกับปัญหาการทรงตัว
  • การรักษาอาการทุติยภูมิต่าง ๆ จากโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน : อย่างเช่นภาวะเครียด, ภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า

ความปลอดภัย

หากคุณมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน ควรพิจารณาประเด็นต่างๆ ด้านความปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น:

  • คุณควรแจ้งนายจ้างของคุณ หากว่าหน้าที่ของคุณคือการควบคุมเครื่องจักรหนัก หรือต้องปีนป่ายบันได
  • คุณอาจมีความเสี่ยงต่อการล้มเพิ่มขึ้น ควรศึกษาการป้องกันการล้มต่างๆ เพื่อทำให้บ้านของคุณมีความปลอดภัยมากขึ้น
  • อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนยังส่งผลต่อความสามารถในการขับยานพาหนะของคุณ ดังนั้นควรเลี่ยงการขับรถ หากคุณเคยประสบกับการกำเริบของอาการ และมีความเสี่ยงที่คุณจะมีอาการอีกครั้งขณะขับรถ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Marks, J. Everyday Health (2018). What Are the Causes and Risk Factors for Vertigo? (https://www.everydayhealth.com/vertigo/causes-risk-factors/)
Krause, L. Healthline (2018). What Causes Vertigo? (https://www.healthline.com/health/vertigo)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป