โรคกลัวรูกับสาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกัน และวิธีการดูแลตัวเอง

เผยแพร่ครั้งแรก 22 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 16 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคกลัวรูกับสาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกัน และวิธีการดูแลตัวเอง

อาการกลัวหรือโรคกลัว (Phobia) เราอาจจะเคยได้ยินหรือกำลังเป็นอยู่ ซึ่งเป็นอาการของการกลัวสิ่งที่ไม่น่าจะทำให้กลัวได้ หรือเป็นการกลัวแบบแปลกๆ อย่างเช่นกลัวลูกโป่ง กลัวหญ้า กลัวที่แคบในลิฟต์ และไม่กล้าขึ้นเครื่องบินเพราะกลัวความสูง โดยคนทั่วไปอาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องตลกขบขันหรือคิดว่าเป็นการเสแสร้ง ทั้งที่จริงแล้วไม่ใช่อย่างที่หลายคนคิด เนื่องจากเป็นอาการกลัวที่รุนแรงและเกิดมาจากความกลัวจริงๆ จนอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ที่เป็นได้ อย่างที่เราจะกล่าวถึงโรคกลัวรูดังต่อไปนี้

โรคกลัวรูคืออะไร?

โรคกลัวรู (Trypophobia) เป็นอาการของคนที่เมื่อเห็นสิ่งที่มีรูกลวงโบ๋หรือนูนๆ มีเม็ดโผล่ขึ้นมาจากรู ไม่ว่ารูปนั้นจะปรากฏขึ้นที่คน สัตว์ หรือสิ่งของก็ตาม โดยรูปจะมีลักษณะไม่เป็นระเบียบและมีขนาดไม่เท่ากัน เช่น ฝักเมล็ดบัว รังผึ้ง สตรอเบอร์รี่ หรือฟองน้ำ เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เมื่อเห็นภาพเหล่านี้แล้วแท้ที่จริงไม่ได้กลัวที่รูอย่างที่เข้าใจ แต่ภาพเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้เกิดความกลัวจนเกิดอาการ ขยะแขยง คัน คลื่นไส้ อาเจียน ตัวสั่น หรือไม่สบายนั่นเอง

สาเหตุของโรคกลัวรู

โรคกลัวรูเกิดจากสมองได้นำภาพรูหรือเม็ดที่ปรากฏไปเชื่อมโยงกับสิ่งที่คิดว่าต้องอันตราย ทั้งๆ ที่ทราบว่าสิ่งที่เห็นนั้นไม่สามารถมีอันตรายหรือทำอันตรายได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะคนที่เป็นอาการแบบนี้เคยผ่านการมีประสบการณ์อันเลวร้ายเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นขึ้นจากในวัยเด็กมาก่อนก็ได้ หรืออาจมีความผิดปกติที่เกี่ยวกับการทำงานของสมอง รวมถึงมีสภาพแวดล้อมและพันธุกรรมในครอบครัวที่มีความวิตกกังวลมากเกินไป

อาการของโรคกลัวรู

เมื่อเห็นภาพที่มีรูหรือเม็ดที่กลวง มักจะมีอาการขยะแขยง สะอิดสะเอียน คลื่นไส้ อาเจียน ขนลุก ตัวสั่น อึดอัด เป็นลม และช็อกในที่สุด

การรักษาโรคกลัวรู

โรคกลัวรูเป็นโรคที่เกิดจากภายในจิตใจไม่ใช่มาจากทางกาย มีต้นเหตุมาจากความกลัวที่เกิดมาจากจิตใจ ดังนั้นจึงไม่สามารถรักษาด้วยการใช้ยาเพื่อให้กายหายป่วยได้ เพราะฉะนั้นการรักษาที่ถูกวิธีจึงจำเป็นต้องรักษาด้วยการไปพบจิตแพทย์เท่านั้น และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรีบไปพบแพทย์เมื่อมีอาการอย่างรุนแรง เช่น กลัวจนมีอาการซึมเศร้า หรือกลัวติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือนก็ยังไม่หาย และกลัวแบบชนิดไม่มีเหตุผล เพราะกระทบกับสภาพจิตใจจนทำให้ป่วยกายหรือมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน

หากมีอาการซึมเศร้าจิตแพทย์อาจต้องใช้ยาร่วมด้วย ทั้งนี้การรักษาด้วยยาต้านซึมเศร้าร่วมกับการบำบัดทางจิตวิทยาให้ชนะความกลัวจะต้องทำควบคู่กันไป ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของจิตแพทย์ว่าควรจะต้องทำอย่างไร

การป้องกันและการดูแลตนเอง

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและลดความวิตกกังวลได้ หรืออาจเล่นโยคะที่จะเป็นการฝึกจิตใจหรือสมาธิ ทำให้จิตใจผ่อนคลายและลดความเครียด
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ สารเสพติดต่างๆ และคาเฟอีน
  • พักผ่อนให้เพียงพอทุกวัน ช่วยทำให้จิตใจสดชื่นแจ่มใส
  • หากรู้สึกตัวว่ามีอาการของโรคกลัวรูแล้ว ควรเข้ากลุ่มที่มีการบำบัดโรคนี้ จะช่วยให้มีความเข้าใจในโรคได้ดีขึ้น และการบำบัดก็จะได้ผลมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
  • ฝึกเข้าใกล้สิ่งของหรือสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกกลัวบ่อยๆ เพื่อให้เกิดความคุ้นชิน และพยายามให้กำลังใจตัวเองโดยไม่ท้อแท้ เพื่อให้การบำบัดรักษาเป็นไปอย่างต่อเนื่องและได้ผล
  • ถ้าทำแล้วยังไม่ดีขึ้นจะต้องรีบไปพบจิตแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำและได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

อาการโรคกลัวรูแม้ว่าคนปกติจะไม่ได้เป็น เมื่อมองภาพรูที่มีลักษณะขรุขระหรือตะปุ่มตะป่ำแล้วยังเกิดความรู้สึกไม่สบายตาหรือไม่ค่อยชอบ อาจเป็นเพราะกลไกในร่างกายคนเราต้องการให้หลีกเลี่ยงจากสัตว์ต่างๆ ที่มีพิษก็ได้ นั่นคือพวกงูหรือแมงป่อง แต่หากเกิดอาการมากเกินไปจนรบกวนจิตใจหมดความสุขแบบนี้ ก็ควรจะรีบไปพบจิตแพทย์แต่เนิ่นๆ จะดีกว่า


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What Is Trypophobia? Triggers, Symptoms, Causes & Treatment. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/trypophobia_fear/article.htm)
What Is Trypophobia and Is There a Cure?. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/trypophobia-101-beginners-guide/)
Trypophobia: Fact or fiction?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320512)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คืออะไร มีวิธีรับมืออย่างไร
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คืออะไร มีวิธีรับมืออย่างไร

คุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ เสี่ยงเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอด สังเกตอาการ และเรียนรู้วิธีรับมืออย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม