โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่พบได้ในคนทุกช่วงอายุ ทุกสถานะ และทุกเชื้อชาติ และถึงแม้ว่าโรคซึมเศร้านั้นเป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อยโดยเฉพาะในวัยรุ่น แต่ทำไมบางคนถึงซึมเศร้าในขณะที่คนอื่นไม่เป็น?
ไม่มีคำตอบเดียวสำหรับโรคซึมเศร้า
มีหลายสิ่งที่ส่งผลต่อการที่ใครคนใดคนหนึ่งนั้นจะมีอาการซึมเศร้า บางปัจจัยนั้นก็เป็นเรื่องทางชีวภาพเช่นพันธุกรรม, สารเคมีในสมองและฮอร์โมน บางปัจจัยนั้นเกิดจากสิ่งแวดล้อมเช่นแสงแดด ฤดูกาลหรือสถานการณ์ที่พบเจอในสังคมและครอบครัว และบางครั้งก็เกี่ยวข้องกับลักษณะนิสัยของแต่ละคนเช่นการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตหรือคนที่เราสามารถขอความช่วยเหลือได้ ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลต่อคำตอบของคำถามที่ว่าทำไมบางคนถึงเป็นโรคซึมเศร้าในขณะที่คนอื่นไม่เป็น
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
พันธุกรรม
งานวิจัยพบว่าโรคซึมเศร้านั้นสามารถพบได้มากขึ้นในครอบครัว บางคนอาจจะได้รับพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการเกิดโรคซึมเศร้า แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้าแล้วจะต้องเป็นเช่นเดียวกัน และมีหลายคนที่ไม่เคยมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมาก่อนก็เป็นโรคนี้ได้ ดังนั้นปัจจัยทางพันธุกรรมนั้นจึงเป็นเพียงแค่ปัจจัยหนึ่งแต่ไม่ใช่เหตุผลเดียว
สารเคมีในสมอง
ในสมองมีสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทในสมอง สารสื่อประสาทบางตัวนั้นทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ และเมื่อมีอาการซึมเศร้า ก็มักจะพบว่าสารสื่อประสาทเหล่านี้นั้นอยู่ในระดับต่ำหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
พันธุกรรมและสารสื่อประสาทเหล่านี้อาจมีความเกี่ยวข้องกันได้ โดยการมีสารพันธุกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้านั้นจะทำให้คนนั้นมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาเกี่ยวกับสารสื่อประสาทที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
ความเครียด สุขภาพ และฮอร์โมน
ความเครียด การดื่มแอลกอฮอล์หรือยา และการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนนั้นล้วนส่งผลต่อสารเคมีในสมองและอารมณ์
โรคบางโรคอาจทำให้เกิดอาการคล้ายกับโรคซึมเศร้าได้ เช่นภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำอาจทำให้เกิดอาการเศร้าได้ในผู้ป่วยบางราย การติดเชื้อไวรัส ebv นั้นอาจจะทำให้คนคนนั้นมีพลังงานลดลง ซึ่งเมื่อรักษาโรคเหล่านี้แล้วอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นนั้นมักจะหายไป
การนอนหลับให้เพียงพอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนั้นมักจะส่งผลบวกต่อการทำงานของสารสื่อประสาทและอารมณ์
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
แสงแดดและฤดูกาล
แสงแดดนั้นส่งผลต่อการสร้างเมลาโทนินและ serotonin ในสมอง สารสื่อประสาทเหล่านี้ทำหน้าที่ควบคุมการตื่น – หลับในร่างกาย, ระดับพลังงานและอารมณ์ ดังนั้นเมื่อมีแสงแดดลดลง สมองก็จะสร้างเมลาโทนินมากขึ้น ในขณะที่เมื่อมีแสงแดดมากขึ้น สมองก็จะสร้าง serotonin มากขึ้น
การมีกลางวันที่สั้นและกลางคืนที่ยาวนั้นอาจทำให้ร่างกายมีเมลาโทนินสูงและ serotonin ต่ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ในบางคน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลเช่นนี้ การได้รับแสงแดดจะช่วยปรับอารมณ์ให้ดีขึ้นได้
เหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิต
บางครั้งการเสียชีวิตของคนในครอบครัว, เพื่อนหรือสัตว์เลี้ยงก็ทำให้เกิดอาการเสียใจที่มากกว่าปกติซึ่งนำไปสู่โรคซึมเศร้า นอกจากนั้นเหตุการณ์อื่นๆ ในชีวิตเช่นพ่อแม่หย่าร้าง แยกกันอยู่ หรือแต่งงานใหม่ก็อาจกระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน
เหตุการณ์เหล่านี้จะทำให้เกิดโรคซึมเศร้าหรือไม่นั้นมักจะขึ้นกับความสามารถในการจัดการกับปัญหาของคนคนนั้น รวมถึงการมองโลกในแง่บวกและความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง
สิ่งแวดล้อมทางครอบครัวและสังคม
ในบางคน การอยู่ในครอบครัวที่มีความคิดแง่ลบ เครียด หรือไม่มีความสุขนั้นอาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ สถานการณ์อื่นๆ ที่มีความเครียดสูงเช่นความยากจน การไม่มีบ้าน หรือความรุนแรงในครอบครัวก็อาจจะทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน และการต้องเผชิญกับการถูกเพื่อนล้อ หรือแรงกดดันจากเพื่อนนั้นก็อาจจะทำให้คนคนนั้นรู้สึกโดดเดี่ยว กลายเป็นคนผิดหรือรู้สึกไม่มั่นคงได้
สถานการณ์เหล่านี้ไม่ได้ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าเสมอไป แต่การเผชิญกับมันโดยไม่ได้ระบายหรือไม่มีคนคอยช่วยเหลือนั้นจะทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ง่าย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การตอบสนองต่อเหตุการณ์ในชีวิต
ชีวิตคนนั้นมีทั้งขึ้นและลง ดังนั้นวิธีการที่เราตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ นั้นจึงสำคัญมาก มุมมองความคิดของเรานั้นอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้า หรืออาจจะช่วยทำให้ไม่เป็นโรคซึมเศร้าก็ได้
งานวิจัยพบว่ามุมมองความคิดเชิงบวกนั้นช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า แม่แต่ในคนที่มีพันธุกรรม สารเคมีในสมองหรือเหตุการณ์ในชีวิตที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า ในทางกลับกัน คนที่มักคิดในแง่ลบนั้นก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นเช่นกัน
เราไม่สามารถควบคุมพันธุกรรม สารเคมีในสมองหรือปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ แต่เราสามารถควบคุมมุมมองความคิดของพวกเราต่อเหตุการณ์เหล่านั้นได้
การพยายามคิดแง่บวกนั้นจะช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า เช่นเดียวกับการพัฒนาทักษะในการจัดการกับปัญหาและความสัมพันธ์ที่คอยช่วยเหลือกัน ทั้งหมดล้วนแต่เป็นความสามารถในการรับและจัดการกับเหตุการณ์ยากลำบากที่เกิดขึ้นในชีวิตได้
ต่อไปนี้เป็น 3 วิธีที่สามารถช่วยเพิ่มความสามารถดังกล่าว
- พยายามคิดว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเรื่องท้าทายและเป็นปกติของชีวิต เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ให้ลงมือแก้ไข
- เตือนตัวเองว่าเมื่อมีลงแล้วก็ต้องมีขึ้นและปัญหาทุกอย่างนั้นเป็นเรื่องชั่วคราวและสามารถแก้ได้ ไม่มีอะไรคงอยู่ตลอดไป
- สร้างระบบที่คอยช่วยเหลือ ลองขอความช่วยเหลือจากเพื่อนและครอบครัว (หรือขอแค่ให้พวกเขาอยู่ด้วยเวลาที่คุณร้องไห้) เวลาที่คุณต้องการ และให้ความช่วยเหลือเวลาที่พวกเขาต้องการ นี่จะทำให้ความสัมพันธ์ของคุณแน่นแฟ้นขึ้นและช่วยให้ผ่านพ้นช่วงเวลาดังกล่าวไปได้
การคิดแง่บวกและความสามารถในการตั้งรับและแก้ปัญหานี้ไม่ใช่เวทมนต์ที่สามารถป้องกันเราจากโรคซึมเศร้าได้ทันที แต่คุณสมบัติเหล่านี้จะช่วยลดปัจจัยอื่นที่อาจทำให้เกิดปัญหาลงได้