กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ยาบรรเทาอาการไอ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาบรรเทาอาการไอ

อาการไอเกิดได้ทั้งการไอแห้งและไอแบบมีเสมหะ พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับโรคหวัดธรรมดามากที่สุด แต่การไอก็อาจเป็นอาการแสดงของภาวะร้ายแรงได้ เช่น ภาวะหัวใจวาย โรคปอดบวม หรือเกิดจากการจับหืดเฉียบพลัน (exacerbation) ของโรคหืดหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 

อาการไอ เกิดจากอะไร?

ขั้นแรกจริงจำเป็นต้องถูกวินิจฉัยเบื้องต้นว่าสาเหตุของอาการไอนั้นเกิดจากสาเหตุที่รุนแรง หรือเป็นเพียงการติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน (โรคหวัดธรรมดา) อาจเกิดจากจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ โรคกรดไหลย้อน การสูบบุหรี่ หรือประกอบอาชีพที่มีการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจก็ก่อให้เกิดอาการไอได้เช่นเดียวกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

ยาสำหรับบรรเทาอาการไอ

สามารถแบ่งยาตามกลไกการออกฤทธิ์ได้ สามกลุ่ม คือ ยากลุ่มกดอาการไอ ยากลุ่มขับเสมหะ และยากลุ่มละลายเสมหะ

1. ยากลุ่มกดอาการไอ (antitussive)

ตัวยาในกลุ่มนี้คือ เดกซ์โตรมีทอแฟน (dextromethorphan) เป็นยากดอาการไอที่ไม่ใช่สารเสพติด มีความแรงในการกดการไอเทียบเท่ากันกับโคเดอีน มีข้อบ่งใช้สำหรับการไอชนิดไม่มีเสมหะและบรรเทาอาการไอชั่วคราวที่เกิดจากการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ไม่ใช้ยานี้เพื่อกดอาการไอ้ต่อเนื่องหรือการไอเรื้อรัง เช่น การไอที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ถุงลมโป่งพอง โรคหืด ตัวยามีทั้งรูปแบบยาเม็ดและยาอม สำหรับผู้ใหญ่ ไม่รับประทานยาในรูปแบบเม็ดเกิน 120 มิลลิกรัมต่อวัน และไม่อมยาอมที่มีส่วนผสมของเดกซ์โตรมีทอแฟนเกิน 10 เม็ดต่อวัน ยาอีกตัวหนึ่งที่มีฤทธิ์กดอาการไอ คือยาโคเดอีน (codeine) แต่ไม่สามารถจำหน่ายในร้านขายยาได้เนื่องจากเป็นสารเสพติดให้โทษประเภทที่ 3 เฉพาะสถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยค้างคืนเท่านั้นจึงจะมีสิทธิในการจำหน่ายยาโคเดอีน

2. ยากลุ่มขับเสมหะ (expectorant)

ตัวยาในกลุ่มนี้ไม่มีผลการศึกษาทางคลินิกบ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการรักษาอาการไอ ยากลุ่มขับเสมหะมีกลไกลดการยึดเกาะและลดแรงตึงผิวของเสมหะ ทำให้เสมหะมีความข้นหนืดน้อยลง สามารถขับออกมาผ่านระบบทางเดินหายใจส่วนบนได้ง่ายขึ้น การทำให้ทางเดินหายใจโล่งคาดว่าอาจช่วยลดอาการไอได้ แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆเมื่อรับประทานยากลุ่มนี้เนื่องจากน้ำจะช่วยให้เสมหะมีความหนืดลดลง หรือาจใช้ยานี้ร่วมกับยาแก้ไอชนิดอื่น ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ไกวเฟนิซิน (guaifenesin) มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการไอแห้งและไอแบบมีเสมหะใกล้เคียงกัน ไม่ใช้ยานี้เพื่อกดอาการไอ้ต่อเนื่องหรือการไอเรื้อรัง ขนาดยาที่ใช้ในผู้ใหญ่คือ 200 ถึง 400 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง และไม่เกินวันละ 2400 มิลลิกรัม มีการรายงานว่าต้องรับประทานอย่าน้อย 1200 มิลลิกรัมจริงจะเห็นผลในการบรรเทาอาการไอ

3. ยากลุ่มละลายเสมหะ (mucolytic)

ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ที่เสมหะโดยลดความหนืดของเสมหะ และเพิ่มการทำงานของเซลล์ที่ช่วยโบกพัดเสมหะ ทำให้เสมหะขับออกได้ง่ายยิ่งขึ้น ยากลุ่มนี้ใช้สำหรับอาการไอแบบมีเสมหะ ยาในกลุ่มละลายเสมหะ ได้แก่ บรอมเฮกซีน ขนาดรับประทานสำหรับผู้ใหญ่ คือ 8 ถึง 16 มิลลิกรัม วันละสามครั้ง ยาเอมบรอกซอล (ambroxol) ขนาดรับประทานสำหรับผู้ใหญ่ คือ 60 ถึง 120 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งรับประทานวันละสองถึงสามครั้ง อะเซทิลซิสเทอีน (acetylcysteine) มีกลไกในการทำลายโครงสร้างของเสมหะทำให้เสมหะข้นเหนียวน้อยลง มีในรูปแบบของยาอมและยาแบบเม็ดฟู่

4. การบำบัดนอกเหนือจากการใช้ยา

การหลีกเลี่ยงการสัมผัส การสูดรับสารก่อการระคายเคืองเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดในผู้ป่วยที่มีอาการไอจากสารก่อการระคายเคือง การเลิกบุหรี่สามารถช่วยลดอาการไอได้เนื่องจากควันบุหรี่และสารพิษในบุหรี่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจและส่งผลต่อการเกิดโรคในระยะยาว การดื่มน้ำในปริมาณมาก (มากกว่า 8 แก้วต่อวัน) มีผลดีทำให้ร่างกายมีปริมาณน้ำมากพอและอาจช่วยให้เมือกที่ติดในทางเดินหายใจมีความข้นน้อยลง สามารถขับออกมาได้ง่ายขึ้นซึ่งก็จะช่วยลดการระคายเคืองได้ การใช้สเปรย์หรือลูกอมสมุนไพรชะเอมเทศช่วยให้ชุ่มคอสามารถก็สามารถบรรเทาอาการไอได้เช่นเดียวกัน

 

 


25 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chronic Cough: Causes, symptoms, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321597)
Coughs: Causes, symptoms, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/220349)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป