สารพิษ ในที่นี้หมายถึง สารที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายคนเราแล้ว ทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย หรืออาจทำให้เสียชีวิตได้ ผู้ที่จะให้ความช่วยเหลือในระยะแรกไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์เสมอไป แต่ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ตามสมควรเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลผู้ได้รับสารพิษ ไม่เช่นนั้นแทนที่จะเป็นการช่วยเหลือ กลับกลายเป็นการทำให้เกิดความยุ่งยากในการปฐมพยาบาลรักษาต่อไป
การให้การช่วยเหลือระยะแรก มีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้มีการดูดซึมสารพิษเข้าสู่ร่างกาย จนกระทั่งถึงขั้นที่เป็นอันตราย หรือมีจำนวนมากเกินกว่าจะทำการแก้ไขได้ ซึ่งก็สามารถทำได้โดยวิธีการที่ทำให้การดูดซึมลดน้อยลง และการขจัดสารพิษออกจากร่างกาย สำหรับการจะทำอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าเป็นสารพิษที่ได้รับชนิดใด ซึ่งพอจะแยกกล่าได้คร่าว ๆ ดังนี้
1. สารพิษที่ได้รับโดยวิธีรับประทานเข้าไป
ลดการดูดซึม สามารถทำได้โดยการให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ 1 หรือ 2 แก้ว หรืออาจจะใช้น้ำนมแทนน้ำก็ได้ และถ้ามีผงถ่านก็อาจจะให้ผู้ป่วยรับประทานผงถ่านผสมน้ำโดยในผู้ใหญ่ให้ประมาณ 50-100 กรัม ในเด็กให้ 25 กรัมเพื่อระวังไม่ให้ผู้ป่วยเกิดอาการสำลักสูดเอาเศษอาหารเข้าทางเดินหายใจซึ่งจะเป็นอันตรายได้*
- สารพิษชนิดที่เป็นพวกกรดหรือด่าง
- สารพิษชนิดที่เป็นพวกน้ำมันเบนซิน, น้ำมันก๊าด หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปิโตรเลียม
- ผู้ป่วยที่ประวัติว่าชัก เพราะว่าการกระตุ้นให้อาเจียนอาจทำให้ผู้ป่วยชักได้
การล้างท้อง ซึ่งในขั้นตอนนี้คงจะต้องทำในที่มีเครื่องเมือพอเพียง เช่น ที่โรงพยาบาล วิธีการทำจะไม่ขอกล่าวในที่นี้
การให้ยาระบาย เพื่อขจัดสารที่ไม่ถูกดูดซึม ให้ออกมาจากร่างกายโดยเร็ว