ออกกำลังกายมากเกินไป ก็ทำให้เป็นอันตรายได้

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ออกกำลังกายมากเกินไป ก็ทำให้เป็นอันตรายได้

การออกกำลังกายเป็นสิ่งดีและมีประโยชน์มาก ทั้งทำให้ร่างกายแข็งแรงและเป็นการเผาผลาญพลังงานทำให้ไม่อ้วน แต่จะให้โทษกับร่างกายทันทีหากเป็นการออกกำลังกายที่มากจนเกินไป

ลักษณะของการออกกำลังกายเกินพอดี

การออกกำลังกายมากไป นอกจากจะหมายถึงการออกกำลังมากเกินกว่าร่างกายจะรับได้แล้ว ยังหมายรวมถึง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
คอร์สลดน้ำหนักออกกำลังกาย วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 441 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ความหนัก ในการออกกำลังกายแต่ละครั้งมากเกินไป เช่น ต้องการเผาผลาญแคลอรีให้ได้มาก จึงเพิ่มความเร็ว ความชันของลู่วิ่งให้มากขึ้นต่อเนื่องและเร็วเกินไป ร่างกายยังมีการปรับเปลี่ยนที่ไม่ดีพอจึงรับไม่ได้
  • มีปริมาณการฝึก จำนวนมากคล้ายกันในแต่ละครั้ง เช่น เต้นแอโรบิกและออกกำลังกายอย่างหนักและต่อเนื่อง 2-3 อย่างในครั้งเดียว
  • ความถี่ ของการออกกำลังกายมากเกินไป ไม่มีเวลาพักผ่อนหลังการฝึก ซึ่งปกติจะขึ้นอยู่กับปริมาณ และความหนักของการออกกำลังกาย

สัญญาณเตือนว่าร่างกายไม่ไหวแล้ว

  1. รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง หรือไม่กระปรี้กระเปร่า
  2. ภูมิคุ้มกันลดลง เนื่องจากจากการใช้พลังงานในร่างกายมากเกินไป อาจจะหักโหมหรือออกนานมากจนเกินกำลัง และพักผ่อนไม่เพียงพอ
  3. อารมณ์ไม่แจ่มใส หดหู่ ไม่เบิกบาน ไม่อยากทำแต่เพราะมองว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องจำเป็น จึงต้องทำ สุดท้ายก็กดดันตัวเองให้ทำ มากกว่าจะมองว่าคือการผ่อนคลาย
  4. นอนไม่หลับ มีเรื่องให้คิด กังวลใจ หรือจิตใจไม่สงบ ร่างกายรู้สึกตื่นตัวตลอดเวลา
  5. มีอารมณ์แปรปรวน ไม่มั่นคง หงุดหงิดงุ่นง่าน เบื่อหน่ายมากขึ้น
  6. รู้สึกปวดเมื่อย ทรมานไปทั้งตัว หรือเป็นเฉพาะส่วนที่ออกกำลังกายอย่างหนัก อีกทั้งส่วนที่สึกหรอหรือบาดเจ็บนั้น ไม่ได้รับการเยียวยารักษา หรือซ่อมแซม ก็เลยเป็นมากขึ้นหรือลุกลามมากขึ้น
  7. มีอาการกระหายน้ำมากจนผิดปกติ รู้สึกเหนื่อยล้าและเหนื่อยมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจเป็นลมหมดสติได้

โทษของการออกกำลังกายมากเกินไป

  1. ร่างกายจะมีความผิดปกติ หากเป็นในวัยเด็กจะไม่เจริญเติบโต หรือเติบโตไม่เต็มที่ หรือหยุดการเจริญเติบโตไปเลย
  2. รูปร่างภายนอกของคนออกกำลังกายมากเกินไปอาจดูดี แต่ระบบร่างกายภายในกลับแปรปรวน เช่น ประจำเดือนขาด หรือมาแบบไม่สม่ำเสมอ อวัยวะภายในร่างกายทำงานมากจนผิดปกติ
  3. ในกรณีที่ทานโปรตีน หรือเวย์โปรตีนควบคู่กันไปกับการออกกำลังกาย หากไม่สามารถควบคุมสารอาหารให้มีความสมดุลกันได้ อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร หรืออาจรับโปรตีนมากเกินไป ส่งผลให้ตับ และไตทำงานหนักอีกด้วย
  4. กล้ามเนื้อบริเวณที่ออกกำลังกายอาจเกิดอาการบาดเจ็บได้หากเกิดอาการแล้วไม่แก้ไขหรือไม่หยุดทำการรักษา อาจถึงขั้นพิการ และใช้งานไม่ได้ไปเลยตลอดชีวิต เช่น กล้ามเนื้อหัวไหล่ นิ้วมือ ข้อศอก เข่า ข้อเท้า เอ็นร้อยหวาย เป็นต้น
  5. หากไม่ได้รับการตรวจร่างกายก่อนออกกำลังกาย และมีความเข้าใจว่าตัวเองไม่ได้มีความผิดปกติ หรือมีโรคภัยอะไรร้ายแรง แล้วไปหักโหมออกกำลังกายอย่างหนัก อาจจะเป็นการกระตุ้นให้โรคนั้นๆ กำเริบเร็วขึ้นจนมีอาการทรุดหนัก เช่น โรคหัวใจ เป็นต้น

จากโทษข้างต้นของการออกกำลังกายดูแล้วก็น่ากลัวเหมือนกัน ดังนั้นสิ่งที่ควรทำในการออกกำลังกายก็คือออกแต่พอดี ในระดับที่เหมาะสมกับร่างกาย วัย และอายุของเรา นอกจากนี้ก็ยังต้องรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ อย่าทานแต่อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นเวลานานๆเพราะอาจได้สารอาหารที่ไม่ครบ จึงควรทานชนิดอื่นบ้าง เพื่อที่จะให้ได้สารอาหารที่หลากหลาย อีกทั้งควรพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อที่จะได้มีแรง และพลังงานมาใช้ในการออกกำลังกายต่อไป และถ้าเกิดอาการผิดปกติเมื่อไร ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที เท่านี้ก็จะทำให้ออกกำลังกายอย่างมีความสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอย่างแท้จริง


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Are you getting too much exercise?. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000807.htm)
Fitness and lifespan: Is too much exercise harmful?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323420)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ค่าการเต้นของหัวใจสูงสุด - ทำความเข้าใจค่าการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ
ค่าการเต้นของหัวใจสูงสุด - ทำความเข้าใจค่าการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ

ค่าอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดสำคัญอย่างไร คำนวณค่าของตัวเองอย่างไร และนำไปคำนวณค่าระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกายอย่างไร

อ่านเพิ่ม
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ

อัตราการเต้นของหัวใจคืออะไร สำคัญอย่างไร ค่าอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมในช่วงปกติและขณะออกกำลังกายของแต่ละช่วงวัยคือเท่าไร

อ่านเพิ่ม
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด

ความทนแทนแบบแอโรบิกของคุณคืออะไร

อ่านเพิ่ม