วีรวรรณ ภิญญรัตน์
เขียนโดย
วีรวรรณ ภิญญรัตน์
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ThinPrep Pap Test นวัตกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี ThinPrep Pap Test ซึ่งให้ผลแม่นยำกว่าการตรวจแปปสเมียร์ดั้งเดิม
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ThinPrep Pap Test นวัตกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การตรวจ ThinPrep Pap Test คือ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของเหลว สามารถค้นหาเซลล์มะเร็งระยะแรกเริ่มได้ดีกว่าการตรวจแปปสเมียร์แบบดั้งเดิมถึง 65%
  • การตรวจ ThinPrep Pap Test ใช้เวลาตรวจประมาณ 15-20 นาที และรู้ผลภายใน 3 สัปดาห์หลังวันเก็บตัวอย่างเซลล์
  • การตรวจ ThinPrep Pap Test มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการตรวจแปปสเมียร์แบบดั้งเดิม
  • ควรเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป และตรวจซ้ำทุกๆ 2-3 ปี
  • ผู้หญิงที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อไปนี้ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งได้แก่ เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว มีคู่นอนหลายคน มีตกขาวผิดปกติ มีเลือดออกผิดปกติ วัยหมดประจำเดือน และผู้ที่มีพฤติกรรมหรือโรคประจำตัวที่ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ เช่น สูบบุหรี่ เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง

ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติระบุว่า มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer) เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของหญิงไทย รองจากมะเร็งเต้านม (พ.ศ. 2558) 

ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ทราบว่าเป็นโรคนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากเท่ารักษามะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีตรวจคัดกรองที่รู้จักกันดี ได้แก่ การตรวจแปปสเมียร์ (Pap smear test) ซึ่งเป็นการตรวจดูเซลล์ผิดปกติที่อาจเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็งต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม การตรวจแปปสเมียร์นั้นสามารถให้ผลลบลวงได้ เนื่องจากบางครั้งตัวอย่างสิ่งส่งตรวจอาจซ้อนทับกัน มีเลือด หรือมูกปนเปื้อน ทำให้เมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วไม่เห็นความผิดปกติ

อ่านเพิ่มเติม: การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแปปสเมียร์ (Pap Smear)

ปัจจุบันมีวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของเหลว (Liquid-based cytology: LBC) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ตินเพร็พ แป๊บ เทสต์ (ThinPrep Pap Test หรือ Cy-Prep) เรียกตามยี่ห้อน้ำยาที่ใช้ตรวจ 

วิธีนี้สามารถเก็บตัวอย่างเซลล์ได้มากขึ้น ชัดขึ้น ทำให้สามารถค้นหาเซลล์มะเร็งระยะแรกเริ่มได้ดีกว่าการตรวจแปปสเมียร์แบบดั้งเดิมถึง 65%

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539) การตรวจ ThinPrep Pap Test ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาว่า เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบมาตรฐานอีกวิธีหนึ่ง นอกเหนือจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแปปสเมียร์ดั้งเดิม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ขั้นตอนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบ ThinPrep Pap Test

การตรวจ ThinPrep Pap Test  มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. แพทย์ใช้แปรงขนาดเล็กเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกของผู้รับการตรวจ
  2. ถอดหัวแปรงใส่ลงในน้ำยารักษาสภาพเซลล์ ซึ่งจะทำให้ได้ตัวอย่างเซลล์ครบถ้วน
  3. นำเข้าเครื่องเตรียมเซลล์บนสไลด์อัตโนมัติ กระบวนการนี้จะมีการกำจัดสิ่งปนเปื้อนต่างๆ เช่น มูก เลือด และทำให้เซลล์กระจายพอเหมาะ เรียงตัวอย่างสม่ำเสมอ ไม่ซ้อนทับหนาแน่นเกินไป 
  4. แพทย์ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างเซลล์
  5. แปลผลการตรวจ

ตรวจนานหรือไม่ นานแค่ไหนถึงรู้ผล?

ใช้เวลาตรวจประมาณ 15-20 นาที และรู้ผลภายใน 3 สัปดาห์หลังวันเก็บตัวอย่างเซลล์

ข้อดีของการตรวจ ThinPrep Pap Test เทียบกับการตรวจแปปสเมียร์ดั้งเดิม

ความจริงแล้วทั้งการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบแปปสเมียร์และแบบ LBC หรือที่รู้จักกันในชื่อ ThinPrep Pap Test นั้นเป็นการตรวจที่เป็นมาตรฐาน แต่การตรวจแบบหลังเป็นวิธีที่ใหม่กว่า และมีข้อที่เหนือกว่าการตรวจคัดกรองแบบแปปสเมียร์ดังนี้

  • เก็บตัวอย่างเซลล์ได้มากกว่า ลดปัญหาการเก็บตัวอย่างมาไม่เพียงพอสำหรับตรวจวิเคราะห์
  • ในกระบวนการตรวจ มูกและเลือดจะถูกกำจัดออกไป ลดปัญหาสิ่งบดบังเซลล์ ทำให้เห็นตัวอย่างเซลล์ชัดเจนขึ้น 
  • ลดอัตราการเกิดผลลบลวง
  • นักเซลล์วิทยาใช้เวลาแปลผลสั้นกว่า
  • สามารถนำสิ่งส่งตรวจที่เป็นของเหลวไปตรวจหาเชื้อ HPV ต่อได้ ไม่ต้องเก็บตัวอย่างซ้ำ

ข้อเสียของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบ ThinPrep Pap Test

ค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกวิธีนี้สูงกว่าการตรวจแปปสเมียร์แบบดั้งเดิม

ควรเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเมื่ออายุเท่าไร บ่อยแค่ไหน?

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีตรวจเซลล์วิทยา ทั้งแบบแปปสเมียร์ดั้งเดิมและ Liquid-based cytology ดังนี้

  • ควรเริ่มตรวจเมื่ออายุ 30 ปี และตรวจซ้ำทุกๆ 2-3 ปี
  • หากตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแล้วไม่พบความผิดปกติติดต่อกัน 3 ครั้ง ไม่มีรอยโรคที่ปากมดลูกในระยะก่อนเป็นมะเร็ง (Cervical Intraepithelial Neoplasia: CIN) ไม่มีประวัติได้รับการรักษามะเร็งปากมดลูก และไม่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจเว้นระยะการตรวจซ้ำออกเป็นทุกๆ 3-5 ปี
  • ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 65 ปี ที่ 10 ก่อนหน้านั้นตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆ และผลตรวจไม่พบความผิดปกติติดต่อกัน 3 ครั้ง สามารถหยุดตรวจได้ ยกเว้นว่ายังมีเพศสัมพันธ์หรือมีคู่นอนหลายคน ควรตรวจคัดกรองต่อไปตามปกติ
  • ผู้หญิงที่ตรวจพบว่ามีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Severe combined immunodeficiency disease: SCID) ใน 1 ปีแรกควรรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 6 เดือน หลังจากนั้นควรตรวจคัดกรองปีละ 1 ครั้ง
  • ผู้หญิงที่ตัดมดลูกพร้อมกับปากมดลูกออกแล้ว และไม่มีประวัติเป็นมะเร็งปากมดลูก ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรอง (แต่ควรรับการตรวจภายในเพื่อหาโรคทางนรีเวชอื่นๆ)
  • ผู้หญิงที่เคยรักษามะเร็งปากมดลูก หรือรอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูก ยังคงมีความเสี่ยงสูงต่อการกลับเป็นซ้ำ จึงควรตรวจติดตามตามความถี่ที่แพทย์กำหนด และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกปีจนครบ 20 ปี

อ่านเพิ่มเติม: รู้ก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ใครบ้างเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจ

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก มีดังนี้

  • ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
  • ผู้หญิงทั่วไปที่มีเพศสัมพันธ์
  • ผู้หญิงที่มีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีคู่นอนหลายคน
  • ผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มตรวจเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงที่มีพฤติกรรม หรือโรคประจำตัวที่ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ เช่น สูบบุหรี่ เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ฯลฯ
  • ผู้หญิงที่มีตกขาวผิดปกติ หรือมีเลือดออกผิดปกติ
  • ผุ้หญิงที่เว้นว่างการตรวจมาระยะหนึ่ง
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

เตรียมตัวอย่างไร ก่อนตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

มีข้อแนะนำและข้อห้ามที่คุณควรทราบ เพื่อให้การตรวจเป็นไปอย่างราบรื่นและให้ผลแม่นยำที่สุด ดังนี้

  • ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน หรือตรวจช่วง 5-7 วันหลังประจำเดือนหมด
  • ห้ามใช้ยาเหน็บช่องคลอด ครีม เจลหล่อลื่น หรือยาฆ่าเชื้ออสุจิในช่องคลอด ก่อนการตรวจ 48 ชั่วโมง
  • ห้ามสวนล้างช่องคลอด หรือมีเพศสัมพันธ์ก่อนการตรวจ 48 ชั่วโมง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบ ThinPrep Pap Test

1. เพิ่งมีเพศสัมพันธ์ สามารถตรวจคัดกรองแบบ ThinPrep ได้หรือไม่?

คำตอบ: ห้ามมีเพศสัมพันธ์ก่อนการตรวจ 48 ชั่วโมง

2. เคยฉีดวัคซีน HPV แล้ว ยังจำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือไม่?

คำตอบ: ควรตรวจ เนื่องจากวัคซีนไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัส HPV ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ทุกสายพันธ์ุ

มะเร็งปากมดลูกแม้จะเป็นโรคร้าย แต่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบเร็วตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ผู้หญิงทุกคนจึงควรเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยจากโรคนี้แน่

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ตรวจภายใน คัดกรองมะเร็งปากมดลูก ThinPrep ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall
ฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ไม่เจ็บอย่างที่คิด | HDmall
รีวิวตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตรวจหาเชื้อ HPV และอัลตราซาวด์หาเนื้องอกมดลูกและรังไข่ ที่โรงพยาบาลพญาไท 3 | HDmall

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
วัคซีนมะเร็งปากมดลูก สำคัญอย่างไร ฉีดกี่เข็ม?, (https://hdmall.co.th/c/hpv-vaccine).
การเตรียมตัวก่อนตรวจภายใน และมะเร็งปากมดลูก, (https://hdmall.co.th/c/how-to-prepare-for-cervical-cancer-screening).
ตรวจภายใน เจ็บไหม ทำยังไงบ้าง? อ่านสรุปที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/pelvic-exam).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
6 สิ่งที่ผู้หญิงมักทำผิดพลาดเป็นประจำในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
6 สิ่งที่ผู้หญิงมักทำผิดพลาดเป็นประจำในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

สิ่งที่คุณต้องทำก่อน ระหว่าง และหลังจากตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแล้ว

อ่านเพิ่ม
มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer)
มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer)

รู้จักมะเร็งปากมดลูกในทุกแง่มุม ทั้งสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง วิธีการรักษา ทำความเข้าใจและป้องกันก่อนจะสายเกินไป

อ่านเพิ่ม