การลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ (Reducing the risks of developing Heart Disease)

การลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ (Reducing the risks of developing Heart Disease)
เผยแพร่ครั้งแรก 17 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ (Reducing the risks of developing Heart Disease)

เราสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ หากหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในบทความนี้

โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นกลุ่มโรคที่หลายคนคงทราบกันดีว่ามีความอันตรายถึงชีวิต และมักจะมีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้มากมายถึงแม้ผู้ป่วยหลายรายจะมีการรักษาสุขภาพสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอแล้วก็ตาม 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Disease) หมายถึงโรคทั้งหมดที่เกิดกับหัวใจและการไหลเวียนโลหิต ซึ่งยังรวมไปถึงโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease)

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease (CHD)) หรือโรคหัวใจ เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ สาเหตุการเกิดโรคหัวใจมาจากหลอดเลือดแดงของหัวใจที่เกิดการตีบตันจนไม่สามารถลำเลียงเลือดไปยังหัวใจได้เพียงพอ จนทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย (Heart Attack) หรือเจ็บแน่นหน้าอก (Angina)

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ

ส่วนมากแล้ว โรคหัวใจมักเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หากไม่รู้จักวิธีดูแลตัวเอง และหากไปละเลยไม่ไปพบแพทย์ ดังนั้น วิธีการป้องกันการเกิดโรคหัวใจที่ดีที่สุด คือการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังนี้

  • การสูบบุหรี่ : การสูบบุหรี่จะสร้างความเสียหายให้กับร่างกาย ดังนี้
    • ทำให้โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ทรุดลง
    • ทำให้ผนังหลอดเลือดที่ควรจะเรียบลื่นหยาบมากขึ้น จนก่อให้เกิดการสะสมกันของสารไขมันภายในหลอดเลือด
    • เพิ่มปริมาณ Fibrinogen ในเลือด (สารเพิ่มความข้นของเลือด) และทำให้เลือดเหนียวข้นมาก ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดก่อตัวกัน ทำให้เกิดภาวะหัวใจวายและหลอดเลือดสมอง
    • เพิ่มความดันโลหิตและเร่งการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจมากขึ้น
    • เพิ่มโอกาสเกิดโรคหัวใจ, หลอดเลือดสมอง, และมะเร็งหลายชนิด
    • ทำลายปอด ทำให้เกิดโรคปอดเรื้อรัง
  • การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ : โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล และเกลือสูง โดยที่ไม่ได้รับประทานผักและผลไม้เลย
  • การมีน้ำหนักร่างกายมากเกิน : ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ดังนี้
    • หัวใจต้องทำงานขึ้น
    • เสี่ยงต่อการมีภาวะความดันโลหิตสูง
    • ทำให้มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
    • มีความเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน, โรคระบบทางเดินหายใจ, ปัญหาถุงน้ำดี, และมะเร็งบางชนิด
  • การบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินไป : การดื่มมากเกินไป จะส่งผลต่อความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลในโลหิต และยังอาจทำให้มีน้ำหนักมากขึ้นอีกด้วย
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • การใช้ยาเสพติด : เช่น Cocaine, Amphetamines และ Ecstasy อาจทำให้ความดันโลหิตพุ่งสูงขึ้นจนอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายได้
  • เป็นโรคเบาหวาน : โรคเบาหวานมีความเชื่อมโยงกับโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง และเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อโรคหัวใจ ผู้ที่เป็นเบาหวานจะมีโอกาสเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองมากกว่าคนที่ไม่ได้เป็นเบาหวานตั้งแต่ 2-5 เท่า
  • ประวัติครอบครัว : มีพ่อหรือพี่ชายที่เป็นโรคเหล่านี้ก่อนอายุ 55 ปี หรือมีแม่หรือพี่สาวที่เป็นโรคเหล่านี้ก่อนอายุ 65 ปี
  • อายุ : ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจจะเพิ่มขึ้นตามอายุ
  • ชาติพันธุ์ : ผู้ที่มีเชื้อสายแอฟริกาแคริปเปียนหรือเอเชียใต้จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพิ่มขึ้น
  • เพศ : ผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิง
  • ประเด็นอื่น ๆ เช่น
    • ความดันโลหิต
    • ความเครียด : ความเครียดไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ แต่เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เช่น การสูบบุหรี่, การดื่มสุรา, การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และการไม่ออกกำลังกาย
    • ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Impotence) : ผู้ชายประมาณ 40% ที่มีภาวะนี้ เป็นผลมาจากการสะสมกันของสารไขมันภายในหลอดเลือดแดงที่ขา ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงองคชาติไม่เพียงพอ ส่งผลให้องคชาติไม่แข็งตัวการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ ไม่ได้ลดแค่การเกิดโรคหัวใจเท่านั้น แต่ยังลดการเกิดโรคอื่นๆ และยังช่วยบรรเทาอาการของโรคหัวใจ ในกรณีที่เกิดขึ้นแล้วอีกด้วย

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Coronary heart disease - Prevention. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/coronary-heart-disease/prevention/)
The Impact of Prevention on Reducing the Burden of Cardiovascular Disease. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2494659/)
Heart disease prevention: Strategies to keep your heart healthy. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-disease/in-depth/heart-disease-prevention/art-20046502)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)