กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะตัวเย็นเกิน (Hypothermia)

ภาวะตัวเย็นเกิน เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่อันตรายถึงแก่ชีวิต ควรดูแลตัวเองอย่าให้มีอุณหภูมิต่ำว่า 35°C และควรขอรับความช่วยเหลือทันทีหากสงสัยว่าตัวเองมีภาวะนี้
เผยแพร่ครั้งแรก 6 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 4 ก.พ. 2021 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ภาวะตัวเย็นเกิน (Hypothermia)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะตัวเย็นเกิน (Hypothermia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส
  • อาการของภาวะตัวเย็นเกิน ได้แก่ หนาวสั่นมากผิดปกติ หายใจช้า พูดช้า ซุ่มซ่าม สะดุด หรือสับสน ในผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียอย่างรุนแรง จะมีชีพจรเต้นอ่อน และหมดสติ
  • สาเหตุหลักของการเกิดภาวะตัวเย็นเกิน คืออุณหภูมิที่ลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อร่างกายสัมผัสกับอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำมากๆ เป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อนเร็วกว่าที่ร่างกายผลิตได้
  • ภาวะตัวเย็นเกินจัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ถ้าคุณ หรือคนใกล้ชิดมีอาการที่สงสัยได้ว่า เป็นภาวะตัวเย็นเกิน ให้รีบโทรสายด่วน 1669 หรือรีบพาไปโรงพยาบาลทันที 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

ภาวะตัวเย็นเกิน (Hypothermia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส จัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เพราะจะส่งผลต่อความสามารถในการใช้ความคิดวิเคราะห์ ทำให้ไม่สามารถขอความช่วยเหลือได้ทันท่วงที เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

อาการของภาวะตัวเย็นเกิน

อาการที่พบได้บ่อยของภาวะตัวเย็นเกิน ได้แก่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • หนาวสั่นมากผิดปกติ 
  • ซุ่มซ่าม
  • สะดุด
  • สับสน
  • หายใจช้า 
  • พูดช้า 
  • ชีพจรเต้นอ่อน
  • หมดสติ

สาเหตุของภาวะตัวเย็นเกิน

สาเหตุหลักของการเกิดภาวะตัวเย็นเกิน คืออุณหภูมิที่ลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อร่างกายสัมผัสกับอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำมากๆ เป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อนเร็วกว่าที่ร่างกายผลิตได้ 

เมื่อร่างกายไม่สามารถสร้างความร้อนได้เพียงพอ จึงส่งผลให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะดังกล่าว และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หากไม้ได้รับการช่วยเหลือทางการแพทย์ที่ถูกต้อง

มีหลายปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตัวเย็นเกิน ได้แก่

  • สถานที่พักอาศัย การอาศัยในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นมากบ่อยครั้งจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะสัมผัสกับอากาศเย็นบ่อยครั้งตามไปด้วย
  • อายุ ทารกแรกเกิดและผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะตัวเย็นเกิน เพราะเป็นช่วงวัยที่ความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายจะต่ำกว่าคนทั่วไป
  • การใช้แอลกอฮอล์และยาเสพติด ทำให้ความสามารถในการรับรู้เกี่ยวกับอากาศเย็นผิดปกติไป โดยเฉพาะการดื่มแอลกฮอล์ที่ให้ความรู้สึกลวงว่าภายในร่างกายร้อนขึ้น แต่จริงๆ แล้วแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดขยายตัว และทำให้สูญเสียความร้อนทางผิวหนังมากกว่าเดิม
  • โรคอื่นๆ มีโรคหรือภาวะบางชนิดจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการรักษาอุณหภูมิของร่างกาย หรือความสามารถในการรับรู้ถึงอากาศเย็น ได้แก่
  • ยา ยาต้านเศร้า ยาระงับประสาท และยาต้านโรคจิตบางรายการ จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย
  • ปัญหาทางสุขภาพจิตและโรคสมองเสื่อม โรคจิตเภท (Schizophrenia) และโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (Bipolar Disorder) เป็นโรคที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตัวเย็นเกิน ส่วนโรคสมองเสื่อม (Dementia) มักพบปัญหาในการสื่อสารและปัญหาในการทำความเข้าใจ เช่น การเลือกใส่เสื้อผ้าที่ไม่เหมาะสมกับอากาศเย็น หรือการนั่งอยู่ในที่ๆ อากาศเย็นนานกว่าปกติ

การรักษาภาวะตัวเย็นเกิน

ภาวะตัวเย็นเกินจัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ถ้าคุณ หรือคนใกล้ชิดมีอาการที่สงสัยได้ว่า เป็นภาวะตัวเย็นเกิน ให้รีบโทรสายด่วน 1669 หรือรีบพาไปโรงพยาบาลทันที 

ระหว่างรอรถพยาบาลมารับ หรือระหว่างรอรับการรักษา สามารถปฏิบัติเพื่อบรรเทาอาการได้ดังนี้

  • ดูแลผู้ที่มีอาการด้วยความระมัดระวัง อย่านวดเพื่อพยายามฟื้นฟูการไหลเวียนเลือด ระมัดระวังการเคลื่อนไหวร่างกายที่รุนแรง หรือมากเกินไปจนอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ ควรนำตัวผู้ป่วยออกจากสถานที่ที่มีอากาศเย็นเป็นอันดับแรก 
  • ถอดเสื้อผ้าที่เปียกออก ในกรณีที่มีความจำเป็น อาจต้องใช้วิธีการตัดเสื้อผ้าออกเพื่อหลีกเลี่ยงการขยับตัวผู้ป่วย หลังจากเอาเสื้อผ้าเปียกออกไปแล้วให้ห่มร่างกายด้วยผ้าห่มหนาๆ เพื่อเพิ่มความอบอุ่น หรือใช้ร่างกายของผู้ช่วยให้ความอบอุ่นแทนในกรณีที่ไม่มีผ้าห่มในบริเวณนั้น ถ้าบุคคลที่ช่วยเหลือยังมีสติอยู่ พยายามให้พวกเขารับประทานเครื่องดื่มหรือน้ำซุปอุ่นๆ จะช่วยเพิ่มอุณหภูมิร่างกายได้
  • ประคบอุ่น ด้วยการใช้ขวดน้ำอุ่น หรือผ้าเช็ดตัวอุ่นๆ ประคบที่หน้าอก คอ หรือขาหนีบเท่านั้น อย่าประคบที่แขนหรือขา และอย่าใช้แผ่นให้ความร้อน เพราะการประคบที่บริเวณดังกล่าวจะกระตุ้นให้เลือดที่เย็นไหลเข้าสู่หัวใจ ปอด และสมอง ซึ่งมีโอกาสทำให้เสียชีวิตได้ ส่วนการประคบด้วยอุณหภูมิที่ร้อนเกินไปจะทำให้ผิวหนังไหม้ หรือทำให้หัวใจหยุดเต้นได้
  • สังเกตการหายใจของผู้ป่วย ถ้าพบว่าอัตราการหายใจเหมือนจะช้าลงจนอยู่ในระดับที่เป็นอันตราย หรือหมดสติ ให้รีบทำการช่วยชีวิตด้วยการ CPR ทันที

การรักษาภาวะตัวเย็นเกิน

แพทย์จะรักษาภาวะตัวเย็นเกินอย่างรุนแรง ด้วยการให้สารน้ำอุ่นๆ ซึ่งมักจะเป็นน้ำเกลืออุ่นฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ นอกจากนี้ แพทย์อาจต้องใช้อุปกรณ์พิเศษในการเจาะนำเลือดออกจากร่างกายเพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้เลือด ก่อนนำเลือดกลับเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยอีกครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในบางกรณี อาจมีการเพิ่มอุณหภูมิให้กับทางเดินหายใจ โดยการใช้หน้ากากหรือท่อใส่ทางจมูกเพื่อช่วยหายใจ และอาจมีการเพิ่มอุณหภูมิให้กับกระเพาะอาหารด้วยการปั้มน้ำเกลืออุ่นๆ เข้าไปในกระเพาะอาหาร ซึ่งก็สามารถช่วยรักษาอาการภาวะตัวเย็นเกินได้เช่นกัน

การรักษาพยาบาลทันที เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น

  • เนื้อเยื่อเสียหายจากความเย็นจัด หรือมีการตายของเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดเมื่อเนื้อเยื่อของร่างกายถูกแช่แข็งด้วยความเย็น
  • ความเจ็บปวดที่เกิดจากความเย็นจัด (Chilblains) ทำให้เส้นประสาทและเส้นเลือดได้รับความเสียหาย
  • เกิดเนื้อตาย หรือมีการทำลายของเนื้อเยื่อ
  • ภาวะเท้าเปื่อย เกิดจากเส้นประสาทและเส้นเลือดถูกทำลาย จากการแช่เท้าในน้ำเย็นเป็นเวลานาน

วิธีป้องกันภาวะตัวเย็นเกิน

การป้องกันภาวะตัวเย็นเกิน สามารถปฏิบัติได้ดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำเป็นเวลานาน และสวมเสื้อผ้าที่กันน้ำในช่วงที่มีฝนตก ถ้าตกน้ำจากอุบัติเหตุ เมื่อได้รับการช่วยเหลือแล้ว รีบทำตัวให้แห้งเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • การสวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ วันที่มีอากาศเย็นให้สวมเสื้อกันหนาว แนะนำให้สวมเสื้อกันหนาวปกคลุมทุกส่วนของร่างกาย และดูแลตนเองเป็นพิเศษหากต้องออกกำลังกายกลางแจ้งในวันที่มีอากาศเย็น เพราะเหงื่อจะทำให้ร่างกายเย็นขึ้น อาจทำให้มีโอกาสเกิดภาวะตัวเย็นเกินได้มากกว่าปกติ

ภาวะตัวเย็นเกินเกิดจากอุณหภูมิร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว การสวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่เย็นจัด รักษาอุณหภูมิร่างกายให้เหมาะสม จะช่วยป้องกันภาวะนี้ได้

อย่างไรก็ตาม หากคุณเป็นโรคที่อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการรักษาอุณหภูมิของร่างกาย หรือความสามารถในการรับรู้ถึงอากาศเย็น เช่น โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป โรคข้ออักเสบ โรคพาร์กินสัน หรือภาวะขาดน้ำ ก็ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ และตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android 


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Kristeen Moore, What Causes Hypothermia? (https://www.healthline.com/symptom/hypothermia), March 4, 2016.
Hypothermia. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/hypothermia/)
What Is Hypothermia? Symptoms, Signs, Protocol & Treatment. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/hypothermia_extended_exposure_to_cold/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี

ร้อยพันประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ อ่านสักนิด คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน

อ่านเพิ่ม
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม