ภาวะเบื่ออาหาร (Anorexia)

ภาวะเบื่ออาหาร เกิดได้จากสาเหตุใดบ้าง และทำอย่างไร เพื่อให้กลับมารับประทานอาหารได้อีกครั้ง?
เผยแพร่ครั้งแรก 7 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ภาวะเบื่ออาหาร (Anorexia)

ภาพรวมของภาวะเบื่ออาหาร

ภาวะเบื่ออาหาร คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่อยากรับประทานอาหารใดๆ หรือสูญเสียความสนใจในอาหาร ที่เกิดจากภาวะผิดปกติทางสุขภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สาเหตุของภาวะเบื่ออาหาร

ภาวะเบื่ออาหาร เป็นภาวะที่สามารถพบได้บ่อย มักจะเกิดจากความผิดปกติทางสุขภาพจึงทำให้ความอยากอาหารหายไป โดยสาเหตุของภาวะเบื่ออาหารที่สามารถพบได้บ่อย ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • โรคซึมเศร้า (Depression) : ในช่วงที่มีอาการซึมเศร้า ผู้ป่วยมักจะไม่สนใจอาหารหรือลืมรับประทานอาหารให้ตรงมื้อ ทำให้น้ำหนักผู้ป่วยลดลง ซูบผอม และขาดสารอาหารที่จำเป็น ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยบางคนอาจรับประทานอาหารมากเกินจำเป็นในระยะที่เป็นโรคซึมเศร้า
  • โรคมะเร็ง : มะเร็งระยะลุกลามสามารถทำให้ความอยากอาหารลดลงได้ เมื่อเข้าสู่มะเร็งระยะสุดท้าย ร่างกายจะเริ่มเก็บพลังงานไว้ไม่นำออกมาใช้ ทำให้ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมอาหารและของเหลวได้อย่างดีเช่นเคย จึงทำให้รู้สึกเบื่ออาหาร นอกจากนี้ ผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษามะเร็งชนิดต่างๆ เช่น การได้รับรังสีรักษาและเคมีบำบัดอาจส่งผลต่อความอยากอาหารได้อีกด้วย
  • โรคตับอักเสบซี (Hepatitis C) : การติดเชื้อนี้เกิดจากไวรัสตับอักเสบซี หากไม่รีบรักษาอาจทำให้ตับเกิดความเสียหายรุนแรง ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียนซึ่งมีผลต่อความอยากอาหาร ไม่ใช่แค่ไวรัสตับอักเสบซีเท่านั้น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดอื่นๆ ก็สามารถทำให้เบื่ออาหารได้เช่นเดียวกัน
  • โรคไตวาย (Kidney failure) : ผู้ป่วยโรคไตวายมักจะเกิดอาการที่เรียกว่า ยูรีเมีย (Uremia) คือภาวะที่มีโปรตีนส่วนเกินในเลือดมากเกินไป ภาวะนี้สามารถทำให้ผู้ป่วยไตวายรู้สึกคลื่นไส้และไม่อยากทานอาหาร บางครั้งก็ทำให้รับรสชาติอาหารเดิมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงทำให้รู้สีกเบื่ออาหาร
  • โรคหัวใจล้มเหลว (Heart failure) : ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวสามารถสูญเสียความอยากอาหารได้เช่นกันเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงระบบทางเดินอาหารได้น้อยลง ทำให้เกิดปัญหากับการย่อยอาหาร ภาวะดังกล่าวอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกทรมานและไม่อยากทานอาหารใดๆ
  • การติดเชื้อเอชไอวี / โรคเอดส์ (HIV/AIDS) : ภาวะเบื่ออาหารเป็นหนึ่งในอาการของการติดเชื้อเอชไอวีที่พบได้ทั่วไป รวมถึงในผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้าย ทั้งสองโรคนี้มักทำให้เกิดแผลเจ็บปวดตามปากและลิ้น ทำให้ผู้ป่วยบางคนไม่อยากทานอาหาร หรือเบื่ออาหารไปเลยโดยสิ้นเชิง
  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) : ผู้ป่วยหลายคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์มักมีอาการเบื่ออาหาร เนื่องจากบางคนอยู่ในช่วงภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ โรคอัลไซเมอร์ยังทำให้ผู้ป่วยสื่อสารถึงความเจ็บปวดของตนเองได้ลำบาก เป็นผลให้ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดในช่องปากหรือกลืนลำบาก ไม่ได้รับการรักษา และนำมาสู่ภาวะเบื่ออาหารต่อไป

วิธีรับประทานอาหารแบบง่ายๆ ในขณะที่คุณมีภาวะเบื่ออาหาร

ภาวะเบื่ออาหารอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การสูญเสียน้ำหนักตัวโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือโรคขาดสารอาหาร (Malnutrition) แม้ว่าคุณจะไม่รู้สึกหิวหรือไม่อยากทานอาหารใดๆ แต่ก็ควรพยายามรักษาน้ำหนักตัวที่เหมาะสม และได้รับสารอาหารเพียงพอเข้าสู่ร่างกายของคุณ โดยใช้วิธีต่อไปนี้

  • แบ่งอาหารออกเป็นมื้อเล็กๆ วันละ 5-6 มื้อ แทนการรับประทาน 3 มื้อที่อาจทำให้อิ่มเกินไป
  • จดจำเวลาคุณรู้สึกหิวมากที่สุดและรับประทานซ้ำในเวลานั้นทุกวัน
  • รับประทานขนมขบเคี้ยวที่มีแคลอรี่และโปรตีนสูงทุกครั้งที่รู้สึกหิว เช่น ผลไม้แห้ง โยเกิร์ต ถั่ว เนยถั่ว เนยแข็ง ไข่ ธัญพืชแบบแท่ง เป็นต้น
  • รับประทานอาหารในสิ่งแวดล้อมที่ผ่อนคลายและสบายใจ
  • รับประทานอาหารอ่อน เช่น มันบดหรือข้าวต้ม ในกรณีที่คุณเบื่ออาหารเนื่องจากเจ็บปวดในปาก
  • ใส่เครื่องเทศหรือซอสเพิ่มขึ้น เพื่อให้น่ารับประทานและเพิ่มพลังงานมากขึ้น
  • ดื่มน้ำหลังรับประทานอาหารเสร็จ เพื่อไม่ให้อิ่มเร็วเกินไป
  • ปรึกษานักโภชนาการเพื่อวางแผนมื้ออาหารที่เหมาะสมให้กับคุณ

เมื่อใดควรเข้าพบแพทย์หากมีอาการเบื่ออาหาร

ไม่ใช่เรื่องผิดปกติหากคุณมีอาการเบื่ออาหารเป็นครั้งคราว แต่ถ้าภาวะเบื่ออาหารทำให้น้ำหนักตัวคุณลดลงไปมาก หรือมีสัญญาณของโรคขาดสารอาหาร เช่น อ่อนแรง ปวดศีรษะ หรือเวียนศีรษะ คุณควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะการขาดสารอาหารจะทำให้ร่างกายของคุณทำงานได้ไม่ดีเช่นเคย และอาจทำให้สูญเสียมวลกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย

เนื่องจากอาการเบื่ออาหาสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แพทย์จึงอาจถามคำถามหลายข้อเกี่ยวกับสุขภาพปัจจุบันของคุณ เช่น

  • คุณกำลังรับประทานยาใดอยู่หรือไม่ และรับประทานเพื่อรักษาโรคอะไร
  • น้ำหนักของคุณเมื่อเร็วๆ นี้มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
  • เคยเกิดอาการเบื่ออาหารมาก่อนหรือเปล่า
  • ก่อนหน้านี้มีเหตุการณ์อะไรบ้างที่ทำให้คุณอารมณ์เสีย

การตรวจเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพเอกซเรย์ การทำเอ็มอาร์ไอ จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยอาการได้แม่นยำขึ้น เพราะการตรวจดังกล่าวสามารถตรวจสอบบริเวณที่มีการอักเสบ หรือมีเซลล์มะเร็งได้ ในบางครั้งแพทย์อาจเจาะเลือดหรือตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจการทำงานของตับและไตเพื่อดูว่ามีความผิดปกติหรือไม่

แนวโน้มของภาวะเบื่ออาหารในอนาคต

การรักษาภาวะเบื่ออาหารที่ดีที่สุด คือการจัดการสาเหตุของอาการเบื่ออาหาร นอกจากนี้แพทย์อาจแนะนำให้ปรึกษานักโภชนาการ เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนอาหารและโภชนาการที่เหมาะสม แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น คุณอาจปรึกษากับแพทย์เพื่อขอยาสเตียรอยด์สำหรับกระตุ้นความอยากอาหารได้

ที่มาของข้อมูล

Valencia Higuera, Anorexia (Loss of Appetite) (https://www.healthline.com/health/anorexia), December 13, 2016.


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
8 สาเหตุที่ทำให้คุณเบื่ออาหาร
8 สาเหตุที่ทำให้คุณเบื่ออาหาร

เบื่ออาหารเกิดจากอะไร โรคไหน หรือความผิดปกติอะไรที่ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารบ้าง

อ่านเพิ่ม