กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อาการเจ็บหน้าอกนี้ เป็นโรคหัวใจ หรือกรดไหลย้อน

อาการเจ็บหน้าอกเกิดจากอะไร? อ่านสาเหตุและโรคเสี่ยงจากการเจ็บหน้าอกพร้อมวิธีรักษา
เผยแพร่ครั้งแรก 21 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 3 พ.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการเจ็บหน้าอกนี้ เป็นโรคหัวใจ หรือกรดไหลย้อน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการเจ็บหน้าอกอาจทำให้เกิดความกังวลใจว่า "จะมีโรคเกี่ยวกับหัวใจหรือไม่" แต่ในความเป็นจริงอาการดังกล่าวยังสามารถพบได้โรคกรดไหลย้อน ดังนั้นหากสามารถแยกอาการของโรคทั้งสองออกจากกันได้ก็จะเป็นประโยชน์
  • อาการปวดทั้ง 2 แบบนั้น เป็นการปวดที่อยู่ด้านหลังกระดูกหน้าอกเหมือนกัน จึงทำให้การใช้ตำแหน่งเพื่อแยกอาการปวดออกจากกันทำได้ยาก ต้องสังเกตว่า "เวลาปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ความรุนแรงของอาการลดลง หรือเพิ่มขึ้น"
  • อาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด เช่น มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง จุกๆ แน่นๆ เหมือนถูกกด รัด หรือบีบ ปวดร้าวไปที่บริเวณไหล่ แขน โดยเฉพาะไหล่และแขนซ้ายด้านในรวมทั้งอาจเจ็บขณะพักนานกว่า 20 นาที แม้แต่พักแล้ว อาการก็ยังไม่ดีขึ้น
  • อาการเจ็บหน้าอกจากโรคกรดไหลย้อน เช่น มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงเวลาที่หายใจลึกๆ หรือไอ แต่ไม่ปวดร้าวไปบริเวณที่ไหล่ แขน หรือขากรรไกร รู้สึกแน่นหน้าอก เหมือนอาหารไม่ย่อย
  • นอกจากโรคกรดไหลย้อนแล้ว อาการเจ็บหน้าอกยังอาจบ่งถึงโรคอื่นๆ ได้ เช่น ลิ่มเลือดอุดตันในปอด โรคหอบ กระดูกอ่อนที่หน้าอกอักเสบ หากรู้สึกทรมานมาก หรือไม่แน่ใจว่าเป็นอะไร ควรรีบไปพบแพทย์ 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ

อาการเจ็บหน้าอกอาจทำให้คุณเป็นกังวลว่า "เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ หรือไม่" แต่ในความจริงแล้ว เจ็บหน้าอกยังเป็นอาการหนึ่งที่พบได้บ่อยในโรคกรดไหลย้อนด้วย

ดังนั้นการรู้วิธีแยกอาการเจ็บหน้าอกจะสามารถช่วยให้คุณคลายความกังวลได้ หากทราบว่า เป็นการเจ็บหน้าอกจาก "กรดไหลย้อน" จะได้รักษาได้อย่างถูกต้อง หรือหากเป็นอาการเจ็บหน้าอกจาก "โรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน" ก็จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ตำแหน่งของอาการ

อาการปวดทั้ง 2 แบบนั้น เป็นการปวดที่อยู่ด้านหลังกระดูกหน้าอก จึงทำให้การใช้ตำแหน่งเพื่อแยกอาการปวดทั้ง 2 ออกจากกันทำได้ยาก ต้องลองสังเกตอาการเจ็บหน้าอกว่า เวลาคุณปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ความรุนแรงของอาการลดลง หรือเพิ่มขึ้น 

อาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด 

อาการมักจะปวดร้าวไปที่อื่น เช่น คาง ไหล่ หรือแขนร่วมด้วย อาการเจ็บประมาณ 5-10 นาที ดีขึ้นเมื่อหยุดพัก หรืออมยาอมใต้ลิ้น แต่หากเป็นโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจะมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง หรือเจ็บขณะพักนานกว่า 20 นาที แม้แต่พักแล้ว อาการก็ยังไม่ดีขึ้น 

อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากโรคกรดไหลย้อน

อาการมักจะรู้สึกดีขึ้นเวลาที่เปลี่ยนท่าเป็นท่านั่ง หรือยืน ในขณะที่การงอตัว หรือนอนราบนั้นจะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากรับประทานอาหาร ไม่มีอาการปวดร้าวไปอวัยวะอื่นๆ มักสัมพันธ์กับภาวะอาหารไม่ย่อย 

ดังนั้นจึงมักจะมีอาการนานอยู่ช่วงหนึ่งก่อนที่อาการจะหายไป

ความแตกต่างของลักษณะอาการเจ็บหน้าอก

 ลักษณะอาการที่พบในผู้ป่วยโรคหัวใจ 

  • รู้สึกเจ็บกลางหน้าอก จุกๆ แน่นๆ เหมือนถูกกด รัด หรือบีบ ปวดร้าวไปที่บริเวณไหล่ แขน โดยเฉพาะไหล่และแขนซ้ายด้านใน และอาจปวดร้าวไปบริเวณขากรรไกร หรือบริเวณลิ้นปี่
  • มีอาการเหนื่อยร่วมกับหายใจไม่อิ่ม ใจสั่น เหงื่อออก
  • อาการแย่ลงเมื่อทำกิจกรรม อาการอาจหายไปและเป็นซ้ำอีก

ลักษณะอาการที่พบในโรคกรดไหลย้อน 

  • มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงเวลาที่หายใจลึกๆ หรือไอ แต่ไม่ปวดร้าวไปบริเวณที่ไหล่ แขน หรือขากรรไกร 
  • รู้สึกแน่นหน้าอก มีอาการเหมือนอาหารไม่ย่อย
  • มักรู้สึกว่า อาการอยู่ใกล้บริเวณผิวหนังมากกว่าอยู่ข้างในลึกๆ

อาการร่วมอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงโรคหัวใจ ได้แก่

ส่วนอาการปวดที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจนั้นอาจจะมีอาการร่วมอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงโรคกรดไหลย้อน ได้แก่

  • กลืนลำบาก รู้สึกเหมือนมีก้อนจุกที่คอ 
  • เรอ หรือผายลมบ่อยๆ
  • แสบร้อนในคอ อก หรือช่องท้อง
  • รู้สึกเปรี้ยวในปากจากการที่กรดไหลย้อน

โรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้

นอกเหนือจากโรคกรดไหลย้อนแล้วยังมีโรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก โดยที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจอีก เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การมีลิ่มเลือดอุดตันในปอด
  • การอักเสบของตับอ่อน
  • โรคหอบ
  • การอักเสบของกระดูกอ่อนที่หน้าอก
  • การบาดเจ็บของกระดูกซี่โครง หรือมีรอยช้ำ หรือกระดูกหัก
  • กลุ่มอาการที่มีอาการปวดเรื้อรัง เช่น fibromyalgia
  • ความดันโลหิตสูง
  • อาการวิตกกังวล
  • โรคงูสวัด

การวินิจฉัยโรค

เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย หากไม่เคยมีประวัติเป็นโรคกรดไหลย้อนมาก่อนแพทย์อาจทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือการทดสอบการทำงานของหัวใจ 

นอกจากนั้นอาจมีการตรวจเลือดเพื่อดูเอนไซม์ของหัวใจร่วมด้วย ส่วนมากแล้วการซักประวัติและการตรวจเพิ่มเติมเหล่านี้มักจะเพียงพอต่อการวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษา

การรักษา

อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดร่วมกับอาการแสบร้อนกลางหน้าอกบ่อยๆ นั้นเกิดจาก "โรคกรดไหลย้อน" สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาในกลุ่ม proton pump inhibitors (PPIs) ซึ่งเป็นยาที่ช่วยลดการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร 

แพทย์อาจจะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตร่วมกับการรับประทานยา ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด  
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานผลไม้รสเปรี้ยว
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มบางชนิด เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
  • หลีกเลี่ยงการนอนทันทีหลังรับประทานอาหารเสร็จ 
  • หากิจกรรมผ่อนคลายที่ช่วยลดความเครียด 

อาการเจ็บหน้าอกทั้ง 2 สาเหตุนั้นอาจจะแยกออกจากกันได้ยากในช่วงที่มีอาการ ดังนั้นทางที่ดีควรหมั่นสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอ หากไม่เคยมีประวัติเป็นโรคกรดไหลย้อนแล้วมีอาการเกิดขึ้นทันทีและรุนแรงควรไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด 

หรือถ้าหากไม่มั่นใจว่าอาการเกิดจากอะไร ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการประเมิน ตรวจและวินิจฉัยโรค เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android 


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
3 Types of Chest Pain That Won’t Kill You. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/3-types-of-chest-pain-that-wont-kill-you/)
Chest pain: 26 causes, symptoms, and when to see a doctor. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321650)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป