ใส่บราคับเกินไปทำให้เจ็บหน้าอกได้จริงหรือ?

เผยแพร่ครั้งแรก 8 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ใส่บราคับเกินไปทำให้เจ็บหน้าอกได้จริงหรือ?

มีงานวิจัยพบว่าผู้หญิงประมาณ 70-80% ใส่บราผิดไซส์ ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพตามมา อย่างไรก็ดี เชื่อได้เลยว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ซื้อชุดชั้นในเพราะมันมีลูกไม้หรือตาข่ายที่สวยถูกใจ แต่หนึ่งในข้อผิดพลาดที่ผู้หญิงมักทำคือ การใส่ชุดชั้นในที่คับหรือหลวมเกินกว่าขนาดหน้าอกที่แท้จริง

บราที่คับแน่นสามารถทำให้เจ็บหน้าอกได้จริงหรือ?

การใส่บราที่คับเกินไปสามารถทำให้คุณรู้สึกเจ็บหน้าอก ซึ่งความเจ็บจะกระจายไปทั้งหน้าอกในระยะยาว ทั้งนี้ตัวการที่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บก็คือ การที่สายบราและด้านหลังของบราทำให้กล้ามเนื้อทราพีเซียสตึง ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่เชื่อมหัวไหล่และลำคอ การมีแรงกดบริเวณดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจะทำให้ปวดหัวไหล่ ซึ่งสุดท้ายแล้วมันก็จะกระจายความปวดไปยังหน้าอกและคอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อผู้หญิงที่มีหน้าอกใหญ่เลือกใส่บราที่รัดแน่น  กล้ามเนื้อบริเวณทรวงอกก็จะถูกกด ทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตมีปัญหา และนำไปสู่อาการเจ็บหน้าอก อย่างไรก็ดี สำหรับสาเหตุอื่นที่ทำให้เจ็บหน้าอกคือ การไม่ใส่สปอร์ตบราในระหว่างที่ออกกำลังกายประเภทใดๆ ก็ตาม ทั้งนี้มีงานวิจัยพบว่า การใส่บราแบบปกติออกกำลังกายจะยกหน้าอกให้ใหญ่ขึ้น 8 ซม. ซึ่งทำให้เกิดอาการกดเจ็บหรือปวดได้ในที่สุด ในขณะที่สปอร์ตบราถูกออกแบบมาเพื่อพยุงหน้าอก โดยช่วยลดการเคลื่อนไหวของทรวงอกได้ประมาณ 80% ทำให้ลดโอกาสที่คุณจะรู้สึกเจ็บหรือปวด

สัญญาณที่บอกว่าบราคับเกินไป

นอกจากการรู้สึกแน่นและตึงรอบๆ หน้าอกและหลังแล้ว มันก็ยังมีสัญญาณอื่นๆ ที่บอกว่าบราที่คุณกำลังใส่นั้นคับเกินไป

  • หน้าอกล้นด้านบน ด้านข้าง และด้านล่างคัพ ทำให้หน้าอกไม่เป็นทรง
  • ใส่บราที่ตะขอสุดท้าย ซึ่งช่วงของตะขอที่จะทำให้เรารู้สึกสบายหน้าอกก็คือตะขออันกลาง
  • ไหล่เป็นรอยซึ่งเกิดจากสายยกทรง
  • ส่วนโครงของบราดันตัวและกดจนทำให้หายใจลำบาก
  • แผ่นหลังดูเหมือนนูนออกด้านข้าง เพราะบราที่คับแน่นจะบีบกล้ามเนื้อและผิวหนัง

วิธีเลือกบราให้เหมาะสม

  • บราที่คุณใส่ควรมีขนาดที่พอดีตัว ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป ซึ่งคุณสามารถทดสอบโดยวางสองนิ้วที่ใต้แถบยกทรง หากบรามีขนาดที่เหมาะสม คุณจะไม่รู้สึกว่าแถบยกทรงบีบนิ้วมากเกินไป
  • ยกแขนขึ้นและส่ายไปมา หากหน้าอกหลุดออกมา นั่นก็หมายความว่าบราหลวมเกินไปสำหรับคุณ อย่างไรก็ดี หากคุณปรับสายบราที่ไหล่และทดสอบอีกครั้ง ถ้าหน้าอกยังคงกระเด้งออกมา ให้คุณเลือกบราที่มีไซส์เล็กลง
  • หากคุณต้องการเสริมฟองน้ำ คัพของบราจะต้องพอดีกับหน้าอก หากหน้าอกล้นออกมา นั่นก็หมายความว่าบราคับเกินไป หากมีช่องว่างระหว่างหน้าอกและคัพ มันก็บอกได้ว่าบราหลวมเกินไป
  • ให้คุณสังเกตที่หลังของตัวเอง และถ้าคุณเห็นหน้าอกล้นออกด้านข้าง ให้คุณเลือกบราที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
  • หากคุณใส่บราแบบเสริมโครง โครงควรจะนอนราบใต้หน้าอก และบริเวณกึ่งกลางของโครงก็ควรนอนราบบนกระดูกทรวงอก

อย่างไรก็ตาม บราเป็นเครื่องแต่งกายอีกชิ้นหนึ่งที่เราจำเป็นต้องใส่ทุกวัน นอกจากคุณจะโฟกัสไปที่ดีไซน์แล้ว การเลือกขนาดของบราให้เหมาะสมกับหน้าอกก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากเช่นกัน มิเช่นนั้นมันอาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกหรือเจ็บหลังตามมา ซึ่งการนำวิธีที่เราแนะนำข้างต้นไปพิจารณาก็จะช่วยให้คุณเลือกบราได้พอดีกับหน้าอกค่ะ

ที่มา: https://www.curejoy.com/conten...


25 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Can your bra affect your health?. Patient. (https://patient.info/news-and-features/is-your-bra-harming-your-health)
Sensitive Breast: 10 Causes, Other Symptoms, Treatment, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/sensitive-breast)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป