อาการเจ็บหน้าอก (Angina) เกิดจากการที่เลือดไหลไปเลี้ยงหัวใจลดลง เนื่องจากเส้นเลือดที่เลี้ยงหัวใจมีการตีบแคบ หรืออุดตันอย่างน้อย 1 เส้น อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ซ้ำๆ หรืออาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
แม้อาการนี้จะพบได้บ่อย แต่ก็ยากที่จะแยกว่า เกิดจากโรคเส้นเลือดหัวใจ หรือเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อาการของการเจ็บหน้าอก
โดยทั่วไปอาการเจ็บหน้าอกมักจะทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนถูกทับ บางคนก็รู้สึกหนักๆ แน่นๆ และเจ็บภายในหน้าอก อาการมักแย่ลงเมื่อออกกำลังกายและจะดีขึ้นเมื่อได้พัก อาจพบอาการเจ็บปวดร้าวไปที่ไหล่ แขน ลำคอ ขากรรไกร หรือหลังได้
ส่วนอาการอื่นๆ ที่อาจเกิดร่วมได้ ประกอบด้วย
ผู้หญิงอาจมีอาการได้หลากหลายกว่าผู้ชาย ซึ่งผู้หญิงบางคนอาจมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก หรือไม่มีอาการเจ็บหน้าอกเลยก็ได้
- คลื่นไส้
- หายใจไม่สุด
- ปวดท้อง
- อ่อนเพลียมาก
- เจ็บที่คอ ขากรรไกร หรือหลัง
- เจ็บเหมือนถูกแทงมากกว่าถูกทับ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการเจ็บหน้าอก
มีหลายปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก เช่น
- ระดับคอเลสเตอรอลสูง
- ความดันโลหิตสูง
- สูบบุหรี่
- เป็นโรคเบาหวาน
- น้ำหนักเกิน หรืออ้วน
- เป็นโรคในกลุ่มเมตาบอลิก
- ไม่ออกกำลังกาย
- มีอายุมากขึ้น (ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหากผู้ชายอายุมากกว่า 45 ปี และผู้หญิงอายุมากกว่า 55 ปี)
- รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
- มีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุน้อย
การรักษาอาการเจ็บหน้าอก
การรักษาอาการเจ็บหน้าอกจะเน้นไปที่การบรรเทาอาการ และลดความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวายเฉียบพลันซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ โดยทางเลือกในการรักษา ได้แก่
- การปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต เช่น เลิกสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- พยายามรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม รับประทานอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่
- หลีกเลี่ยงความเครียด หรือหาวิธีจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม
- พักผ่อนให้เพียงพอ อย่านอนดึก
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ
- ผู้มีโรคประจำตัว เช่น ความด้นโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ควรเปลี่ยนขนาดยาเอง หรือหยุดยาเองเด็ดขาด เช่น แอสไพริน (Aspirin) ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ยากลุ่ม beta-blockers ยาสแตติน (Statins) ยา Calcium channel blockers
- หากมีอาการเจ็บหน้าอกมาก แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจหัวใจ เช่น ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจสมรรถภาพหัวใจ และหากมีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจอาจแพทย์ต้องทำหัตถการเกี่ยวกับหัวใจ เช่น การผ่าตัดขยายเส้นเลือด การใส่ขดลวดถ่างขยาย และการผ่าตัดบายพาส
หมั่นสังเกตความผิดปกติของตนเองอย่าคิดว่า "ไม่เป็นไร หรือเดี๋ยวก็หาย" หากมีอาการเจ็บหน้าอกบ่อยครั้งควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยจะดีที่สุด เพราะบางครั้งการละเลยอาการก็ทำให้อาการรุนแรงขึ้นจนนำไปสู่อันตรายแก่ชีวิตได้
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
เวลาเหนื่อยมากๆเจ็บจี๊ดๆที่หน้าอกด้านซ้ายเป็นโรคหัวใจรึเปล่าค่ะ