ไขข้อข้องใจ…ทำไมเราถึงรู้สึกเจ็บหน้าอก?

เผยแพร่ครั้งแรก 30 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ไขข้อข้องใจ…ทำไมเราถึงรู้สึกเจ็บหน้าอก?

การที่เรารู้สึกเจ็บหน้าอก หน้าอกบวม รู้สึกหนัก ปวดแปลบ แสบร้อน หรือตึงที่หน้าอก ก็ล้วนแต่ทำให้เรารู้สึกไม่สบายตัวหรือทรมานได้ไม่ต่างกัน ซึ่งแพทย์เรียกอาการเจ็บเต้านมว่า Mastalgia อย่างไรก็ตาม การติดตามอาการถือเป็นเรื่องสำคัญ และการเจ็บหน้าอกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งเต้านมเสมอไป แต่มันยังเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ  เราลองมาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1.อาการเจ็บเต้านมที่สัมพันธ์กับประจำเดือน

อาการเจ็บหน้าอกมีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์กับประจำเดือนหากมีสัญญาณดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • รู้สึกปวดแบบตื้อๆ และรู้สึกหนัก
  • เต้านมบวมหรือดูเหมือนมีก้อนแข็งภายใน
  • หน้าอกทั้งสองข้างได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะส่วนบนและรอบนอก ในบางครั้งมันก็อาจทำให้คุณเจ็บแถวรักแร้
  • อาการแย่ลงในระหว่าง 2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน แล้วดีขึ้นหลังจากนั้น
  • มีอายุอยู่ในช่วง 20-39 ปี หรือกำลังเข้าสู่ช่วงวัยทอง

อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจรักษาโดยให้คุณทานยาคุมกำเนิด หรือปรับเปลี่ยนปริมาณของยาที่คุณกำลังทาน นอกจากนี้เขาอาจแนะนำให้คุณงดอาหารที่มีคาเฟอีน หรือทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปอย่างอะเซตามิโนเฟน ไอบูโพรเฟน หรือนาพรอกเซนโซเดียม

1.1 ระดับของฮอร์โมน

อาการเจ็บหน้าอกส่วนมากมีความเชื่อมโยงกับฮอร์โมนสองชนิดคือ เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ซึ่งมันสามารถเกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกันในตลอดช่วงวัยเจริญพันธุ์ ตัวอย่างเช่น วัยหนุ่มสาว ประจำเดือน หรือเมื่อมีอาการ PMS การตั้งครรภ์โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก ช่วงในนมลูก วัยทอง ฯลฯ

1.2 การมีก้อนไฟโบรซีสติคในเต้านม

การมีก้อนชนิดนี้มีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์กับฮอร์โมนเช่นกัน ซึ่งเนื้อเยื่อเส้นใยและซีสต์จะก่อตัวขึ้นในเต้านม ซึ่งมันสามารถทำให้เรารู้สึกเจ็บ แต่มันถือเป็นเรื่องปกติและมักไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงกว่าครึ่งที่อยู่ในช่วงวัย 20-59 ปี มีก้อนดังกล่าว ซึ่งไม่จำเป็นต้องรักษาเว้นเสียแต่ว่าอาการมีความรุนแรง

1.3 กรดไขมันไม่สมดุล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากกรดไขมันในเซลล์ไม่สมดุล มันก็สามารถทำให้หน้าอกมีความไวต่อฮอร์โมนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี คุณสามารถบรรเทาอาการดังกล่าวโดยลดการทานอาหารที่มีไขมัน ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้คุณทานอาหารที่มีคาร์บเชิงซ้อนสูง นอกจากนี้แพทย์บางคนก็คิดว่าการทานน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสสามารถช่วยแก้ปัญหากรดไขมันไม่สมดุลเช่นกัน

2.อาการเจ็บหน้าอกที่ไม่สัมพันธ์กับประจำเดือน

อาการเจ็บหน้าอกก็สามารถเกิดขึ้นได้จากเหตุผลอื่นๆ ที่ไม่ใช่ฮอร์โมนถ้า

  • คุณรู้สึกระบม แสบร้อน หรือคับแน่น
  • ความรู้สึกไม่สบายตัวเกิดขึ้นต่อเนื่องหรือไม่สามารถคาดการณ์ได้
  • ความเจ็บส่งผลที่หน้าอกเพียงข้างเดียวในบริเวณที่เฉพาะเจาะจง
  • คุณผ่านพ้นช่วงวัยทองมาแล้ว

2.1 อาการปวดภายนอกเต้านม

อาการปวดประเภทนี้จะทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่ามันปวดจนออกมาอยู่ข้างนอกหน้าอก ซึ่งอาการปวดจะบรรเทาลงเมื่อคุณพักผ่อน ทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และฉีดยาคอร์ติโซน ถ้าคุณยืดกล้ามเนื้อหน้าอกให้ตึง คุณจะรู้สึกว่าความรู้สึกเจ็บมาจากหน้าอก ซึ่งมันอาจเป็นผลจากการทำกิจกรรมอย่างการลดน้ำหนักและการขุดดิน

2.2 การติดเชื้อ

แม้ว่าการอักเสบที่เต้านมมักเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ให้นมลูก แต่มันก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุ หากเสื้อครูดกับหัวนม มันก็สามารถทำให้เกิดการระคายเคือง และทำให้แบคทีเรียเข้าไปในแผลจนนำไปสู่การติดเชื้อได้ในที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2.3 การบาดเจ็บ

การบาดเจ็บบริเวณหน้าอกอย่างการผ่าตัดหรือการปลูกถ่ายอวัยวะก็สามารถทำให้คุณรู้สึกเจ็บหน้าอกเช่นกัน ในบางครั้ง การบาดเจ็บสามารถทำให้เส้นเลือดที่หน้าอกบวมและทำให้เลือดจับตัวเป็นลิ่ม แม้ว่ามันจะทำให้เรารู้สึกเจ็บ แต่โดยมากแล้วอาการมักจะไม่ได้มีความรุนแรง

2.4 ยา

ยาบางชนิดที่จ่ายโดยแพทย์ และยาที่มีฮอร์โมนสามารถทำให้เรารู้สึกเจ็บเต้านม ตัวอย่างเช่น ยาที่ใช้รักษาโรคหัวใจ และยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ในกรณีนี้คุณอาจต้องลองปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนชนิดหรือปริมาณของยา

จากที่กล่าวไปจะเห็นได้ว่า มีหลายสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกเจ็บหน้าอก อย่างไรก็ตาม นอกจากการไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัดแล้ว การใส่สปอร์ตบราตอนนอน หรือตอนออกกำลังกายก็ยังช่วยพยุงหน้าอกให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ทำให้ช่วยบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกได้ค่ะ

ที่มา: https://www.webmd.com/women/guide/why-do-my-breasts-hurt#1



23 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Breast Pain in Women - Breast Pain Causes. American Academy of Family Physicians. (https://familydoctor.org/condition/breast-pain-in-women/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป