กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

ปัญหาการหลั่งช้า ทำเท่าไรก็ไม่เสร็จ

ปัญหาทางเพศของผู้ชายที่พบได้บ่อย รีบหาวิธีแก้ไขเพื่อให้รักของคุณยืนยาวยิ่งขึ้น
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 9 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ปัญหาการหลั่งช้า ทำเท่าไรก็ไม่เสร็จ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ปัญหาหลั่งช้าเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ชายทุกคน สามารถเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลกระทบจากยาบางประเภท ชอบช่วยตัวเองมากกว่ามีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • เวลาการหลั่งที่มักทำให้คู่รักถึงจุดสุดยอดได้อย่างมีความสุขที่สุด คือ ประมาณ 8-13 นาที ส่วนผู้ชายที่หลั่งช้าเกินกว่า 30 นาที ถือว่า หลั่งช้าเกินไป ควรไปปรึกษาแพทย์
  • การหลั่งช้าอาจทำให้คู่รักขัดแย้งกันได้ สิ่งที่ทำได้คือ เปิดใจรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น และหาทางแก้ไปพร้อมๆ กัน
  • การออกกำลังกาย ไม่สูบบุหรี่ ไม่บริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์คือ วิธีรักษาที่อาจทำให้ผู้ชายหลั่งได้ไวขึ้นและอีกเทคนิคที่อาจช่วยได้ คือ อย่าลืมเล้าโลมระหว่างมีเพศสัมพันธ์ด้วย เพื่อให้ฝ่ายชายได้รับการกระตุ้นอารมณ์ทางเพศมากพอ
  • หากลองรักษาด้วยตัวเองแล้วยังคงมีอาการหลั่งช้าอยู่ ให้ลองไปปรึกษาแพทย์ เพราะคุณอาจมีปัญหาสุขภาพบางอย่างที่ไม่เคยรู้ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ ตรวจระดับฮอร์โมนได้ที่นี่)

ปัญหาหลั่งช้าเป็นอีกหนึ่งปัญหาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศของผู้ชายที่ส่งผลกระทบต่อเรื่องบนเตียงได้ เพราะการหลั่งช้าจะทำให้ผู้ชายไม่สามารถพาคู่รักไปถึงฝั่งฝันได้เสียที 

ผุ้ชายบางคนอาจต้องใช้เวลาทำกิจกรรมบนเตียงนานเป็นชั่วโมง หรือไม่ว่าคู่ของตนจะพยายามทำด้วยวิธีใดๆ ตนเองก็ไม่ถึงจุดสุดยอดเสียที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาหย่อนสมรรถภาพ วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 70%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการหลั่งช้ามีสาเหตุมาจากอะไร

การหลั่งน้ำอสุจิช้ากว่าปกตินั้น มีสาเหตุหลักไม่ต่างจากอาการหลั่งเร็ว นั่นคือ ปัญหาทางด้านจิตใจและร่างกาย ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัยดังต่อไปนี้

  • มีโรคประจำตัว ซึ่งเป็นอุปสรรค์ทำให้ไม่สามารถเต็มที่กับการมีเพศสัมพันธ์ได้
  • ต้องรับประทานยาเป็นประจำ ซึ่งยาบางประเภทส่งผลให้เกิดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • การสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • เหนื่อย 
  • นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ 
  • มีเรื่องไม่สบายใจทำให้เป็นกังวล
  • ผู้ที่ชอบช่วยตัวเองมากกว่าและรู้สึกมีความสุขกับการช่วยตัวเองมากกว่ามีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • ร่างกายมีสภาวะผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ ต่อมลูกหมาก เช่น ผู้ที่เคยผ่าตัดกระดูกสันหลัง เคยผ่าตัดต่อมลูกหมาก มีหลอดเลือดสมองแตก

ระยะเวลาการหลั่ง

ถึงแม้คุณผู้หญิงกับคุณผู้ชายจะมีช่วงเวลาที่เรียกว่า "ถึงจุดสุดยอดที่ต่างกัน" แต่ก็สามารถช่วยกันหาช่วงเวลาที่เหมาะสมได้ 

หากพิจารณากันถึงช่วงเวลาที่เหมาะสม จะสามารถอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ พอเป็นแนวทางได้ดังนี้

  • 1-2 นาที ผู้ชายที่ถึงจุดสุดยอดก่อน 2 นาที อาการนี้จัดอยู่ในกลุ่ม “หลั่งเร็ว” และอาจทำให้คู่รักอารมณ์ค้าง หรือหงุดหงิดเพราะยังไม่ทันถึงจุดสุดยอดได้
  • 3-7 นาที  จัดอยู่ในช่วงเวลาเกณฑ์ปกติ คู่รักที่ถึงจุดสุดยอดในช่วงเวลานี้ มักจะจบกิจกรรมด้วยความสุขที่พอดี และลงตัว 
  • 8-13 นาที  เป็นช่วงเวลามีเพศสัมพันธ์ที่คู่รักมักจะพึงพอใจมากที่สุด เพราะถือว่าไม่นานและไม่ได้เร็วจนเกินไป 
  • 14-30 นาที เริ่มเป็นช่วงเวลาที่อาจไม่สนุกแล้ว และฝ่ายหญิงอาจเริ่มเจ็บอวัยวะเพศได้ แต่คู่รักบางคู่ก็อาจยังพึงพอใจกับช่วงเวลานี้อยู่
  • เกิน 30 นาที ถือว่านานเกินไป และหากลองใช้วิธีอื่นช่วยด้วย เช่น ใช้มือช่วยตัวเอง ทำออรัลเซ็กส์ แล้วก็ยังไม่หลั่งเสียที จะถือว่า คุณมีอาการหลั่งช้า ซึ่งน่าจะกระทบต่อความสัมพันธ์บนเตียงแน่นอน ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ด่วนเพื่อหาทางแก้ที่ถูกวิธี

ความรุนแรงของภาวะการหลั่งช้า

  • น้อย คือ สามารถหลั่งได้กับคู่นอนได้ในบางสถานการณ์
  • ปานกลาง คือ หลั่งได้เฉพาะการช่วยตัวเอง
  • รุนแรง คือ หลั่งได้เฉพาะเวลาอยู่คนเดียว
  • รุนแรงมาก คือ ไม่สามารถหลั่งได้เลย

5 วิธีรักษา และป้องกันอาการหลั่งช้าผิดปกติ

อย่างที่ทราบกันแล้วว่า อาการหลั่งช้านั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นการรักษาจึงต้องแก้ไขให้ถูกต้องตามแต่ละสาเหตุนั้นๆ 

อย่างไรก็ตาม คุณควรพบแพทย์ร่วมด้วย เพื่อวิเคราะห์ และแก้ปัญหาการหลั่งช้าว่าเกิดจากอะไร และจะได้รักษาอย่างตรงจุด 

โดยแพทย์จะสามารถให้คำแนะนำที่ปลอดภัยได้ เช่น

  1. การเปิดใจ ทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะชายที่มีคู่รัก หรือแต่งงานแล้ว แนะนำให้เปิดอกคุยกันถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและช่วยกันหาทางออก ทั้งนี้ผู้เป็นภรรยาก็ควรเข้าใจภาวะนี้ของสามีด้วย

  2. พบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยปัญหาที่แท้จริงและหาวิธีแก้ที่ปลอดภัย เนื่องจากบางคนมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคเครียด โรคซึมเศร้า โรคที่เกี่ยวกับกระดูก และเส้นประสาท

    กลุ่มโรคที่กล่าวมาข้างต้นจะต้องรับประทานยาเป็นประจำเพื่อรักษาอาการ บางคนจึงพบว่า ปัญหาการหลั่งช้านั้นเกิดมาจากโรคและการรับประทานยา กรณีเช่นนี้จึงต้องควรพบแพทย์เพื่อหาวิธีแก้ไขที่เหมาะสม

  3. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นทางออกสำหรับปัญหาสุขภาพได้เกือบทุกอย่าง คุณอาจลองปรึกษาแพทย์ว่า การออกกำลังกายประเภทใดสามารถแก้ไขปัญหาการหลั่งช้าได้

  4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง  แม้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่จะทำให้คุณมีความสุขในชั่วขณะ แต่จะทำให้สุขภาพแย่ในระยะยาว รวมทั้งการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศด้วย

    ทางที่ดี คุณควรลด ละ เลิก สิ่งที่ทำให้ร่างกายผิดปกติ หรือสุขภาพเสื่อมลง บางทีปัญหาเรื่องบนเตียงของคุณอาจแก้ไขได้ด้วยการรักษาสุขภาพให้ดีขึ้นก็ได้

  5. อย่ามองข้ามขั้นตอนการเล้าโลม คู่รักบางคู่ไม่ได้มีการเล้าโลมในระหว่างมีเพศสัมพันธ์จึงทำให้ฝ่ายชายไม่ได้มีอารมณ์ร่วม และไม่ได้ถูกกระตุ้นอารมณ์ทางเพศเท่าที่ควรจนเกิดปัญหาหลั่งช้าได้

    ดังนั้นทั้งผู้ชายและผู้หญิงจึงไม่ควรมองข้ามการเล้าโลมในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เพื่อความสุขและการถึงจุดสุดยอดที่ดียิ่งขึ้น

ปัญหาหลั่งช้า เป็นปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ที่พบได้ในคู่รักทุกคู่ หากคุณพบว่า คู่รัก หรือสามีของคุณมีอาการหลั่งช้า ให้ลองปรึกษาเพื่อหาทางออกร่วมกันก่อน 

หรือหากไม่รู้ว่าควรแก้ปัญหาอย่างไร คุณอาจปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและรักษาอาการหลั่งช้าอย่างถูกต้องต่อไป

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ ตรวจระดับฮอร์โมน เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Wein AJ, et al., Disorders of male orgasm and ejaculation. In: Campbell-Walsh Urology. 11th ed. Philadelphia, Pa.: Elsevier; 2016.
Strassberg, D. S., & Perelman, M. A. (2009), Sexual dysfunctions. In P. H. Blaney & T. Millon (Eds.), Oxford textbook of psychopathology (2nd ed.), (pp. 399–430).
Sexual dysfunctions, In: Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders DSM-5. 5th ed. Arlington, Va.: American Psychiatric Association; 2013 (http://dsm.psychiatryonline.org/), 23 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ

อัตราการเต้นของหัวใจคืออะไร สำคัญอย่างไร ค่าอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมในช่วงปกติและขณะออกกำลังกายของแต่ละช่วงวัยคือเท่าไร

อ่านเพิ่ม