มีการรักษาหลายวิธีที่จะช่วยให้คุณใช้ชีวิตกับโรคพาร์กินสันได้ง่ายขึ้น และช่วยให้คุณจัดการกับอาการในแต่ละวันของคุณได้ เช่น การใช้ยา การทำกายภาพบำบัด การทำกิจกรรมบำบัด การผ่าตัด และการรักษาทางเลือกอื่นๆ
กายภาพบำบัด
นักกายภาพบำบัดจะทำงานร่วมกับคุณเพื่อช่วยบรรเทาอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง และอาการปวดข้อ ด้วยการเคลื่อนไหว (การดัดดึงข้อต่อ) และการออกกำลังกาย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เป้าหมายของนักกายภาพบำบัด คือ ต้องการให้คุณเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น ทำให้คุณเดินได้มากขึ้น มีความยืดหยุ่นร่างกายเพิ่มขึ้น โดยนักกายภาพบำบัดจะพยายามทำให้คุณมีความสามารถในการออกกำลังกายและการจัดการสิ่งต่างๆ สำหรับตัวคุณเองได้ดีขึ้น
กิจกรรมบำบัด (Occupational therapy)
นักกิจกรรมบำบัดจะระบุปัญหาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวันที่ยากลำบากของคุณ เช่น การแต่งกาย หรือการเดินทางไปร้านค้าในละแวกบ้าน
นักกิจกรรมบำบัดจะช่วยคุณหาทางแก้ปัญหาที่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ และทำให้บ้านของคุณมีความปลอดภัยและมีความเหมาะสมสำหรับคุณ ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้คุณยังใช้ชีวิตได้อย่างอิสระปราศจากการช่วยเหลือจากผู้อื่นได้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้
การบำบัดด้านการพูดและการสื่อสาร (Speech and language therapy)
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันหลายคนจะมีปัญหาเรื่องการกลืนลำบาก (dysphagia) และมีปัญหาเกี่ยวกับการพูด
นำบำบัดด้านการพูดและการสื่อสารจะช่วยเหลือคุณโดยการสอนคุณพูดและฝึกกลืนอาหาร หรือแนะนำเทคโนโลยีในการช่วยเหลือที่เหมาะสมกับคุณ
คำแนะนำด้านอาหาร
สำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสันบางรายพบว่า การเปลี่ยนแปลงการรับประทานอาหารสามารถทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การเปลี่ยนแปลงการรับประทานอาหารในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ได้แก่:
- เพิ่มการรับประทานอาหารประเภทกากใย และดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อลดการเกิดอาการท้องผูก
- เพิ่มปริมาณเกลือในอาหารที่รับประทาน และรับประทานมื้อเล็ก แต่บ่อยครั้ง เพื่อป้องกันอาการความดันโลหิตต่ำ ซึ่งจะทำให้มีอาการเวียนศีรษะขณะลุกขึ้นยืนอย่างรวดเร็ว
- เปลี่ยนแปลงการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักลดอย่างไม่ตั้งใจ
หากทีมแพทย์ที่ดูแลคุณคิดว่าคุณอาจได้รับประโยชน์จากการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร คุณอาจขอคำปรึกษาจากนักโภชนาการ/นักกำหนดอาหาร ที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหารในผู้ป่วยพาร์กินสัน
การใช้ยารักษาโรคพาร์กินสัน
การใช้ยาสามารถช่วยให้อาการหลักของโรคพาร์กินสันดีขึ้น เช่น อาการสั่น และอาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
อย่างไรก็ตามไม่ใช่ยาทุกตัวจะมีประโยชน์สำหรับทุกคน และผลในระยะสั้นและผลในระยะยาวจะของยาแต่ละตัวจะมีความแตกต่างกัน
ยาหลัก 3 รายการที่ใช้บ่อยในการรักษาโรคพาร์กินสัน ได้แก่:
- ลีโวโดป้า (levodopa)
- ยากลุ่มโดปามีน อะโกนิส (Dopamine agonists)
- ยากลุ่ม Monoamine oxidase-B inhibitors
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะอธิบายเกี่ยวกับยาที่สามารถเลือกใช้ได้ รวมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ยาแต่ละชนิด และให้คำแนะนำถึงยาที่อาจจะเหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ และเมื่อใช้ยาไปซักระยะหนึ่งจะต้องมีการติดตามอาการและการดำเนินไปของโรคเป็นประจำ และอาจจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนยาที่รับประทานด้วย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ข้อมูลด้านล่างนี้คือสรุปข้อดี ข้อเสีย ของการรักษาโรคพาร์กินสัน ซึ่งคุณสามารถอ่านเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการรักษาที่คุณอาจได้รับ และเพื่อเปรียบเทียบทางเลือกของการรักษาในแต่ละวิธีได้
ยาลีโวโดป้า (levodopa)
ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีความจำเป็นต้องใช้ยารายการนี้ ซึ่งชื่อว่า ลีโวโดป้า (levodopa)
ยา levodopa จะถูกดูดซึมโดยเซลล์ประสาทภายในสมอง และจะเปลี่ยนเป็นสารสื่อประสาทโดปามีน (dopamine) ซึ่ง dopamine จะทำหน้าที่เป็นผู้นำส่งข่าวสารระหว่างส่วนต่างๆ ของสมองและเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
เมื่อมีปริมาณสารสื่อประสาท dopamine เพิ่มมากขึ้นจากการใช้ยา levodopa ก็จะช่วยให้อาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายดีขึ้น
ยานี้มักอยู่ในรูปแบบยาเม็ด หรือยาน้ำ และมักมีการผสมอยู่กับยาตัวอื่นๆ เช่น ยาคาร์บิโดป้า (carbidopa) หรือ ยาเบนเซอราไซด์ (benserazide)
ยาที่ผสมอยู่กับยา levodopa มีข้อดีคือจะช่วยป้องกันไม่ให้ยา levodopa ถูกทำลายไปก่อนที่ยาจะมีโอกาสดูดซึมเข้าสู่สมอง
นอกจากนี้ยาที่ผสมกับ levodopa จะช่วยลดผลข้างเคียงของยา levodopa ได้แก่:
หากคุณได้รับการสั่งจ่ายยา levodopa ในช่วงแรกขนาดยาเริ่มต้นจะเริ่มในขนาดต่ำก่อน และค่อยๆ ปรับขนาดยาขึ้นจนกระทั่งได้ผลการรักษา
เมื่อเริ่มใช้ยา ยา levodopa จะทำให้อาการดีขึ้นอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ผลของการใช้ยา levodopa ในระยะยาวจะลดลงเรื่อยๆ เพราะเซลล์ประสาทภายในสมองมีการสูญเสียมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีเซลล์ประสาทที่จะดูดซึมยาน้อยลง ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีการปรับขนาดการใช้ยาเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
การใช้ยา levodopa ในระยะยาวจะสัมพันธ์กับการเกิดปัญหา เช่น อาการยุกยิก (dyskinesias) ที่ควบคุมไม่ได้ และช่วงเวลา “on-off” ซึ่งหมายถึง ผู้ป่วยจะมีอาการระหว่างเปลี่ยนไปมาระหว่าง on กับ off อย่างรวดเร็ว โดยช่วง on หมายถึง ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวร่างกายดีขึ้น ตัวแข็งเกร็งลดลง และช่วง off หมายถึงผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ตัวแข็งเกร็ง
ยากลุ่มโดปามีน อะโกนิส (Dopamine agonists)
ยาในกลุ่ม Dopamine agonists เป็นยาที่ทำหน้าที่แทนสารโดปามีนในสมอง ซึ่งเหมือนกับยา levodopa แต่มีฤทธิ์อ่อนกว่า ยานี้มักรับประทานด้วยความถี่ที่น้อยกว่ายา levodopa
โดยทั่วไปยานี้จะอยู่ในรูปยาเม็ด แต่ก็มียาในรูปแบบแผ่นแปะที่ผิวหนังด้วย ได้แก่ ยาโรทิโกทีน (rotigotine)
ในบางครั้งผู้ป่วยอาจได้รับยาในกลุ่ม dopamine agonists พร้อมกับยา levodopa ทำให้สามารถลดขนาดยา levodopa ลงได้
ผลข้างเคียงของยา dopamine agonists ที่อาจพบได้ ได้แก่:
- คลื่นไส้ หรือ อาเจียน
- อ่อนเพลีย และง่วงนอน
- วิงเวียนศีรษะ
ยาในกลุ่ม dopamine agonists อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการประสาทหลอนและเพิ่มอาการสับสนในผู้ป่วยได้ ดังนั้นการใช้ยานี้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุซึ่งจะมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงนี้ได้มากกว่า
ในผู้ป่วยบางรายพบความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยา dopamine agonists กับการมีพฤติกรรมทำซ้ำๆ (compulsive behaviours) โดยเฉพาะเมื่อใช้ยาในขนาดสูง รวมถึงการติดการพนันและการมีอารมณ์ทางเพศที่มากเกินไป
หากคุณใช้ยาแล้วมีอาการดังกล่าวข้างต้น ให้ปรึกษาแพทย์
เนื่องจากบางครั้งผู้ป่วยที่ใช้ยาอาจไม่รู้สึกว่าตนเองกำลังมีปัญหาด้านพฤติกรรมดังกล่าว ดังนั้นสิ่งสำคัญคือผู้ดูแลและบุคคลในครอบครัวที่สามารถสังเกตเห็นพฤติกรรมที่ผิดปกติ ให้ปรึกษาเรื่องนี้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้เร็วที่สุดเท่าที่มีโอกาส
หากคุณได้รับการสั่งยาในกลุ่ม dopamine agonists ในช่วงแรกแพทย์จะสั่งขนาดยาต่ำสุดก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการคลื่นไส้และผลข้างเคียงอื่นๆ
เมื่อใช้ยาผ่านไป 2-3 สัปดาห์ แพทย์จะค่อยๆ ปรับขนาดยาขึ้น หากอาการคลื่นไส้รบกวนคุณ แพทย์อาจพิจารณาจ่ายยาแก้อาเจียนให้กับคุณ
สำหรับผลข้างเคียงที่ร้ายแรงแต่พบได้ไม่บ่อยของการใช้ยาในกลุ่ม dopamine agonists คือ เกิดการหลับอย่างกระทันหัน
อาการที่เกิดขึ้นนี้มักเกิดขึ้นเมื่อมีการเพิ่มขนาดยาและอาการจะดีขึ้นเมื่อขนาดยาคงที่แล้ว
ผู้ป่วยที่ได้รับยานี้จึงมักได้รับคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงการขับขี่รถยนต์ขณะที่มีการเพิ่มขนาดยา เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงเรื่องการนอนหลับอย่างกระทันได้
ยากลุ่ม Monoamine oxidase-B inhibitors (MAO-B inhibitors)
ยากลุ่ม Monoamine oxidase-B inhibitors ได้แก่ ยาเซริจิรีน (selegiline) และยาราซาจิรีน (rasagiline) เป็นยาทางเลือกนอกจากยา levodopa เพื่อใช้รักษาโรคพาร์กินสันในระยะเริ่มแรก
ยานี้จะไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ไปทำลายสารโดปามีนในสมอง (เอนไซม์ monoamine oxidase-B) ทำให้มีปริมาณโดปามีนเพิ่มขึ้น
ทั้งยา selegiline และยา rasagiline สามารถทำให้อาการของโรคพาร์กินสันดีขึ้น แต่ยาทั้งสองตัวนี้ให้ผลน้อยกว่ายา levodopa ยานี้สามารถให้ร่วมกับยา levodopa หรือยากลุ่ม dopamine agonists ได้
โดยทั่วไปผู้ป่วยจะทนต่อยากลุ่ม MAO-B inhibitors ได้เป็นอย่างดี แต่ก็อาจเกิดผลข้างเคียงได้บ้าง ได้แก่:
- คลื่นไส้
- ปวดศีรษะ
- ปวดท้อง
- ความดันโลหิตสูง
ยากลุ่ม Catechol-O-methyltransferase inhibitors (COMT inhibitors)
ยากลุ่ม Catechol-O-methyltransferase inhibitors เป็นยาที่แพทย์จะสั่งให้ผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีอาการในระยะหลังๆ ยานี้จะป้องกันไม่ให้ยา levodopa ถูกทำลายจากเอนไซม์ COMT
ผลข้างเคียงของยากลุ่ม COMT inhibitors ได้แก่
- คลื่นไส้ หรืออาเจียน
- ท้องเสีย
- ปวดท้อง
การรักษาโรคพาร์กินสันด้วยวิธีที่ไม่ใช่ยารับประทาน (Non-oral therapies)
เมื่ออาการของโรคพาร์กินสันไม่สามารถควบคุมได้ด้วยการใช้ยาเม็ดเพียงอย่างเดียว จะต้องมีการพิจารณาเลือกการรักษาอื่นๆ ดังนี้
ยาอะโปมอร์ฟีน (Apomorphine)
ยา apomorphine เป็นยาในกลุ่ม dopamine agonist ที่ให้ด้วยวิธีการฉีดเข้าใต้ผิดหนัง (subcutaneous) โดย:
- ฉีดเมื่อต้องการ
- ให้ยาอย่างต่อเนื่องโดยใช้เครื่องปั๊มยาขนาดเล็กซึ่งอยู่ที่สายคาดเอวใต้เสื้อผ้า หรืออยู่ในถุง
การผ่าตัด
ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะรักษาด้วยการใช้ยา แต่ผู้ป่วยบางรายอาจต้องได้รับการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าไปกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep brain stimulation)
การผ่าตัดชนิดนี้จะต้องทำโดยศัลยแพทย์ประสาทผู้เชี่ยวชาญ และไม่ได้เหมาะสมกับผู้ป่วยทุกคน
หากพิจารณาแล้วว่าคุณควรได้รับการผ่าตัด แพทย์จะแจ้งให้คุณทราบถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นและประโยชน์ที่คุณจะได้รับก่อนตัดสินใจผ่าตัด
การผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าไปกระตุ้นสมองส่วนลึก (Deep brain stimulation)
เมื่อมีการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าที่สมองแล้ว ศัลยแพทย์ประสาทจะต่อขั้วไฟฟ้าเข้ากับเครื่องกระตุ้นกระแสไฟฟ้าซึ่งถูกฝังที่ใต้ผิวหนังที่หน้าอก (คล้ายๆ กับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ)
การผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้านี้จะมีการใช้เครื่องมือเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการฝังที่บริเวณเฉพาะของสมอง กระแสไฟฟ้าขนาดต่ำที่ถูกสร้างโดยเครื่องกระตุ้นกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านขั้วไฟฟ้าที่ฝังไว้และไปกระตุ้นส่วนต่างๆ ของสมองที่เกี่ยวข้องกับโรคพาร์กินสัน แม้ว่าการผ่าตัดไม่สามารถรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถบรรเทาอาการในผู้ป่วยบางคนได้
การรักษาอาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากการเป็นโรคพาร์กินสัน
แม้ว่าอาการหลักของโรคพาร์กินสันจะเกี่ยวข้องกับปัญหาในการเคลื่อนไหว แต่ผู้ป่วยพาร์กินสันสามารถมีอาการอื่นๆ ได้หลากหลายอาการซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษา
อาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากการเป็นโรคพาร์กินสัน:
- ซึมเศร้าและวิตกกังวล-สามารถรักษาอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลได้โดยการดูแลตนเอง เช่น การออกกำลังกาย, จิตบำบัด (psychological therapy) หรือการใช้ยา
- นอนไม่หลับ-อาการนี้จะดีขึ้นเมื่อเปลี่ยนแปลงเวลานอน โดยเข้านอนให้เป็นเวลา
- หย่อนสมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction)-อาการนี้สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา
- เหงื่อออกมากผิดปกติ (hyperhidrosis)-สามารถลดปริมาณเหงื่อได้ด้วยการใช้ยาระงับเหงื่อ (antiperspirant) หรือการผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
- กลืนลำบาก (dysphagia)-อาการจะดีขึ้นเมื่อรับประทานอาหารอ่อน หรือการใช้สายยางให้อาหารในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
- น้ำลายไหลมาก-อาการจะดีขึ้นด้วยการฝึกการกลืน หรือการผ่าตัด หรือการใช้ยาในผู้ที่มีอาการรุนแรง
- กลั้นปัสสาวะไม่ได้ (urinary incontinence)-สามารถรักษาโดยการออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หรือการใช้ยา หรือการผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
- สมองเสื่อม (dementia)-สามารถรักษาได้ด้วยการบำบัดทางความคิด (cognitive therapies) และการใช้ยาในผู้ป่วยบางราย
งานวิจัยทางคลินิกของโรคพาร์กินสัน
มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการรักษาโรคพาร์กินสันอย่างมากซึ่งเป็นผลมาจากการศึกษาวิจัยทางคลินิก ไม่ว่าจะเป็นการรักษาใหม่ๆ และการรักษาร่วมกัน โดยเปรียบเทียบกับมาตรฐานการรักษาในปัจจุบัน
การรักษาโรคพาร์กินสันทางเลือก
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันบางรายพบว่าการรักษาทางเลือกจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น มีการรักษาทางเลือกหลายอย่างที่อ้างว่าสามารถบรรเทาอาการของโรคพาร์กินสันได้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานทางคลินิกอย่างชัดเจนเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการควบคุมอาการของโรคพาร์กินสัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่คิดว่าการรักษาทางเลือกไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อย่างไรก็ตามบางอย่างอาจเป็นอันตรายและไม่ควรใช้แทนยาที่แพทย์สั่งสมุนไพรบางชนิด เช่น St John's wort สามารถเกิดปฏิกิริยากับยารักษาโรคพาร์กินสันบางชนิดได้
หากคุณกำลังพิจารณาใช้การรักษาทางเลือกอื่นร่วมกับยาที่แพทย์สั่ง ขอให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ