oxytocin (ออกซิโทซิน) - เปปไทด์ฮอร์โมน และนิวโรเปปๆทด์

เผยแพร่ครั้งแรก 26 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
oxytocin (ออกซิโทซิน) - เปปไทด์ฮอร์โมน และนิวโรเปปๆทด์

ออกซิโทซิน (oxytocin) เป็นเปปไทด์ฮอร์โมน และนิวโรเปปๆทด์ โดยปกติออกซิโทซิน มีการสร้างจาก paraventricular nucleus และจากต่อมไฮไพทาลามัส (hypothalamus) หลั่งโดยการควบคุมของต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary gland) มีบทบาทเกี่ยวข้องกับความรู้สึกผูกพัน ระบบสืบพันธุ์ทั้งเพศชายและเพศหญิงทั้งในระหว่างและหลังคลอด ออกซิโทซินหลังเข้าสู่กระแสเลือด ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนที่ตอบสนองต่อการหดตัวของมดลูกในระหว่างคลอด และเป็นฮอร์โมนกระตุ้นน้ำนมในระหว่างการให้นมบุตร ออกซิโทซินมีส่วนช่วยในการคลอดบุตร ความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกหลังคลอด และช่วยในการสร้างน้ำนม ออกซิโทซินถูกค้นพบครั้งแรกในปีค.ศ. 1906 โดย Henry Dale นักเภสัชวิทยาชาวอังกฤษ และมีการศึกษาถึงฤทธิ์ในการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมโดย Ott และ Scott ในปีค.ศ. 1910 มีการศึกษาในระดับโครงสร้างในปีค.ศ. 1953 และในปัจจุบันใช้เป็นยาสำหรับช่วยในการคลอดบุตร

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Oxytocin ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

Oxytocin Synth-Richter

- ยาฉีด ความเข้มข้น 10 หน่วยต่อมิลลิลิตร

Gedeon Ritcher

Oxytocin

- ยาฉีด ความเข้มข้น 10 หน่วยต่อมิลลิลิตร

บริษัท เมดไลน์ จำกัด

Octocin

- ยาฉีด ความเข้มข้น 10 หน่วยต่อมิลลิลิตร

ห้างหุ้นส่วนจำกัด จีไอเอส ฟาร์มา


โรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยานี้บรรเทา

  • ข้อบ่งใช้สำหรับภาวะตกเลือดหลังคลอด
  • ข้อบ่งใช้สำหรับเหนี่ยวนำให้เกิดการคลอด
  • ข้อบ่งใช้สำหรับช่วยในการให้นมบุตร

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Oxytocin

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ ออกซีโทซิน เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อไฮโปทาลามัส (hypothalamus) เป็นยาที่ออกฤทธิ์โดยเหนี่ยวนำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกอย่างเป็นจังหวะซึ่งจะเพิ่มขึ้นตลอดในระหว่างการตั้งครรภ์ โดยระดับของฮอร์โมนจะถึงจุดสูงสุดเมื่อเกิดการคลอด ระดับที่สูงขึ้นเนื่องมาจากการแบ่งตัวของตัวรับออกซิโตซิน ตัวยามีฤทธิ์เพิ่มความถี่และความแรงของการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกเมื่อใช้ยาในขนาดต่ำ

ข้อบ่งใช้ของยา Oxytocin

ข้อบ่งใช้สำหรับภาวะตกเลือดหลังคลอด ยาในรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ขนาด 10 ถึง 40 หน่วยโดยบริหารยาแบบ Infusion ในสารน้ำ 1000 มิลลิลิตร ในอัตราเร็วที่สามารถควบคุมภาวะมดลูกไม่หดรัดตัวได้ ข้อบ่งใช้สำหรับเหนี่ยวนำให้เกิดการคลอด ยาในรูปแบบยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาดหนึ่งถึงสอง milliunit ต่อนาที อาจให้ขนาดยาเพิ่มในช่วงทุก 30 นาทีจนกว่าการหดรัดตัวของช่องคลอดจะขึ้นจุดสูงสุด 3 ถึง 4 ครั้งต่อนาที โดยไม่ให้อัตราเดินกว่า 32 milliunit ต่อนาที และใช้ขนาดยาไม่เกิน 5 หน่วยใน 1 วัน ตอดตามการหดรัดตัวของช่องคลอดร่วมกับการอัตราการเต้มของหัวใจของฟีตัสอย่างต่อเนื่อง ค่อยถอนการใช้ยาเมื่ออยู่ในระหว่างคลอด ข้อบ่งใช้สำหรับช่วยในการให้นมบุตร ยาในรูปแบบสูดทางจมูก ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ พ่นยา 1 ครั้ง (เทียบเท่ากับยา 4 หน่วย) เข้าทางรูจมูก 1 ข้าง บริหารยา 5 นาทีก่อนที่จะให้นมบุตร

ข้อควรระวังของการใช้ยา Oxytocin

- ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยสตรีมีครรภ์ฟีตัสผิดปกติ - ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยสตรีมีครรภ์ที่มีน้ำคร่ำมาก - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี - ระวังการใช้ยานี้ในสตรีให้นมบุตร - ติดตามอัตราการเต้นของหัวใจของฟีตัสและของมารดาระหว่างที่มีการใช้ยานี้ - ติดตามการได้รับน้ำและการขับน้ำออกจากร่างกายระหว่างที่มีการใช้ยานี้ - ไม่ควรใช้ยาในรูปแบบยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อบ่อยครั้งเนื่องจากไม่สามารถทำนายผลของยาได้แม่นยำ - ไม่ใช้ยานี้เป็นระยะเวลานานในผู้ป่วยที่มีครรภ์เป็นพิษหรือมีโรคหัวใจและหลอดเลือดในระดับรุนแรง - มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะน้ำเป็นพิษเมื่อใช้ยาในขนาดสูงและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Oxytocin

ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ ได้แก่ ส่งผลต่อตัวอ่อนหรือทารกแรกเกิด (ได้แก่ ดีซ่าน หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นช้า ผลต่อสมอง ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง อาการชัก เลือดออกในตา) ส่งผลต่อมารดา (ได้แก่ ความดันโลหิตต่ำชั่วคราว หัวใจเต้นเร็ว ระคายเคืองจมูก น้ำมูกไหล น้ำตาไหล เลือดออกที่บริเวณช่องคลอด ช่องคลอดหดตัว ช่องคลอดหดเกร็ง คลื่นไส้อาเจียน อาการอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ได้แก่ ภาวะน้ำเป็นพิษในมารดา การหดตัวของช่องคลอดเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลให้ตัวอ่อนขาดออกซิเจน อาจนำไปสู่การเสียชีวิต

ข้อมูลการใช้ยา Oxytocin ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาฉีดจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ข้อมูลการเก็บรักษายา Oxytocin

เก็บที่อุณหภูมิระหว่าง 2 ถึง 8 องศาเซลเซียส

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลในการสั่งใช้ยา

แพทย์และเภสัชกรสามารถให้ข้อมูลการใช้ยาอย่างปลอดภัย ผู้ป่วยควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์หรือเภสัชกรเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการใช้ยา

  • แจ้งข้อมูลการใช้ยารักษาโรคประจำตัว ยาที่เพิ่งรับประทานก่อนหน้านี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รับประทาน (รวมถึงวิตามิน และสมุนไพร) ในกรณีมียาประจำตัวจำนวนมาก ให้พกยาเพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรช่วยตรวจสอบก่อนสั่งจ่ายยาใหม่ ไม่ให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่จะได้รับใหม่และยาที่เดิมที่ผู้ป่วยใช้อยู่
  • แจ้งประวัติการแพ้ยา หรืออาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือแพ้อาหารชนิดใดอยู่ (เนื่องจากยาบางชนิดมีส่วนประกอบของไข่ขาว นม ยีสต์) อาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม เกิดผื่น หายใจลำบาก หรือให้นำบัตรแพ้ยา พกติดตัวและแสดงบัตรนี้แก่แพทย์และเภสัชกรก่อนเข้าใช้บริการสุขภาพทุกครั้ง
  • แจ้งข้อมูลในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยาบางชนิดส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์ หรือสามารถขับออกทางน้ำนมได้
  • แจ้งข้อมูลที่จะส่งผลต่อการรับประทานยา เช่น มีปัญหาการกลืนลำบาก มีปัญหาด้านการมองเห็นหรืออ่านฉลากยา วิธีการรับประทานยา เพื่อแพทย์หรือเภสัชกรจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!


29 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The two faces of oxytocin. American Psychological Association (APA). (https://www.apa.org/monitor/feb08/oxytocin)
The orgasmic history of oxytocin: Love, lust, and labor. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3183515/)
Love Hormone: What Is Oxytocin and What Are Its Effects?. Healthline. (https://www.healthline.com/health/love-hormone)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป