อาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
อาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

อาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

อาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งนั้นสามารถกระทบส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้หลากหลาย และไม่จำเป็นที่ผู้ป่วยทุกคนต้องมีอาการเช่นเดียวกัน

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis: MS) อาจทำให้เกิดอาการได้หลากหลายและอาจส่งผลต่อส่วนใดของร่างกายก็ได้ โดยผู้ป่วยแต่ละคนมักจะมีอาการที่แตกต่างกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการที่เกิดขึ้นต่าง ๆ นั้นไม่สามารถคาดเดาได้ อาการของคนบางคนคงอยู่ตลอดเวลาและแย่ลงเรื่อย ๆ ในขณะที่ผู้ป่วยบางคนนั้นเกิดอาการแบบเป็น ๆ หาย ๆ

ระยะเวลาที่อาการแย่ลงจะเรียกว่า ช่วงอาการกำเริบ (Relapse) และช่วงเวลาที่อาการดีขึ้นหรืออาการต่าง ๆ หายไปจะเรียกว่า ช่วงไม่มีอาการ (Remission)

อาการที่มักพบได้บ่อย ได้แก่ :

  • อาการเมื่อยล้า
  • ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น
  • รู้สึกเหน็บหรือชา
  • กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง เกร็งกระตุก และอ่อนแรง
  • ปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
  • อาการเจ็บปวด
  • ปัญหาเกี่ยวกับการคิด การเรียนรู้ และการวางแผน
  • อาการซึมเศร้าและความวิตกกังวล
  • ปัญหาทางเพศสัมพันธ์
  • ปัญหาทางเดินปัสสาวะ
  • ปัญหาระบบย่อยอาหารและลำไส้
  • อาการพูดและกลืนลำบาก

คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเกิดเพียงบางอาการเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเกิดทุกอาการพร้อมกัน

ให้เข้าพบแพทย์ประจำตัวของคุณทันทีหากคุณกังวลว่าคุณอาจมีอาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งข้างต้น อาการบางอย่างอาจคล้ายคลึงกับอาการของโรคอื่น ๆ ดังนั้นจึงไม่ได้หมายว่าคุณต้องเป็นโรคดังกล่าวเสมอไป

อาการเมื่อยล้า อ่อนแรง

ความรู้สึกเมื่อยล้าถือเป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยมากที่สุด และสร้างปัญหาให้กับผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้ป่วยมักพูดถึงอาการเมื่อยล้าที่เกิดขึ้นว่าเป็นความรู้สึกอ่อนแรง หมดแรงอย่างยิ่งยวดจนไม่สามารถทำอะไรได้แม้แต่กิจกรรมง่าย ๆ ก็ตาม

อาการเมื่อยล้าดังกล่าวอาจขัดขวางการทำกิจวัตรประจำวันของคุณและมีแนวโน้มที่จะแย่ร้ายลงในช่วงท้ายๆ ของวัน ในวันที่อากาศร้อน หลังออกกำลังกาย หรือในช่วงที่คุณป่วย

ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น

ประมาณหนึ่งในสี่ของผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาการที่สังเกตเห็นได้ชัดเป็นครั้งแรกคือปัญหาเกี่ยวกับดวงตาของคุณข้างใดข้างหนึ่ง เช่น โรคเส้นประสาทตาอักเสบ (optic neuritis) คุณอาจมีอาการ ดังนี้:

  • การสูญเสียการมองเห็นบางส่วนชั่วคราวในดวงตาข้างที่ได้รับผลกระทบ โดยมักจะมีอาการเป็นเวลาหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์
  • ตาบอดสี
  • ปวดตา โดยจะยิ่งปวดมากขึ้นหากขยับดวงตา
  • เห็นแสงกระพริบหากขยับดวงตา

ปัญหาสายตาอื่น ๆ ที่อาจพบได้ ได้แก่:

  • มองเห็นภาพซ้อน
  • ดวงตากระตุกโดยไม่สามารถควบคุมได้ซึ่งสามารถทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งมองเห็นเป็นขยับเด้งไปมา

น้อยครั้งที่พบว่าดวงตาทั้งสองข้างของผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งนั้นได้รับผลกระทบพร้อมกัน

การรับรู้ประสาทที่ผิดปกติ

การรับรู้ หรือประสาทสัมผัสที่ผิดปกตินั้นเป็นอาการเริ่มแรกของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่พบได้บ่อย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โดยมักออกมาให้รูปแบบอาการเหน็บ หรือชา คล้ายกับมีเข็มทิ่มในส่วนต่าง ๆ กันของร่างกาย เช่น แขน ขา น่อง โดยมักจะกระจายไปส่วนอื่น ๆ ภายในไม่กี่วัน

กล้ามเนื้อกระตุก แข็งเกร็งและอ่อนแรง

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งสามารถทำให้กล้ามเนื้อของคุณเกิดอาการได้ ดังนี้:

  • หดตัวอย่างรุนแรง และเจ็บปวด เรียกว่า กล้ามเนื้อกระตุกเกร็ง (spasm)
  • แข็งแน่น และไม่ยอมขยับตามสั่ง เรียกว่า กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (spasticity)
  • รู้สึกอ่อนแรง

ปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว

ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งจะเดินและเคลื่อนที่ไปมาได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและแข็งเกร็งร่วมด้วย โดยอาจมีปัญหาได้ ดังนี้:

  • เคลื่อนที่ได้เงอะงะ
  • ปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัวและการประสานงาน (ataxia)
  • อาการสั่นตามแขนขา (tremor)
  • เวียนศีรษะ และเกิดอาการบ้านหมุน (vertigo) ซึ่งจะทำให้รู้สึกราวกับว่าทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวกำลังหมุนอยู่

อาการเจ็บปวด

ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งบางคนเกิดอาการปวดได้ ซึ่งอาจมาได้จากสองรูปแบบ ได้แก่:

  • อาการปวดที่เกิดจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งโดยตรง (neuropathic pain) คือ อาการปวดที่เกิดจากความเสียหายต่อระบบประสาทโดยตรง ได้แก่ อาการปวดเสียดปวดแทงตามใบหน้า และความรู้สึกแปลกหลากหลายรูปแบบตามลำตัวและแขนขา เช่น ปวดแสบร้อนเหมือนโดนไฟเผา เจ็บเหมือนโดนเข็มทิ่ม หรืออาการปวดรัดเหมือนโดนบีบ อาการกล้ามเนื้อกระตุกเกร็งในบางครั้งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้เช่นกัน
  • อาการปวดในระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (Musculoskeletal pain) ได้แก่ อาการปวดตามหลัง คอและตามข้อโดยเกิดขึ้นทางอ้อมจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเดินหรือขยับตัวลำบาก โดยจะทำให้เกิดแรงกดบนหลังส่วนล่างหรือสะโพกของพวกเขา

ปัญหาเกี่ยวกับการคิด การเรียนรู้และการวางแผน

ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งบางคนมีปัญหาเกี่ยวกับการคิด การเรียนรู้ และการวางแผน ซึ่งเรียกว่า ความผิดปกติทางความคิด (cognitive dysfunction) ซึ่งได้แก่:

  • ปัญหาในการเรียนรู้และจดจำสิ่งใหม่ ๆ - โดยทั่วไปความจำระยะยาวมักไม่ได้รับผลกระทบ
  • ความล่าช้าในการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก หรือมีปัญหาในการทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน (Multi-tasking)
  • สมาธิสั้นลง
  • นึกคำพูดไม่ออก
  • มีปัญหาในการทำความเข้าใจและประมวลผลข้อมูลที่เป็นภาพ เช่น การอ่านแผนที่
  • มีปัญหาในการวางแผนและการแก้ปัญหา โดยผู้ป่วยมักบอกว่าพวกเขารู้ว่าพวกเขาต้องการทำอะไร แต่ไม่สามารถนึกออกได้ว่าจะทำมันอย่างไร
  • ปัญหาเกี่ยวกับการใช้เหตุผล เช่น การคำนวณทางคณิตศาสตร์ หรือการแก้ปริศนาต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม อาการทั้งหลายเหล่านี้ไม่ได้ชี้ว่าผู้ป่วยที่อาการดังกล่าวนั้นเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเสมอไป และอาจเกิดจากภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ ได้ เช่น จากภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลหรือแม้แต่การใช้ยาบางชนิด

ปัญหาสุขภาพจิต

หลายคนที่ป่วยเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีช่วงที่ซึมเศร้าร่วมด้วย ซึ่งยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจนว่าเกิดจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งโดยตรง หรือเกิดขึ้นเนื่องมาจากความเครียดที่ต้องใช้ชีวิตร่วมกับโรคดังกล่าวหรือทั้งสองอย่างร่วมกัน

ความวิตกกังวลยังสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เนื่องจากลักษณะอาการที่คาดเดาไม่ได้ของโรคนั้นเอง

ในบางกรณี ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งสามารถเกิดภาวะอารมณ์แปรปรวนอย่างรวดเร็วและรุนแรง โดยฉับพลัน เช่น จู่ ๆ ก็ร้องไห้มีน้ำตา หัวเราะร่า หรือตะโกนระเบิดอารมณ์ออกมาด้วยเหตุผลที่ไม่ชัดเจน

ปัญหาทางเพศสัมพันธ์

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งสามารถส่งผลต่อระบบเพศสัมพันธ์ได้ด้วย

ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเพศชาย มักมีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction) โดยองคชาติยากที่จะแข็งตัว หรือไม่สามารถคงการแข็งตัวนั้นได้ยาวนานเช่นเดิม นอกจากนี้ อาจพบว่าตนเองต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าจะเกิดการหลั่งระหว่างการมีเพศสัมพันธ์หรือการช่วยตัวเอง และอาจสูญเสียความสามารถในการหลั่งเมื่อถึงจุดสุดยอดไปเลยโดยสิ้นเชิง

ส่วนในเพศหญิงนั้นปัญหาเกี่ยวกับระบบเพศ ได้แก่ การถึงจุดสุดยอดได้ยาก การหล่อลื่นในช่องคลอดลดลงรวมถึงความรู้สึกทางเพศก็ลดลงด้วยเช่นกัน

ทั้งเพศชายและหญิงที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งอาจรู้สึกว่าตนเองมีความสนใจในเรื่องเพศน้อยลงกว่าที่เคยเป็นมา อาการดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งโดยตรงหรืออาจเป็นผลมาจากการใช้ชีวิตที่เครียดและกดดันจากโรคดังกล่าว

ปัญหาเรื่องระบบทางเดินปัสสาวะ

ปัญหาในการกลั้นปัสสาวะเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โดยมีอาการต่าง ๆ ได้แก่:

  • ต้องปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • รู้สึกปวดปัสสาวะอย่างรุนแรงแบบทันทีทันใดซึ่งอาจนำไปสู่อาการปัสสาวะเล็ด
  • ไม่สามารถปัสสาวะได้เกลี้ยงหมดในครั้งเดียว
  • ต้องตื่นขึ้นบ่อย ๆ ในช่วงกลางคืนเพื่อปัสสาวะ
  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อยครั้ง

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเหล่านี้อาจมาจากสาเหตุอื่น ๆ นอกจาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งก็เป็นได้

ปัญหาระบบย่อยอาหารและลำไส้

ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหลายคน ก็มีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของลำไส้เช่นกัน

อาการท้องผูกถือเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยอาจพบว่าตนเองอุจจาระลำบาก และอุจจาระบ่อยน้อยลงกว่าปกติเป็นอย่างมาก

ปัญหาอุจจาระเล็ดเป็นอาการที่พบได้ไม่บ่อยแต่มักจะสัมพันธ์กับอาการท้องผูก โดยหากอุจจาระคงค้างอยู่ในลำไส้ก็จะทำให้อาการระคายเคือง กระตุ้นให้ลำไส้หลั่งของเหลวมากขึ้นและสารเมือกดังกล่าวก็สามารถไหลรั่วออกมาจากทวารหนักได้

เช่นเดียวกันกับปัญหาก่อนหน้า ปัญหาของลำไส้นั้นไม่ได้เป็นปัญหาที่จำเพาะเจาะจงกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเท่านั้น แต่ยังสามารถเป็นผลมาจากการใช้ยา เช่น ยาแก้ปวดได้เช่นกัน

ปัญหาการพูดและกลืนลำบาก

ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งบางคนสามารถเกิดปัญหาในการเคี้ยวและการกลืน (dysphagia) ได้ในบางช่วงเวลา

คำพูดที่พูดออกมาก็อาจไม่ชัด หรือยากที่จะเข้าใจได้อีกด้วย (dysarthria)

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/multiple-sclerosis-ms#symptoms


30 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Multiple sclerosis. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/multiple-sclerosis/)
Multiple sclerosis (MS): Types, symptoms, and causes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/37556)
Multiple Sclerosis (MS) Center: Symptoms, Treatments, Diagnosis, Stages, and Causes. WebMD. (https://www.webmd.com/multiple-sclerosis/default.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป