โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง: บทนำ

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง: บทนำ

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเป็นหนึ่งในโรคภูมิต้านตนเองซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อเยื่อหุ้มไมอีลินของเซลล์ประสาทในสมองและไขสันหลัง ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อหลายส่วนของร่างกาย

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis: MS) เป็นภาวะความผิดปกติที่สามารถส่งผลกระทบต่อสมองและ / หรือเส้นประสาทไขสันหลังก่อให้เกิดอาการหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น การเคลื่อนไหวของแขนขา การรับรู้ประสาท หรือปัญหาการทรงตัว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคนี้เป็นความผิดปกติติดตัวตลอดชีวิตที่บางครั้งอาจทำให้เกิดภาวะพิการที่รุนแรงได้  ถึงแม้ว่าในผู้ป่วยบางคนอาจเกิดอาการไม่รุนแรงก็ตาม ในหลาย ๆ กรณีอาการที่เกิดขึ้นนั้นสามารถรักษาได้ และอายุขัยเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งลดลงเพียงเล็กน้อย

โดยทั่วไป โรคนี้จะได้รับการวินิจฉัยในคนที่อายุ 20 ปี ถึง 30 ปี แม้ว่าโรคดังกล่าวจะสามารถพัฒนาได้ในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย และพบอุบัติการณ์ของโรคในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2-3 เท่า

อาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

อาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งแตกต่างกันในแต่ละบุคคลค่อนข้างมาก และอาจส่งผลต่อส่วนใดของร่างกายก็ได้

อาการที่พบได้เป็นหลัก ได้แก่:

  • อาการเมื่อยล้า
  • เดินลำบาก
  • ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น มองภาพเบลอ
  • ปัญหาในการกลั้นปัสสาวะ
  • ความรู้สึกเหน็บ หรืออาการชาในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • กล้ามเนื้อเกร็งแข็งและชักกระตุก
  • ปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว และการประสานงานของกล้ามเนื้อ
  • ปัญหาเกี่ยวกับการคิด การเรียนรู้ และการวางแผน

ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่คุณเป็นตามบทความบทต่อไป อาการของคุณอาจเกิดขึ้นเป็นช่วง ๆ หรือเป็นอยู่ตลอดและเกิดการลุกลามแย่ลงเรื่อย ๆ

หากสงสัยว่าเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งควรเข้าพบแพทย์เมื่อใด

คุณควรเข้าพบแพทย์ประจำตัวของคุณหากคุณกังวลว่าคุณมีอาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งในช่วงเริ่มแรกของโรค

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการเริ่มแรกดังกล่าวนั้นมักมีสาเหตุได้หลากหลาย ดังนั้น จึงไม่จำเป็นว่าอาการเหล่านั้นต้องชี้ว่าคุณเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเสมอไป แจ้งอาการให้แพทย์ประจำตัวคุณทราบเกี่ยวกับรูปแบบของอาการ และลักษณะเฉพาะของมัน

หากแพทย์ประจำตัวคุณคิดว่าคุณเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง คุณอาจถูกส่งต่อให้กับแพทย์ประสาทวิทยา และอาจแนะนำการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อตรวจสอบลักษณะกายภาพของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเพิ่มเติม

ชนิดของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมักมีรูปแบบอาการแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ อาการเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งอาจเรียกว่าอาการกำเริบเป็นพัก ๆ หรือค่อย ๆ ลุกลามทีละน้อย

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งชนิดเป็น ๆ หาย ๆ  (Relapsing-remitting multiple sclerosis)

มากกว่า 8 คนในทุก 10 คนที่ป่วยเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมักได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นชนิดเป็น ๆ หาย ๆ

ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งชนิดจะมีช่วงของอาการที่เกิดขึ้นใหม่หรือช่วงที่อาการแย่ลง เรียกว่า การกลับมาเป็นซ้ำ (relapses) โดยปกติอาการนั้นจะเลวร้ายตลอดเวลาสองสามวัน หรือเป็นเวลาหลายวัน หลายสัปดาห์จนถึงเป็นเดือน จากนั้นจึงจะค่อย ๆ ดีขึ้นโดยใช้เวลาใกล้เคียงกัน

การกลับมาเป็นซ้ำมักเกิดขึ้นโดยไม่มีสัญญาณเตือน แต่บางครั้งก็สัมพันธ์กับช่วงเวลาที่เจ็บป่วยหรือเครียด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการของช่วงกลับมาเป็นซ้ำของโรคอาจหายไปโดยสิ้นเชิงทุกอาการพร้อมกัน  โดยอาจได้รับการรักษาหรือไม่ก็ได้ แม้ว่าอาจจะมีอาการบางอย่างที่มักคงอยู่ตลอดช่วงการกำเริบกลับมาเป็นซ้ำตลอดหลายปี

ช่วงเวลาระหว่างการกำเริบของโรคเรียกว่าช่วงไม่มีอาการ (remission) ซึ่งสามารถกินเวลาอยู่ได้เป็นหลายปีในแต่ละครั้ง

หลังจากเวลาหลายปีซึ่งมักนานกว่าสิบปี ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งชนิดเป็น ๆ หาย ๆ หลายคน จะพัฒนากลายเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งชนิดอาการลุกลามช่วงหลัง (Secondary progressive MS) ในโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งชนิดนี้อาการจะค่อย ๆ แย่ลงเมื่อเวลาผ่านไปโดยไม่สามารถแยกช่วงอาการกำเริบอย่างได้อย่างชัดเจนเช่นเดิม แต่บางคนยังสามารถพบภาวะอาการกำเริบได้ในขั้นนี้เช่นกันแต่ไม่บ่อยนัก

ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งชนิดเป็น ๆ หาย ๆ มักพัฒนาไปเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งชนิดอาการลุกลามช่วงหลัง (Secondary progressive MS) ได้ภายใน 15-20 ปี และโอกาสเสี่ยงของการลุกลามของโรคเช่นนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งชนิดอาการลุกลามตั้งแต่แรก (Primary progressive MS)

มีเพียง 1 ใน 10 คนของผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่อาการจะเริ่มแย่ลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่เริ่มแรก

ในโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งชนิดอาการลุกลากตั้งแต่แรกนี้ อาการจะค่อย ๆ แย่ลงและค่อย ๆ มากขึ้นโดยใช้เวลาหลายปีและไม่มีระยะเวลาที่ไม่มีอาการของโรค (remission) แม้ว่าผู้ป่วยบางคนมีช่วงเวลาที่อาการของพวกเขาดูเหมือนเสถียรดีก็ตาม

สาเหตุของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเป็นโรคภูมิต้านตนเอง (autoimmune condition) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเกิดความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน และเข้าทำการทำลายอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่เป็นประโยชน์ของร่างกายแทน โดยในโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ส่วนที่ถูกทำลายคือเนื้อเยื่อประสาทของสมองหรือไขสันหลัง

ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งจะโจมตีชั้นที่อยู่ล้อมรอบเส้นประสาท และช่วยป้องกันเส้นประสาทที่เรียกว่า ชั้นเยื่อไมอีลิน (Myelin sheath) ทำให้เกิดความเสียหายและเกิดรอยแผลเป็นบนปลอกหุ้ม และอาจทำลายเส้นประสาทที่อยู่ภายในชั้นดังกล่าวไปด้วย ซึ่งหมายความว่าข้อความ หรือสัญญาณที่เดินทางไปตามเส้นประสาทจะถูกทำให้ช้าลงหรือถูกขัดขวาง

สาเหตุที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นนั้นยังไม่ถูกระบุแน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่คิดว่าเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมประกอบกันหลายปัจจัย

การรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ขณะนี้ยังไม่มีการรักษาสำหรับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งโดยเฉพาะ แต่การรักษาหลายรูปแบบสามารถช่วยควบคุมอาการของโรคให้ดีขึ้นได้

การรักษาที่คุณต้องการจะขึ้นอยู่กับอาการที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคล และความรุนแรงของอาการเหล่านั้น ได้แก่:

  • รักษาช่วงอาการกำเริบของโรคด้วยการใช้ยาสเตียรอยด์ในระยะสั้นเพื่อเร่งการฟื้นฟูของร่างกาย
  • การรักษาเฉพาะอาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งแต่ละอาการ
  • การรักษาเพื่อลดจำนวนช่วงอาการกำเริบโดยการใช้ยาเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบของโรค

การรักษาเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบของโรคอาจช่วยชะลอหรือลดการรุนแรงของความพิการโดยรวมในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งชนิดเป็น ๆ หาย ๆ และชนิดลุกลามภายหลังซึ่งยังคงมีอาการกำเริบได้

แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่สามารถชะลอความคืบหน้าของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งชนิดลุกลามตั้งแต่แรก หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งชนิดลุกลามภายหลังที่ไม่มีอาการกำเริบได้เลย

ปัจจุบัน กำลังมีการวิจัยที่กำลังค้นหาการรักษากลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวด้วยวิธีต่าง ๆ มากมาย

ภาพอนาคตของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเป็นความผิดปกติที่ทำให้การใช้ชีวิตยากลำบากยิ่งขึ้นอย่างมาก แต่การรักษาใหม่ ๆ ที่ถูกค้นพบในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคดังกล่าวได้เป็นอย่างมีนัยสำคัญ

ตัวโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเองนั้นแทบจะไม่ทำให้เกิดอาการที่ถึงแก่ชีวิต แต่ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคดังกล่าวนั้นสามารถมีอาการรุนแรงได้ เช่น การติดเชื้อในทรวงอก หรือการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ หรือการกลืนลำบาก

อายุขัยเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งจะลดลงจากค่าเฉลี่ยโดยทั่วไปประมาณ 5 ถึง 10 ปี และด้วยการศึกษาวิจัยในปัจจุบัน ช่องว่างระหว่างบุคคลทั่วไปและผู้ป่วยโรคดังกล่าวดูเหมือนจะค่อย ๆ เล็กลงตลอดเวลา

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/multiple-sclerosis-ms


29 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alzheimer's disease - Causes. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/alzheimers-disease/causes/)
Alzheimer's disease: Symptoms, stages, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/159442)
What Is Alzheimer's Disease?. National Institute on Aging. (https://www.nia.nih.gov/health/what-alzheimers-disease)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป