การใช้ชีวิตกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การใช้ชีวิตกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

เนื่องจากความผิดปกติที่ส่งผลในระยะยาว เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งนี้สามารถสร้างความเครียดและความกดดันกับคุณ ครอบครัวของคุณ และเพื่อนของคุณได้ จึงอาจเป็นการยากที่จะพูดคุยกับผู้อื่นเกี่ยวกับสภาวะโรคของคุณ แม้จะเป็นคนใกล้ตัวคุณก็ตาม

การจัดการกับอาการที่ค่อย ๆ แย่ลง เช่น อาการมือเท้าสั่น หรือความยากลำบากในการเคลื่อนไหวที่เพิ่มขึ้น สามารถทำให้ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งท้อแท้ ผิดหวังและหดหู่ และไม่นานคู่สมรส แฟน หรือผู้ดูแลของพวกเขาจะรู้สึกสับสน กระวนกระวายหรือผิดหวังตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

จงซื่อสัตย์กับสิ่งที่คุณรู้สึก คุยอย่างเปิดอกถึงความรู้สึกของคุณให้ครอบครัวและเพื่อนของคุณทราบว่าพวกเขาสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วย อย่ากลัวหรือเกรงใจในการบอกกับพวกเขาว่าคุณต้องการเวลาสำหรับตัวเองมากขึ้นหากนั่นเป็นสิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำ

ความช่วยเหลือและสนับสนุน

หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ ให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือบุคลากรที่ดูแลคุณซึ่งอาจสามารถให้ความมั่นใจกับคุณหรือแจ้งให้คุณทราบเกี่ยวกับความช่วยเหลือหรือการสนับสนุนอื่น ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน คุณอาจพบว่าการพูดคุยกับนักบำบัดที่ได้รับการฝึกฝนหรือนักจิตวิทยานั้นเป็นประโยชน์ หรือแม้แต่การคุยกับสายด่วนผู้เชี่ยวชาญเรื่องปัญหาดังกล่าวก็ช่วยผ่อนคลายอารมณ์และความกังวลลงได้

บางคนพบว่าการพูดคุยกับคนอื่น ๆ ที่เป็นโรคเดียวกันนั้นมีประโยชน์ โดยอาจคุยกันต่อหน้าในกลุ่มสนับสนุนในท้องถิ่น หรือผ่านทางห้องสนทนาในอินเทอร์เน็ตก็ได้

การดูแลและบริการสนับสนุน

เป็นสิ่งที่ดีที่คำนึงถึงความต้องการเฉพาะของคุณและสิ่งที่คุณอาจต้องการเพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดไว้ล่วงหน้า  ตัวอย่างเช่น ถ้าหากการทรงตัวและการประสานงานของคุณมีปัญหา คุณอาจต้องการคิดเกี่ยวกับอุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยในการเดิน และการปรับแต่งต่าง ๆ ในบ้าน

การมีบุตรในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

การได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งจริง ๆ แล้วไมส่งผลต่อความสามารถในการมีบุตร อย่างไรก็ตาม ยาบางชนิดที่ถูกใช้กับผู้ป่วยโรคดังกล่าวอาจมีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ทั้งในเพศชายและหญิง

หากคุณกำลังพิจารณาการเริ่มต้นครอบครัว และการมีบุตรให้ปรึกษาเรื่องนี้กับทีมดูแลสุขภาพของคุณซึ่งสามารถให้คำแนะนำได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การตั้งครรภ์ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ผู้หญิงที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งสามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติ สามารถคลอดทารกที่มีสุขภาพดี และสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยตนเองได้ในภายหลัง

การอุ้มท้องลูกน้อยไม่ส่งผลระยะยาวต่อโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และช่วงอาการกำเริบของโรคมีแนวโน้มที่จะไม่เกิดขึ้นในช่วงขณะตั้งครรภ์ แม้ว่าจะเกิดถี่มากขึ้นในช่วงหลายเดือนหลังคลอดแล้วก็ตาม

คุณอาจจำเป็นต้องใช้ยาต่าง ๆ ต่อไปตามที่แพทย์สั่งตลอดการตั้งครรภ์ของคุณ อย่างไรก็ตาม ควรงดยาบางอย่างในระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้นคุณควรปรึกษาเรื่องนี้กับแพทย์ประจำตัวของคุณ

เงินและการสนับสนุนทางการเงิน

ถ้าคุณต้องหยุดทำงานหรือทำงานนอกเวลาเนื่องจากภาวะของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งของคุณ คุณอาจพบว่ายากที่จะรับมือกับรายง่ายมากมากที่มีอยู่ คุณอาจมีสิทธิได้รับการสนับสนุนทางการเงินได้หลายทางโดยอาจจำเป็นต้องปรึกษากับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และสถาบันสังคมสงเคราะห์ในท้องถิ่นของคุณ

การขับรถในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง คุณต้องแจ้งกับหน่วยงานออกใบอนุญาตขับขี่ และแจ้งบริษัทประกันภัยรถยนต์ของคุณ

ในหลาย ๆ กรณี คุณจะสามารถขับรถด้วยตนเองได้ต่อไป แต่จะขอให้คุณกรอกแบบฟอร์มเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะโรคของคุณ ตลอดจนรายละเอียดของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของคุณ หน่วยงานออกใบอนุญาตขับขี่จะใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อตัดสินใจว่าคุณควรขับรถได้อยู่หรือไม่

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/multiple-sclerosis-ms#living-with


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Managing Personality and Behavior Changes in Alzheimer's. National Institute on Aging. (https://www.nia.nih.gov/health/managing-personality-and-behavior-changes-alzheimers)
How Are We Going To Live With Alzheimer’s Disease?. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4349350/)
Alzheimer's Disease Living & Managing. WebMD. (https://www.webmd.com/alzheimers/guide/alzheimers-disease-living-managing)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป