สาเหตุและการวินิจฉัยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
สาเหตุและการวินิจฉัยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ปัจจัยกรรมพันธุ์และปัจจัยสิ่งแวดล้อมมีส่วนร่วมทำให้เกิดโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โดยแพทย์จะใช้การตรวจร่างกาย การตรวจระบบประสาท การตรวจเพิ่มเติม และการถ่ายภาพรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อวินิจฉัยโรคดังกล่าว

สาเหตุของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

สาเหตุที่ผู้ป่วยเกิดอาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งขึ้นนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยโรคดังกล่าวนั้นไม่ได้เกิดจากกิจกรรมที่คุณเคยทำและยังไม่ชัดเจนว่ามีวิธีใดที่จะสามารถป้องกันโรคดังกล่าวได้หรือไม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

องค์ความรู้ในปัจจุบันนั้นชี้ให้เห็นว่าโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเกิดจากการรวมกันของปัจจัยทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเป็นภาวะความผิดปกติของระบบภูมิต้านทาน หมายความว่าระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายของคุณซึ่งทำหน้าที่กำจัดและทำลายสิ่งแปลกปลอม

แต่สำหรับผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยจะโจมตี ชั้นเยื่อไมอีลินในสมองและเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่งเป็นชั้นที่ล้อมรอบเส้นประสาทของคุณซึ่งทำหน้าปกป้องและช่วยเหลือเส้นประสาทให้สัญญาณกระแสประสาทเดินทางจากสมองไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

การโจมตีจากระบบภูมิคุ้มกันนั้นจะทำให้เปลือกเยื่อไมอีลินเกิดการอักเสบขึ้นเป็นแผ่นแผลเล็ก ๆ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยการตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือที่เรียกง่าย ๆ ว่าเอ็มอาร์ไอ

แผ่นแผลของการอักเสบเหล่านี้สามารถทำลายข้อความที่เดินทางไปตามเส้นประสาท โดยอาจทำให้สัญญาณดังกล่าวช้าลง เกิดความสับสน ส่งผิดทาง หรือหยุดสัญญาณดังกล่าวไม่ให้ส่งต่อไปได้เลย การหยุดชะงักของสัญญาณกระแสประสาทนำไปสู่การเกิดอาการและอาการแสดงของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

เมื่อการอักเสบนั้นหายไปแล้วก็สามารถทิ้งแผลเป็นบนชั้นเยื่อไมอีลินได้เกิดส่วนแข็งกระด้างขึ้นมา การโจมตีชั้นเยื่อไมอีลินที่หุ้มเส้นประสาทเหล่านี้หากเกิดขึ้นบ่อยครั้งและซ้ำแล้วซ้ำอีกในที่สุดก็สามารถนำไปสู่ความเสียหายถาวรต่อเส้นประสาทที่อยู่ข้างใต้ได้อีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของการเกิดโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ไม่ชัดเจนว่าสาเหตุใดที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันจึงเข้าโจมตีชั้นเยื่อไมอีลินดังกล่าว

ดูเหมือนว่าจะมีสาเหตุบางส่วนเกิดจากทั้งยีนที่คุณได้รับสืบทอดมาจากพ่อแม่และบางส่วนเป็นปัจจัยสิ่งแวดล้อมซึ่งร่วมทำให้เกิดภาวะดังกล่าว

บางส่วนของปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุที่เป็นไปได้ของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ได้แก่:

  • พันธุกรรมของคุณ - โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์โดยตรง แต่หากประวัติครอบครัวของคนใดคนหนึ่งนั้นพบว่ามีญาติเคยเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งก็ทำให้มีโอกาสเพิ่มขึ้นในการเกิดโรคเดียวกัน โอกาสของพี่ น้องหรือลูกของผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งจะเกิดโรคดังกล่าวเช่นกันอยู่ที่ประมาณ 2-3%
  • ไม่ได้รับแสงแดดและขาดวิตามีนดี -  การใช้ชีวิตอยู่ในบางประเทศที่ห่างไกลจากเส้นศูนย์สูตรและไม่ค่อยมีแดดจัด ซึ่งนำไปสู่การขาดแสงแดดและระดับวิตามินดีที่ต่ำ ปัจจัยดังกล่าวนั้นอาจมีบทบาทในการพัฒนาโรคนี้ แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าอาหารเสริมวิตามินดีสามารถช่วยป้องกันโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งได้หรือไม่
  • การสูบบุหรี่ - คนที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มที่จะเกิดโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเป็นสองเท่าเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
  • การติดเชื้อไวรัส - มีหลักฐานว่าการติดเชื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อไวรัส Epstein-Barr ซึ่งทำให้เกิดไข้และต่อมน้ำเหลืองโตอาจก่อให้เกิดภาวะระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติที่นำไปสู่ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งในคนบางคน

จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจว่าเหตุใดโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งจึงเกิดขึ้นและสามารถทำได้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าว

การวินิจฉัยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

อาจเป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ว่าอาการของคุณอาจเกิดโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งในช่วงระยะแรกของโรคเนื่องจากอาการบางอย่างอาจคลุมเครือหรือคล้ายกับอาการของภาวะอื่น ๆ

คุณควรเข้าพบแพทย์ประจำตัวของคุณทันทีหากคุณคิดว่าคุณมีอาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง แจ้งแพทย์เกี่ยวกับประเภทและรูปแบบของอาการที่คุณพบอย่างละเอียดจะช่วยให้พวกเขาทราบว่าคุณนั้นเสี่ยงที่จะเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือไม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปของคุณคิดว่าคุณเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง คุณอาจได้รับการส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทเพื่อประเมินภาวะต่าง ๆ เพิ่มเติม

การตรวจสำหรับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

การวินิจฉัยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีความซับซ้อนเนื่องจากไม่มีการทดสอบใดเพียงชนิดเดียวที่สามารถวินิจฉัยภาวะดังกล่าวได้ทันที สาเหตุอื่น ๆ ที่เป็นไปได้ของอาการทั้งหลายของคุณอาจต้องถูกตัดออกไปเสียก่อน

นอกจากนี้ ยังอาจไม่สามารถยืนยันการวินิจฉัยได้หากคุณมีช่วงอาการกำเริบของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเพียงแค่ครั้งเดียว การวินิจฉัยสามารถเกิดขึ้นได้หากมั่นใจเมื่อมีหลักฐานว่ามีช่วงอาการกำเริบอย่างน้อยสองครั้ง โดยอาจรวมถึงสัญญาณการกำเริบจากเครื่องเอกซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า หรือเครื่องเอ็มอาร์ไอที่คุณอาจไม่รู้ตัวรวมไปด้วย

การตรวจบางอย่างนั้นจำเป็นเพื่อทำการยืนยันโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ดังนี้

การตรวจระบบประสาท

แพทย์ประสาทวิทยาของคุณจะตรวจหาความผิดปกติ การเปลี่ยนแปลง หรือความอ่อนแรงของสายตา การเคลื่อนไหวของดวงตา ความแข็งแรงของมือหรือขา การทรงตัว และการประสานงาน การพูดรวมถึงรีเฟล็กซ์ของร่างกาย

ความผิดปกติต่าง ๆ เหล่านี้อาจแสดงว่าเส้นประสาทของคุณเสียหายในลักษณะที่เกิดจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือไม่

การถ่ายเอกซ์เรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอ็มอาร์ไอ

การถ่ายเอกซ์เรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นการตรวจสแกนที่ไม่เจ็บปวดซึ่งใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุสัญญาณแรงเพื่อสร้างภาพที่ละเอียดมากขึ้นจากร่างกาย

การตรวจดังกล่าวสามารถแสดงให้เห็นว่ามีความเสียหายหรือแผลเป็นบนชั้นเยื่อไมอีลิน ซึ่งเป็นชั้นเนื้อเยื่อที่ล้อมรอบเส้นประสาทในสมองและไขสันหลังอักเสบของคุณหรือไม่ การค้นพบนี้สามารถช่วยยืนยันการวินิจฉัยในคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งได้

เครื่องเอ็มอาร์ไอโดยมาตรฐานลักษณะเหมือนหลอดขนาดใหญ่หรืออุโมงค์ เครื่องนั้นมักมีเสียงดัง และบางคนอาจรู้สึกอึดอัดในขณะที่ทำการสแกน ให้แจ้งแพทย์ประสาทวิทยาว่าคุณกังวลเรื่องนี้หรือไม่

เครื่องรุ่นใหม่ ๆ นั้นขนาดใหญ่ โล่งมากขึ้นและทำงานไวกว่าที่เคยใช้ในอดีต และคนส่วนใหญ่สามารถทำการสแกนได้โดยไม่มีปัญหาความอึดอัดใด ๆ

การตรวจการตอบสนองต่อการกระตุ้น (Evoked potential test)

มีชนิดการตรวจการตอบสนองต่อการกระตุ้นหลายแบบ

ชนิดที่มักใช้ตรวจมากที่สุดคือการประเมินว่าดวงตาทำงานได้ดีเพียงใด แสงรูปแบบต่าง ๆ จะปรากฏต่อหน้าดวงตาของคุณระหว่างที่คลื่นสมองของคุณได้รับการตรวจสอบไปพร้อมกันโดยใช้แผ่นแปะเล็ก ๆ ที่เรียกว่าขั้วไฟฟ้า (electrodes) วางอยู่บนศีรษะ

การตรวจดังกล่าวเป็นการตรวจที่ไม่เจ็บปวดและสามารถแสดงให้เห็นว่าสมองของคุณใช้เวลานานกว่าปกติเพื่อรับข้อความหรือไม่

การเจาะน้ำไขสันหลัง (Lumbar puncture)

การเจาะตรวจน้ำไขสันหลังจากช่วงเอวเป็นขั้นตอนเพื่อนำตัวอย่างของน้ำไขสันหลังของคุณออกมาตรวจโดยการใส่เข็มจิ้มลงบนหลังส่วนล่าง น้ำไขสันหลังเป็นของเหลวที่อยู่รอบ ๆ สมองและเส้นประสาทไขสันหลังของคุณ และการเปลี่ยนแปลงของของเหลวดังกล่าวสามารถชี้ให้เห็นปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทได้

ขั้นตอนดังกล่าวจะกระทำภายใต้ยาชาเฉพาะที่ซึ่งหมายความว่าคุณจะตื่นและมีสติอยู่ครบถ้วน แต่บริเวณที่เข็มจะจิ้มลงไปนั้นจะชาและไม่มีความรู้สึก ตัวอย่างจะถูกนำมาตรวจหาเซลล์ภูมิคุ้มกันและแอนติบอดีซึ่งเป็นสัญญาณว่าระบบภูมิคุ้มกันของคุณนั้นกำลังต่อสู้กับโรคหรือสิ่งแปลกปลอมในสมองหรือไขสันหลังคุณหรือไม่

การเจาะตรวจน้ำไขสันหลังเป็นเรื่องที่ปลอดภัยมาก แต่มักทำให้เกิดความอึดอัดได้บ้าง และอาจทำให้ปวดศีรษะเป็นครั้งคราวได้นานถึงสองสามวัน

การเจาะเอวมักจะดำเนินการเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมหากอาการหรือการสแกนของคุณผิดปกติ

การตรวจเลือด

การตรวจเลือดมักทำเพื่อตัดความผิดปกติอื่น ๆ ออกไป เช่น อาการขาดวิตามิน หรือภาวะอื่นที่หายากมาก แต่อาจมีลักษณะอาการคล้ายกันมากซึ่งชื่อว่า โรคเส้นประสาทตากับไขสันหลังอักเสบ (neuromyelitis optica)

การวินิจฉัยชนิดของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

เมื่อได้รับการวินิจฉัยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งแล้ว แพทย์ประสาทวิทยาของคุณอาจทำการระบุชนิดของ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งด้วย

โดยการวินิจฉัยชนิดมักขึ้นอยู่กับ:

  • รูปแบบของอาการของคุณ เช่น คุณมีช่วงอาการกำเริบหรือแย่ลง (relapses) สลับกับช่วงที่ไม่มีอาการ (remissions) หรือไม่ หรือว่ามีอาการอยู่ตลอดเวลาและแย่ลงเรื่อย ๆ หรือไม่
  • ผลของการทำการตรวจเอ็มอาร์ไอ - เช่น พบว่ามีหลักฐานว่าแผ่นแผลในระบบประสาทของคุณมีการพัฒนาในเวลาที่ต่างกันและในส่วนที่แตกต่างกันในร่างกายของคุณหรือไม่

แต่ชนิดของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่คุณเป็นมักจะชัดเจนมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป เพราะอาการของ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งจะแตกต่างกันไปและไม่อาจคาดการณ์ได้ โดยอาจต้องเวลาสองถึงสามปีในการวินิจฉัยโรคโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งชนิดลุกลามเนื่องจากอาการจะค่อย ๆ แย่ลงอย่างช้า ๆ

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/multiple-sclerosis-ms#causes


38 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Multiple sclerosis (MS): Types, symptoms, and causes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/37556)
Degenerative Disc Disease Treatment, Symptoms & Causes. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/degenerative_disc/article.htm)
Facet joint syndrome: from diagnosis to interventional management. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6206372/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป