แม้ว่าจะยังไม่มีวิธีการรักษาไมเกรนให้หายขาด แต่มีการรักษาไมเกรนด้วยยาหลายชนิดซึ่งมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการและป้องกันไมเกรนในปัจจุบัน
https://www.istockphoto.com/th/photo/man-helping-his-ill-wife-giving-medicine-gm871125830-145505819
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อาจต้องใช้เวลาช่วงเวลาหนึ่งถึงจะทราบว่าวิธีการรักษาไหนดีที่สุดสำหรับคุณ คุณอาจจำเป็นต้องทดลองรักษาด้วยยาที่แตกต่างกันหลายชนิด หรือใช้ยาร่วมกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ก่อนที่จะเจอว่ายาใดมีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับคุณ
หากคุณไม่สามารถควบคุมอาการของโรคไมเกรนได้ด้วยการใช้ยาทั่วไปที่หาซื้อได้ง่าย การไปพบแพทย์ แพทย์อาจมีการสั่งยาที่แรงมากขึ้นให้กับคุณ
ระหว่างมีอาการปวด
ผู้ป่วยจำนวนมากพบว่าการนอนหลับหรือการนอนพักในห้องมืดคือวิธีที่ดีที่สุดที่ควรทำเมื่อมีอาการปวดศีรษะไมเกรน
สำหรับผู้ป่วยรายอื่นๆ อาจรู้สึกดีขึ้นเมื่อรับประทานบางอย่าง เป็นต้น
ยาแก้ปวด (painkillers)
ผู้ป่วยจำนวนมากที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนพบว่าการใช้ยาแก้ปวดทั่วไปที่หาซื้อได้ง่าย เช่น พาราเซตามอล (paracetamol), แอสไพริน (aspirin) และ ibuprofen-nsaid' target='_blank'>ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้
การใช้ยามีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อรับประทานทันทีที่มีอาการเริ่มแรกของไมเกรน เพราะจะมีเวลาเพียงพอให้ยาถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและออกฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ไม่แนะนำให้รอจนกระทั่งอาการปวดศีรษะแย่ลงก่อนที่จะรับประทานยาแก้ปวด เพราะมักจะช้าเกินไปที่ยาจะออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยาแก้ปวดชนิดเม็ดที่เป็นสารละลายอยู่หรือเม็ด หรือยาแก้ปวดแบบเม็ดละลายน้ำ ถือเป็นยาทางเลือกที่ดีเพราะยาดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เร็ว
หากคุณไม่สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ เช่น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน การใช้ยาแก้ปวดแบบเหน็บทางทวารหนักอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า
ข้อควรระวัง
ระหว่างรับประทานยาแก้ปวดที่คุณหาซื้อมารับประทานเอง ขอแนะนำให้คุณอ่านวิธีใช้บนฉลากยาและปฏิบัติตามคำแนะนำการรับประทานบนฉลากเสมอ
ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 16 ปี ไม่ควรรับประทานยาแอสไพริน (aspirin) ยกเว้นแพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ ยาแอสไพริน (aspirin) และยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ใหญ่ที่มีประวัติเป็นโรคกระเพาะอาหาร, โรคตับ หรือโรคไต
การรับประทานยาแก้ปวดบ่อยครั้งเกินไปจะทำให้อาการปวดศีรษะไมเกรนแย่ลงได้ บางครั้งเราเรียกกรณีนี้ว่า “โรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกิน (medication overuse headache หรือ painkiller headache)
ขอแนะนำให้คุณไปพบแพทย์หากคุณจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดซ้ำหรือการใช้ยาแก้ปวดไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดให้กับคุณได้ แพทย์อาจพิจารณาจ่ายยาแก้ปวดที่แรงขึ้น หรือแนะนำให้คุณใช้ยาแก้ปวดร่วมกับยาในกลุ่มทริปแทน (triptans) ถ้าแพทย์พิจารณาแล้วว่าการใช้ยาแก้ปวดบ่อยครั้งของคุณอาจส่งเสริมให้คุณกลับมามีอาการปวดศีรษะอีก แพทย์อาจแนะนำให้คุณหยุดใช้ยาแก้ปวดนั้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ยาในกลุ่มทริปแทน (Triptans)
หากยาแก้ปวดทั่วๆ ไป ไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดให้กับคุณได้ คุณควรเข้าพบแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้คุณรับประทานยาแก้ปวดชนิดอื่น ได้แก่ ยาในกลุ่มทริปแทน (triptan) และอาจได้รับยาแก้อาเจียนร่วมด้วย
ยาในกลุ่มทริปแทน เป็นยาแก้ปวดที่จำเพาะเจาะจงกับอาการปวดศีรษะแบบไมเกรน โดยยาจะช่วยทำให้การเปลี่ยนแปลงในสมองที่เป็นสาเหตุของไมเกรนกลับมาเป็นปกติ
ในการเกิดอาการของไมเกรน เชื่อว่าส่วนหนึ่งเกิดจากเส้นเลือดในสมองมีการขยายตัว ทำให้ปวดศีรษะ ยาในกลุ่มทริปแทนจะออกฤทธิ์โดยไปทำหน้าที่หดหลอดเลือดภายในสมอง ทำให้ลดอาการปวดศีรษะได้
ยาในกลุ่มทริปแทนมีทั้งในรูปแบบยาเม็ด ยาฉีด และยาพ่นจมูก
ผลข้างเคียงของยาในกลุ่มทริปแทน คือ:
- ความรู้สึกอุ่น ร้อนผิดปกติ
- เหน็บชา เสียวซ่า
- หน้าแดง
- ความรู้สึกหนักๆ ที่ใบหน้า แขนขา หรือหน้าอก
ผู้ป่วยบางรายที่ใช้ยาในกลุ่มทริปแทนจะมีอาการคลื่นไส้ ปากแห้ง และง่วงนอน ซึ่งผลข้างเคียงเหล่านี้มักมีอาการไม่รุนแรงและอาการจะดีขึ้นเมื่อใช้ยาไปช่วงเวลาหนึ่ง
ยาในกลุ่มทริปแทนก็เหมือนกับยาแก้ปวดตัวอื่นๆ หากรับประทานยาในกลุ่มทริปแทนมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกินได้ (medication overuse headache)
แพทย์มักจะนัดหมายคุณมาติดตามอาการภายหลังคุณรับประทานยาในกลุ่มทริปแทนครบตามแพทย์สั่งแล้ว ซึ่งคุณสามารถพูดคุยปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับประสิทธิภาพของยาและผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาในกลุ่มนี้
หากการใช้ยามีประโยชน์สำหรับคุณ แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยวิธีนี้ต่อไป แต่ถ้ายาตัวแรกที่ได้ไปไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอหรือเกิดผลข้างเคียงที่คุณไม่สามารถทนได้ แพทย์อาจพิจารณาจ่ายยาในกลุ่มทริปแทนรายการอื่นๆ ให้กับคุณ เพราะยาในกลุ่มนี้แต่ละตัวยาจะมีการตอบสนองแตกต่างกัน
ยาต้านอาเจียน (anti-sickness medicines หรือ anti-emetics)
ยาต้านอาเจียนอาจมีประสิทธิภาพในการรักษาไมเกรนในผู้ป่วยบางราย แม้ว่าผู้ป่วยรายนั้นจะไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เลยก็ตาม ยาต้านอาเจียนนั้นจะถูกสั่งโดยแพทย์ และสามารถรับประทานพร้อมกับยาแก้ปวดและยาในกลุ่มทริปแทนตัวอื่นๆ ได้
ยาต้านอาเจียนก็คล้ายกับยาแก้ปวดตัวอื่นๆ คือ ยาจะออกฤทธิ์ได้ดียิ่งขึ้นหากรับประทานยานี้ทันทีที่เริ่มมีอาการไมเกรนเกิดขึ้น ยาต้านอาเจียนมักอยู่ในรูปยาเม็ด
ผลข้างเคียงของยาต้านอาเจียน ได้แก่ ง่วงนอน และท้องเสีย
ยาสูตรผสม (combination medicines)
คุณสามารถหาซื้อยาสูตรผสมสำหรับรักษาไมเกรนได้จากร้านขายยาทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ ยาสูตรผสมจะประกอบด้วยยาแก้ปวดและยาแก้อาเจียนอยู่ในเม็ดเดียวกัน หากคุณไม่มั่นใจว่ายาไหนมีความเหมาะสมกับคุณ ขอให้สอบถามจากเภสัชกรประจำร้านยา
ยาในกลุ่มทริปแทนจะมีประสิทธิภาพสูงมากหากให้ร่วมกับยาแก้ปวดชนิดอื่น เช่น ยาแก้ปวดไอบูโพรเฟน (ibuprofen) เป็นต้น
ผู้ป่วยสามารถหาซื้อยาสูตรผสมดังกล่าวนี้ได้โดยสะดวก อย่างไรก็ตามขนาดยาแก้ปวดหรือขนาดยาต้านอาเจียนที่อยู่ในเม็ดเดียวกันอาจไม่สูงพอที่จะควบคุมอาการ หากเกิดกรณีนี้ขึ้น คุณอาจจำเป็นต้องรับประทานยาแยกเม็ดกันระหว่างยาแก้ปวด และยาต้านอาเจียน ซึ่งจะช่วยให้คุณปรับขนาดยาแต่ละชนิดได้ง่ายขึ้น
เมื่อไรควรพบผู้เชี่ยวชาญ
หากการรักษาต่างๆ ข้างต้นไม่สามารถควบคุมอาการไมเกรนของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ แพทย์อาจพิจารณาส่งต่อคุณไปรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไมเกรนเพื่อรับการตรวจเพิ่มเติมและรับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
นอกเหนือไปจากรายการยาที่กล่าวไว้ข้างต้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำการรักษาอื่นให้กับคุณ เช่น การกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็กผ่านกะโหลกศีรษะ (transcranial magnetic stimulation)
การกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็กผ่านกะโหลกศีรษะ (transcranial magnetic stimulation)
ในเดือน มกราคม ปี ค.ศ.2014 สถาบันแห่งชาติเพื่อความเป็นเลิศด้านสุขภาพและการแพทย์ของประเทศอังกฤษ (National Institute for Health and Care Excellence (NICE)) ได้อนุมัติการรักษาด้วยวิธีการกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็กผ่านกะโหลกศีรษะ (transcranial magnetic stimulation; TMS) สำหรับรักษาและป้องกันไมเกรน
วิธีการกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็กผ่านกะโหลกศีรษะจะมีการวางขดลวดขนาดเล็กไว้ที่บริเวณศีรษะเพื่อนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซ้ำๆ ผ่านเข้าไปทางผิวหนัง ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าวิธีการกระตุ้นด้วยวิธีนี้รักษาโรคไมเกรนได้อย่างไร แต่มีข้อมูลการศึกษาพบว่าการใช้เครื่องมือนี้ตั้งแต่เริ่มมีอาการของไมเกรนจะช่วยลดความรุนแรงของไมเกรนได้ การรักษาด้วยการกระตุ้นสมองวิธีนี้สามารถใช้ร่วมกับรายการยาที่กล่าวไว้ข้างต้นโดยไม่เกิดการรบกวนกัน
อย่างไรก็ตามการกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็กผ่านกะโหลกศีรษะ ไม่ใช่วิธีรักษาไมเกรนให้หายขาด และไม่ได้มีความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยทุกคน โดยหลักฐานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการรักษาด้วยวิธีนี้ยังมีไม่มาก และประสิทธิภาพจำกัดเฉพาะผู้ป่วยไมเกรนชนิดมีอาการเตือนล่วงหน้า (migraine with aura)
ข้อมูลเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยวิธีนี้ในระยะยาวยังมีไม่มากนัก แต่ข้อมูลเท่าที่มีการศึกษาในปัจจุบันพบผลข้างเคียงในระดับเล็กน้อยและเป็นผลข้างเคียงชั่วคราว ได้แก่:
- เวียนศีรษะเล็กน้อย
- ง่วงนอน และอ่อนเพลีย
- กล้ามเนื้อสั่น ซึ่งอาจทำให้ยืนได้ยาก
- รู้สึกหงุดหงิด
สถาบันแห่งชาติเพื่อความเป็นเลิศด้านสุขภาพและการแพทย์ของประเทศอังกฤษ แนะนำว่าการรักษาด้วยการกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็กผ่านกะโหลกศีรษะนั้นควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านปวดศีรษะในโรงพยาบาลที่มีความพร้อมเท่านั้น เนื่องจากยังไม่ทราบถึงผลข้างเคียงในระยะยาวจากการรักษาด้วยวิธีนี้ ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเก็บบันทึกประสบการณ์เกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีนี้ไว้ด้วย
การรักษาไมเกรนสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร
โดยทั่วไป ควรจำกัดการใช้ยารักษาไมเกรนในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยแนะนำให้พยายามหาสาเหตุและหลีกเลี่ยงสาเหตุกระตุ้นให้เกิดอาการของไมเกรนแทน
หากคุณมีความจำเป็นต้องใช้ยา แพทย์อาจพิจารณาจ่ายยาแก้ปวดในขนาดต่ำ เช่น ยาพาราเซตามอล (paracetamol) และในผู้ป่วยบางรายอาจมีการจ่ายยาต้านการอักเสบ (anti-inflammatory drugs) หรือยาในกลุ่มทริปแทน (triptans) และแนะนำให้คุณปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาใดๆ ระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/migraine#treatment