อาการปวดหัว นับว่าเป็นหนึ่งในอาการทั่วไปที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกๆ คน โดยปกติแล้วอาการปวดหัวบางชนิดสามารถหายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยา แต่หลายคนยังเลือกรับการรักษาด้วยการรับประทานยาแก้ปวดหัวเพราะคิดว่าจะได้หายเร็ว
แน่นอนว่ายาแก้ปวดชนิดต่างๆ ล้วนแล้วแต่ออกฤทธิ์ช่วยในการระงับและบรรเทาอาการปวด แต่รู้หรือไม่ว่า หากคุณรับประทานยาแก้ปวดหัวมากเกินไป อาจทำให้คุณกลับมาปวดหัวซ้ำอีกได้ไม่รู้จบ หรือที่เรียกกันว่า “โรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกิน”
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
จากการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยประมาณ 2 จาก 100 คนที่มีอาการปวดหัวอันมีสาเหตุมาจากการใช้ยาเกินขนาด โดยส่วนมากเป็นเพศหญิง หรือผู้ที่มีความตึงเครียดและภาวะโรคซึมเศร้า เป็นต้น
โรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกินคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร?
โรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกิน (Medication overuse headaches) จัดว่าเป็นโรคปวดศีรษะเรื้อรังที่เป็นผลมาจากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป ได้แก่ ยาแก้ปวดอะเซตามิโนเฟ่น (Acetaminophen หรือหลายคนรู้จักกันในชื่อพาราเซตามอล) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และนาพรอกเซน (naproxen)
ยาแก้ปวดเหล่านี้มักเป็นยาที่ออกฤทธิ์เพียงระยะสั้น ดังนั้นในบางกรณีเมื่อยาหมดฤทธิ์ แต่ผู้ป่วยยังมีอาการปวดอยู่ จึงทำให้ผู้ป่วยใช้ยาต่อเนื่องและเกินขนาด ซึ่งหากผู้ป่วยใช้ยาเหล่านี้มากกว่า 15 วันต่อเดือน ก็จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกินได้
อาการของโรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกิน
ถึงแม้ว่าอาการปวดหัวโดยทั่วไปจะสามารถจำแนกได้ยาก แต่ผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกินมักมีอาการปวดศีรษะทุกวัน ตำแหน่งและความรุนแรงของอาการมักจะแตกต่างกันตามแต่ละกรณี
อาจปวดเช่นเดียวกับอาการปวดที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ โดยส่วนมากจะมีลักษณะปวดตื้อๆ บีบๆ ซึ่งอาการเหล่านี้ต้องมีมากกว่า 15 วันต่อเดือน และมีประวัติการใช้ยาแก้ปวดต่อเนื่องประมาณ 3 เดือน
อย่างไรก็ดี ในผู้ป่วยบางรายอาจมีกลุ่มอาการนอกเหนือจากการปวดหัวร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน นอนไม่หลับ และท้องผูก ตลอดจนอาการทางระบบประสาทหรือทางจิตเวช เช่น หงุดหงิดง่าย กระวนกระวาย ซึมเศร้า สมาธิไม่ดี เป็นต้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การรักษาโรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกิน
โดยปกติแล้ว หากผู้ป่วยหยุดการใช้ยาแก้ปวดทันที การแสดงอาการของโรคอาจคงที่หรือแย่ลงชั่วคราว เช่น มีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ปวดเมื่อยตามร่างกาย วิตกกังวล หงุดหงิด เป็นต้น จากนั้นจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้
ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ก่อให้เกิดอาการของโรค เช่น ความเครียด
อย่างไรก็ดี ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวจากโรคอื่นๆ อยู่ก่อนแล้ว และไม่สามารถหยุดใช้ยาได้เลยทันที เช่น โรคไมเกรน โรคซึมเศร้า เหล่านี้อาจเริ่มจากการค่อยๆ ลดปริมาณการใช้ หรือหายากลุ่มใกล้เคียงมาทดแทน โดยจำเป็นจะต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้รักษา
การป้องกันโรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกิน
เพื่อให้การใช้ยาแก้ปวดหัวเป็นไปอย่างปลอดภัย ควรคำนึงถึงแนวทางการใช้ยาดังต่อไปนี้
- รับประทานยาแก้ปวดหัวเมื่อจำเป็น หรือตามแต่อาการ แต่ไม่ควรเกิน 2-3 วันต่อสัปดาห์ หรือน้อยกว่า 10 ครั้งต่อเดือน ควรปรึกษาแพทย์ หากจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดหัวเกิน 2 วันต่อสัปดาห์
- หากมีอาการปวดหัวมากกว่า 4 วันต่อเดือน ควรรีบพบแพทย์ เพื่อหาแนวทางการรักษา
- หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มบิวตาลบิตาล (Butalbital) หรือโอพิออยด์ (Opioids)
- หลีกเลี่ยงสาเหตุอันก่อให้เกิดอาการปวดหัว เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด
ถึงแม้ว่าการใช้ยาแก้ปวดหัว จะมีความเสี่ยงทำให้เกิดโรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกิน แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่ายาแก้ปวดหัวนั้นเป็นยาสามัญประจำบ้านที่ขาดไม่ได้ ดังนั้นการรู้จักวิธีใช้ยาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่เช่นนั้น ยาแก้ปวดอาจแปลเปลี่ยนเป็นยาที่ทำให้ปวดหัวได้ในที่สุด
ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android