การป้องกันไมเกรน

เผยแพร่ครั้งแรก 10 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การป้องกันไมเกรน

ในขณะนี้มีวิธีการหลายวิธีที่จะช่วยลดโอกาสของการเกิดอาการของไมเกรนได้  ได้แก่ การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการ และการใช้ยาเพื่อป้องกันไมเกรน เป็นต้น

การค้นหาสิ่งกระตุ้นไมเกรนและหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น

หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้มีอาการของไมเกรนก็คือการพยายามหาให้พบว่าอะไรคือปัจจัยกระตุ้นให้มีอาการ และให้พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นนั้นๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คุณอาจพบว่าคุณมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการของไมเกรนภายหลังการรับประทานอาหารบ้างชนิด หรือขณะที่คุณกำลังเครียด ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีอาการของไมเกรน คุณต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นดังกล่าว

การจดบันทึกไดอารี่ของไมเกรนจะมีประโยชน์ในการช่วยหาได้ว่าอะไรคือสิ่งกระตุ้นอาการและช่วยในการติดตามการใช้ยาว่ายาที่คุณกำลังใช้นั้นออกฤทธิ์ลดอาการของไมเกรนได้ดีหรือไม่อย่างไร

ในไดอารี่ที่จดบันทึก คุณควรจดบันทึกสิ่งต่อไปนี้:

  • วันที่มีอาการ
  • เวลาที่เริ่มมีอาการ
  • มีอาการเตือนอะไรบ้าง
  • อาการของไมเกรนที่คุณเป็น (มีอาการเตือนหรือไม่มีอาการเตือน)
  • ยาอะไรที่คุณรับประทาน
  • อาการหยุดลงเมื่อใด

ยาสำหรับป้องกันไมเกรน

มียาหลายตัวยาที่จะช่วยป้องกันไม่ให้มีอาการของไมเกรน ยาเหล่านี้มักถูกใช้เมื่อคุณได้พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการแล้ว แต่ยังคงมีอาการของไมเกรนอยู่

คุณอาจได้รับยานี้จากแพทย์หากคุณมีอาการของไมเกรนในระดับรุนแรงมาก หรือมีอาการของไมเกรนบ่อยครั้ง

รายชื่อยาหลักๆ ที่ใช้ในการป้องกันไมเกรน มีรายละเอียดดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยาโทไปราเมท (topiramate)

ยาโทไปราเมท (topiramate) เป็นยาที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อป้องกันอาการชักในผู้ป่วยโรคลมชัก แต่ในปัจจุบันยานี้ถูกใช้กันมากขึ้นในการป้องกันไมเกรน ซึ่งมีข้อมูลสนับสนุนว่ายานี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันไมเกรน ยานี้เป็นยาเม็ดและโดยทั่วไปจะรับประทานยานี้ทุกวัน

ยาโทไปราเมทต้องระวัดระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไตและโรคตับ และยานี้อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์หากรับประทานระหว่างการตั้งครรภ์ และยานี้ยังลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดด้วย ดังนั้นแพทย์จะแนะนำให้ผู้หญิงที่จำเป็นต้องรับประทานยานี้เลือกใช้การคุมกำเนิดด้วยวิธีการอื่น

ผลข้างเคียงของยาโทไปราเมท ได้แก่:

ยาโพรพาโนรอล (propranolol)

ยาโพรพาโนรอลเป็นยาที่ใช้ในการรักษาอาการเจ็บแน่นหน้าอก (angina) และรักษาความดันโลหิตสูง แต่ก็พบว่ายานี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันไมเกรนด้วย ยานี้เป็นยาเม็ดและโดยทั่วไปจะรับประทานทุกวัน

ยาโพรพาโนรอลไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคหอบหืด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease (COPD)) และโรคหัวใจบางชนิด และควรใช้อย่างระมัดระวังในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผลข้างเคียงของยาโพรพาโนรอล ได้แก่:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • มือเท้าเย็น
  • รู้สึกเหมือนถูกเข็มตำ
  • ปัญหาด้านการนอนหลับ
  • เหนื่อย อ่อนเพลีย

Botulinum toxin type A

ในเดือน มิถุนายน ค.ศ.2012 สถาบันแห่งชาติเพื่อความเป็นเลิศด้านสุขภาพและการแพทย์ของประเทศอังกฤษ (National Institute for Health and Care Excellence (NICE)) ได้แนะนำการใช้ยาที่ชื่อว่า botulinum toxin type A เพื่อป้องกันอาการปวดศีรษะในผู้ใหญ่บางรายที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนแบบเรื้อรัง โดยต้องใช้ยานี้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาอาการปวดศีรษะ

ยา Botulinum toxin type A คือชนิดของสารพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นอัมพาต แต่ยังไม่ทราบอย่างชัดเจนว่าเพราะอะไรยานี้จึงมีประสิทธิภาพในการรักษาไมเกรน

สถาบันแห่งชาติเพื่อความเป็นเลิศด้านสุขภาพและการแพทย์ของประเทศอังกฤษ แนะนำให้พิจารณาใช้ยานี้เป็นทางเลือกสำหรับการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนเรื้อรัง (มีอาการปวดศีรษะอย่างน้อย 15 วันต่อเดือน โดยต้องมีอย่างน้อย 8 ครั้งเป็นอาการปวดศีรษะไมเกรน) ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาป้องกันไมเกรนอย่างน้อย 3 ตัวยาขึ้นไป

ภายใต้แนวทางการรักษาโรคของสถาบันแห่งชาติเพื่อความเป็นเลิศด้านสุขภาพและการแพทย์ของประเทศอังกฤษระบุว่า ยา botulinum toxin type A ควรให้โดยการฉีดรอบๆ ศีรษะและด้านหลังของลำคอจำนวน 31-39 ตำแหน่งการฉีด โดยให้ยาทุกๆ 12 สัปดาห์

การป้องกันไมเกรนที่สัมพันธ์กับประจำเดือน (menstrual-related migraines)

ไมเกรนที่สัมพันธ์กับประจำเดือนมักเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 2 วันก่อนมีประจำเดือน ไปจนถึง 3 วันประจำเดือนหยุด ซึ่งไมเกรนชนิดนี้สามารถคาดการณ์การเกิดอาการได้ และมีโอกาสที่จะป้องกันได้โดยการรักษาด้วยยาที่ไม่ใช่ฮอร์โมน และการรักษาด้วยฮอร์โมน  

การรักษาด้วยยาที่ไม่ใช่ฮอร์โมน  (Non-hormonal treatments)

การรักษาด้วยยาที่ไม่ใช่ฮอร์โมนที่แนะนำ ได้แก่:

  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs))- คือยาแก้ปวดพื้นฐานที่ใช้บ่อย
  • ยากลุ่มทริปแทน (triptans)- คือยาที่จะไปทำหน้าที่หดหลอดเลือดในสมองที่ขยายอยู่ ซึ่งการขยายของหลอดเลือดคือปัจจัยที่ทำให้มีอาการปวดศีรษะไมเกรน

ยาเหล่านี้เป็นยารูปแบบเม็ด โดยจะรับประทานวันละ 2-4 ครั้ง ตั้งแต่วันที่เริ่มมีประจำเดือนหรือก่อนมีประจำเดือน 2 วัน จนกระทั่งวันสุดท้ายที่ประจำเดือนหยุด

การรักษาด้วยฮอร์โมน  (Hormonal treatments)

การรักษาด้วยฮอร์โมน ได้แก่:

  • ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (combined hormonal contraceptives) เช่น ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแบบเม็ด, แผ่นแปะ หรือแบบห่วงคุมกำเนิด
  • ยาคุมกำเนิดชนิดมีแต่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone-only contraceptives) เช่น ยาคุมกำเนิดชนิดมีแต่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนชนิดเม็ด, ชนิดฝัง,  หรือชนิดฉีด
  • เอสโตรเจน (oestrogen) แบบแผ่นแปะ หรือแบบเจล ซึ่งสามารถใช้ได้ตั้งแต่ 3 วันก่อนมีประจำเดือนและใช้ต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน

การใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดไม่สามารถใช้ในการป้องกันไมเกรนที่สัมพันธ์กับการมีประจำเดือนได้ในผู้หญิงที่มีอาการเตือนก่อนเกิดไมเกรน (aura) เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

การฝังเข็ม (Acupuncture)

หากการเลือกใช้ยาไม่เหมาะสมกับคุณ หรือไม่สามารถป้องกันไมเกรนได้ คุณอาจจำเป็นต้องพิจารณารักษาด้วยการฝังเข็ม

สถาบันแห่งชาติเพื่อความเป็นเลิศด้านสุขภาพและการแพทย์ของประเทศอังกฤษ กล่าวว่าการฝังเข็ม 10 เข็มในช่วง 5-8 สัปดาห์ อาจเป็นประโยชน์ในการรักษาไมเกรน

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/migraine#prevention


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Migraine - Prevention. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/migraine/prevention/)
List of Migraine Prevention (Migraine Prophylaxis) Medications (57 Compared). Drugs.com. (https://www.drugs.com/condition/migraine-prophylaxis.html)
Migraine prevention in adults. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK328460/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)