กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคฉี่หนู โรคที่มาคู่กับน้ำท่วม

เผยแพร่ครั้งแรก 22 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 22 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคฉี่หนู โรคที่มาคู่กับน้ำท่วม

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคฉี่หนู เป็นโรคที่มาพร้อมกับน้ำท่วม เพราะเชื้อแบคทีเรียที่มาจากโรคนี้ พบได้ในฉี่หนูที่ปะปนลงไปในแหล่งน้ำ 
  • ผู้ป่วยโรคฉี่หนูจะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ผื่นขึ้นตามตัว ตาแดง และท้องเสียร่วมด้วย
  • ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อเป็นโรคฉี่หนู ได้แก่ เกล็ดเลือดต่ำ ความดันโลหิตต่ำ ตับวาย บางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิต
  • ดูแลความสะอาดของบ้านเรือน ไม่ให้มีพาหะของโรคมาอาศัยอยู่เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
  • ถ้าคุณคิดว่าตนเองอาจจะเป็นโรคฉี่หนู สามารถดูและเทียบราคาแพ็กเกจปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ที่นี่

โรคฉี่หนู (Leptospirosis) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Leptospira ซึ่งก่อให้เกิดอาการป่วยในคนได้ อาการของโรคฉี่หนูจะปรากฏหลังจากร่างกายได้รับเชื้อในช่วง 1-2 สัปดาห์ โดยอาการที่พบได้ ได้แก่

  • มีไข้สูง หนาวสั่น และปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ข้อต่อ
  • มีผื่นขึ้นตามตัว
  • ตาแดงและระคายเคืองตา
  • อาจมีอาการเจ็บปวดช่องท้อง
  • เบื่ออาหารและท้องเสีย

ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการทั่วไปคล้ายกับไข้จากสาเหตุอื่น และจัดว่าไม่รุนแรงมากนัก สามารถรักษาให้หายได้ แต่ผู้ติดเชื้อบางรายอาจมีอาการที่รุนแรงขึ้น เช่น เจ็บหน้าอก ตัวเหลือง ตาเหลือง มือเท้าบวม หายใจลำบาก ไอเป็นเลือด มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ นอกจากนี้ ยังมีภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้อีก เช่น ภาวะไตวายเฉียบพลัน เกล็ดเลือดต่ำ ความดันโลหิตต่ำ ตับวาย หัวใจวาย ซึ่งอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของโรคฉี่หนู

เชื้อแบคทีเรีย Leptospira ที่ก่อให้เกิดโรคฉี่หนูนั้น พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น วัว กระบือ หมู และหนู เมื่อปัสสาวะและเลือดของสัตว์ที่ติดเชื้อเหล่านี้ปะปนมากับแหล่งน้ำ ดินโคลน และคนไปสัมผัสหรือเหยียบย่ำ เชื้อโรคจะสามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้ผ่านทางบาดแผล เยื่อบุตา ปาก และเยื่อบุผิวหนังที่แช่น้ำจนอ่อนนุ่ม นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้โรคฉี่หนูระบาดหนักในช่วงน้ำท่วม นอกจากนี้ คนที่ทำงานตามฟาร์มปศุสัตว์ หรือทำงานในโรงงานแล่เนื้อสัตว์ก็มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อได้สูง รวมถึงคนทั่วไปก็มีโอกาสติดเชื้อได้จากการปนเปื้อนมาในอาหารและน้ำดื่มเช่นกัน

การรักษาโรคฉี่หนู

หากวินิจฉัยแล้วพบว่าเป็นโรคฉี่หนู และมีอาการไม่รุนแรงมากนัก แพทย์จะรักษาโดยการให้ยา ซึ่งได้แก่ยาปฏิชีวนะ เช่น Penicillin และ Doxycycline โดยทานติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อกำจัดเชื้อ นอกจากนี้ อาจให้ยาแก้ปวดลดไข้ เช่น พาราเซตามอล ร่วมด้วย หากมีอาการที่รุนแรงขึ้น อาจต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาลและต้องฉีดยาปฏิชีวนะเข้าเส้นเลือดแทนการกิน และหากมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ก็ต้องรักษาไปตามอาการเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น เช่น ทำการล้างไตในผู้ที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน เป็นต้น

การป้องกันโรคฉี่หนู

  • หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ หรือลงไปสัมผัสกับแหล่งน้ำที่สกปรก หากจำเป็นควรสวมรองเท้าบู๊ตป้องกันไม่ให้น้ำมาโดนผิวหนัง และหลังจากลุยน้ำต้องรีบล้างเนื้อล้างตัวให้สะอาด
  • หากเป็นผู้ทำงานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น คนงานในฟาร์ม คนแล่เนื้อสัตว์ หรือชาวประมงที่ต้องอยู่กับแหล่งน้ำ ควรป้องกันเป็นพิเศษด้วยการสวมถุงมือยาวและรองเท้าบู๊ตขณะทำงาน
  • ดูแลความสะอาดของบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ไม่ให้มีหนูซึ่งเป็นพาหะของโรคมาอาศัยอยู่
  • ตรวจดูว่าในที่อยู่อาศัยไม่มีแหล่งน้ำขังที่สกปรก และเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรค
  • ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคฉี่หนูสำหรับคนและสัตว์ แต่ในประเทศไทยมีบริการฉีดวัคซีนสำหรับสัตว์เท่านั้น ซึ่งผู้เป็นเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์สามารถให้สัตว์เลี้ยงรับการฉีดวัคซีนได้เพื่อป้องกันการติดโรคฉี่หนู

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Flooding and communicable diseases fact sheet. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/hac/techguidance/ems/flood_cds/en/)
Hurricanes, Floods and Leptospirosis | Risk of Exposure | Leptospirosis. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/leptospirosis/exposure/hurricanes-leptospirosis.html)
Leptospirosis Outbreak After the 2014 Major Flooding Event in Kelantan, Malaysia: A Spatial-Temporal Analysis. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5953347/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)