การไม่ออกกำลังกาย ส่งผลร้ายต่อร่างกายอย่างคาดไม่ถึง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การไม่ออกกำลังกาย ส่งผลร้ายต่อร่างกายอย่างคาดไม่ถึง

การออกกำลังกายนั้น เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ส่งผลให้สุขภาพร่างกายของเรานั้นแข็งแรง และในทางกลับกันการที่เราไม่ออกกำลังกายนั้น ก็ส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นกัน นอกจากร่างกายจะไม่แข็งแรงแล้ว ยังมีโรคที่อาจเกิดขึ้นจากการไม่ออกกำลังกายตามอีกด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลร้ายในบางเรื่องที่คุณคาดไม่ถึงอีกด้วย

ทำให้รูปร่างไม่ดี ไม่มีกล้ามเนื้อ

หากคุณเป็นคนที่ไม่ออกกำลังกาย แม้ว่าคุณจะทานอาหารได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการมากเท่าใด รูปร่างของคุณก็อาจจะยังดูไม่ดี เท่าคนที่ทานอาหารธรรมดาๆแต่ออกกำลังกายเป็นประจำเสียด้วยซ้ำ เนื่องจากผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำจะมีการสร้างกล้ามเนื้อซึ่งทำให้มีรูปร่างที่ดูดีกว่าไม่มีกล้ามเนื้อ ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายนั้นหากทานมากไปก็จะทำให้อ้วน แต่ถ้าทานน้อยไปก็จะผอมไม่มีแรง แต่ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำปัญหาเรื่องนี้จะลดลง และมีรูปร่างที่ค่อนข้างสมส่วน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ

แม้จะไม่ได้ส่งผลเรื่องนี้โดยตรง แต่มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายนั้นจะมีการตื่นตัวที่ต่ำลงกว่าปกติ การระมัดระวังตัวก็จะลดลง ปฏิกิริยาในการหลบเลี่ยงอันตรายก็ลดลง ส่งผลให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้บ่อยกว่าผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ

การเจริญเติบโตของร่างกายต่ำ

การออกกำลังกายนั้นช่วยทำให้การหลั่งโกรธฮอร์โมนดีขึ้น การที่เราไม่ออกกำลังกายในวัยเด็กหรือวัยรุ่นทำให้ร่างกายเรานั้นเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ส่งผลให้เราเตี้ยกว่าที่เราควรจะเป็น และในวัยทำงานก็ยังทำให้ร่างกายได้รับการซ่อมแซมได้ช้ากว่าผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ

มักมีปัญหา ด้านสภาพจิตใจ และสังคม

คนที่ไม่ออกกำลังกายนั้น มีโอกาสเป็นผู้ที่เสพยาเสพติดมากกว่าผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ เนื่องจากการออกกำลังกายนั้น ช่วยให้เราผ่อนคลายจากความเครียด จึงไม่ต้องหันไปพึ่งพายาเสพติด ผู้ที่ออกกำลังกายนั้นจะมีอารมณ์ที่ปกติ ไม่ฉุนเฉียวได้ง่ายเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย

โอกาสเป็นโรคมากกว่าคนอื่น

ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคข้อต่อและกระดุก โรคระบบประสาทเสียสมดุล และโรคความดันสูง

มักมีอาการแปลกๆเกิดขึ้น

บางครั้งเรียกอาการแปลกๆเหล่านี้โดยรวม เรียกว่าโรคขาดการออกกำลังกาย เช่นอาการอ่อนเพลียแม้จะพักผ่อนเต็มที่ ง่วงในเวลากลางวัน นอนหลับยาก หน้ามืดได้ง่าย เหนื่อยง่าย ใจสั่น ระบบขับถ่ายไม่เป็นปกติ แพ้อากาศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น

การที่เราไม่ออกกำลังกายนั้นส่งผลเสียต่อร่างกาย มากกว่าการที่เราจะมีร่างกายที่ไม่แข็งแรงเท่าคนที่ออกกำลังกาย เพราะฉะนั้น เราควรหาเวลาว่างมาออกกำลังกายเสียบ้าง ควบคู่ไปกับการรักษาสุขภาพในแนวทางอื่นๆไปพร้อมๆกัน


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Fitness, not physical activity, mitigates negative effects of prolonged sitting. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/313657)
Health Risks of an Inactive Lifestyle. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/healthrisksofaninactivelifestyle.html)
Lack of exercise as 'deadly' as smoking. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/news/lifestyle-and-exercise/lack-of-exercise-as-deadly-as-smoking/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ

อัตราการเต้นของหัวใจคืออะไร สำคัญอย่างไร ค่าอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมในช่วงปกติและขณะออกกำลังกายของแต่ละช่วงวัยคือเท่าไร

อ่านเพิ่ม
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด

ความทนแทนแบบแอโรบิกของคุณคืออะไร

อ่านเพิ่ม