ทีมเภสัชกร HD
เขียนโดย
ทีมเภสัชกร HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Japrolox (ตัวยา Loxoprofen)

เผยแพร่ครั้งแรก 30 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

Japrolox เป็นชื่อการค้าในประเทศไทยของ Loxoprofen โดยบริษัท Sankyo ประเทศญี่ปุ่น (ในประเทศญี่ปุ่นวางจำหน่ายในชื่อ Loxonin) จัดเป็นยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือเอ็นเซด (NSAIDs) กลไกการออกฤทธิ์ของยา คือ ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไซโคลออกซิจิเนส (Cyclooxygenase; COX - เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสารสื่อกลางการอักเสบ) แบบไม่จำเพาะเจาะจง (ยับยั้งทั้ง COX-I และ COX-II) ยับยั้งการสังเคราะห์พรอสตาแกลนดินส์ (Prostaglandins) ซึ่งเป็นสารสื่อกลางการอักเสบจากกรดอะราคิโดนิก (Arachidonic acid) ทำให้มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ

Japrolox จัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย ตามการจำแนกโดยคณะกรรมการอาหารและยา มีจำหน่ายเฉพาะร้านยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งควบคุมการขายยา ต้องมีการจัดทำบัญชียาอันตราย และสำหรับบุคคลทั่วไปเภสัชกรสามารถจำหน่ายยาและให้คำแนะนำในการใช้ยาได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ใบสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพฯ รูปแบบยาที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • รูปแบบยาเม็ด ขนาด 60 มิลลิกรัม

ข้อบ่งใช้ของยา Japrolox

โรคที่เป็นข้อบ่งใช้ของยานี้ ได้แก่

  • โรคปวดข้อรูมาตอยด์เรื้อรัง
  • โรคข้อเสื่อม
  • อาการปวดหลังส่วนล่าง (lower back pain)
  • ภาวะอักเสบรอบข้อ (periarthritis) ของหัวไหล่
  • เพื่อบรรเทาอาการปวด และอักเสบหลังการผ่าตัด
  • เพื่อบรรเทาอาการปวดจากการถอนฟัน

ขนาดและวิธีการใช้ยา Japrolox

Japrolox มีขนาดและวิธีการใช้ตามข้อบ่งใช้ ดังนี้

  • สำหรับบรรเทาอาการอักเสบและอาการปวดจากไขข้อรูมาตอยด์ ข้อเสื่อม ปวดหลังช่วงล่าง ปวดรอบข้อไหล่ ปวดฟัน และการปวดแผลหลังการผ่าตัด หรือหลังถอนฟัน การใช้ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 60 มิลลิกรัม (1 เม็ด) วันละสามครั้ง หากเป็นการใช้ยาตามอาการเมื่อมีอาการปวด รับประทานขนาด 60-120 มิลลิกรัม (1-2 เม็ด) ต่อครั้ง
  • สำหรับลดไข้ การใช้ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 60 มิลลิกรัม (1 เม็ด) ต่อครั้ง วันละสองครั้ง ไม่เกินวันละ 180 มิลลิกรัม (3 เม็ด)
  • ขนาดยาสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของอาการและอายุของผู้ป่วย

ข้อควรระวังในการใช้ Japrolox

  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีการแพ้ยา Loxoprofen และผู้ป่วยที่มีการแพ้ยา NSAIDs กลุ่มที่ยับยั้ง COX-I เนื่องจากอาจเกิดการแพ้ยาข้ามกลุ่ม (Cross hypersensitivety) ได้ (Japrolox เป็นยาในกลุ่ม NSAIDs ซึ่งเป็นกลุ่มยาขนาดใหญ่ มีหลายกลุ่มย่อย)
  • ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงของการใช้ Japrolox 

  • อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย ได้แก่ ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ไม่อยากอาหาร อาการบวม ผื่นแพ้ ลมพิษ ง่วงซึม ไข้ และอาการคัน
  • อาการข้างเคียงที่พบได้น้อย ได้แก่
    • การแพ้ยาแบบ Anaphylaxis ซึ่งเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อยา สารเคมี หรืสารก่อการแพ้อย่างรุนแรง หรือเกิดอาการช็อก
    • ความผิดปกติต่อระบบเลือด ได้แก่ โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก เกร็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ
    • ความผิดปกติต่อไต ไตอักเสบ
    • ความผิดปกติต่อหัวใจ ได้แก่ ภาวะหัวใจล้มเหลว
    • เนื้อเยื่อระหว่างถุงลมปอดอักเสบ
    • ความผิดปกติต่อระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร การอุดกั้นของระบบทางเดินอาหาร ตับบกพร่อง ดีซ่าน
    • กล้ามเนื้อสลายตัว
    • หืดกำเริบ

ข้อควรทราบอื่นๆของยา Furosemide

  • ยานี้ยังไม่ถูกจัดกลุ่มตามดัชนีความปลอดภัยการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ (Pregnancy Safety Index) อย่างไรก็ตาม การใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ควรใช้อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
  • ควรรับประทานยานี้ระหว่างหรือหลังอาหาร เนื่องจากยาทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้
  • ไม่ควรรับประทานยานี้เกินกว่าครั้งละ 2 เม็ด
  • ผู้ป่วยควรระวังการใช้ยาต้านการอักเสบหลายชนิดในเวลาเดียวกัน ในผู้ป่วยบางรายอาจพบการใช้ยาต้านการอักเสบต่างยี่ห้อ แต่ตัวยาเป็นตัวยาเดียวกันหรืออยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งอาจเสริมฤทธิ์กันทำให้ได้รับยาเกินขนาดและเกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ (เช่น ระคายเคืองกระเพาะอาหาร กิดแผลในกระเพาะอาหาร) หรือพิษจากการใช้ยาได้
  • ยานี้แนะนำให้เก็บรักษาที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสง และความชื้น

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
MIMS Thailand, Japrolox (https://www.mims.com/thailand/drug/info/japrolox), April 2019.
Kusurino-Shiori (Drug information She et), Loxonin tablet 60 mg ( http://www.rad-ar.or.jp/siori/english/print.cgi?n=1944), July 2018.
Daiichi-Sankyu, Loxonin S Package Insert (https://www.daiichisankyo-hc.co.jp/package_insert_foreign/), December 2016.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)