กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เยื่อหุ้มปอดอักเสบ

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เยื่อหุ้มปอดอักเสบ

ภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบ (Pleurisy) คือภาวะอักเสบที่เยื่อรอบนอกของปอด (pleura) ที่มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ คล้ายกระดาษ

อาการทั่วไปของภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบคืออาการเจ็บแปลบที่หน้าอกขณะหายใจลึก ๆ บางครั้งอาการเจ็บแปลบนี้ก็อาจจะแล่นขึ้นไปถึงหัวไหล่เลยก็เป็นได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการเจ็บปวดมักจะรุนแรงขึ้นขณะที่คุณไอ จาม หรือเคลื่อนไหวร่างกาย และสามารถบรรเทาได้ด้วยการหายใจแบบเร็ว ตื้น และเบา (shallow breaths)

อาการอื่น ๆ ของภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบมีทั้งหายใจติดขัด และไอแห้ง

หากคุณมีอาการดังกล่าวไป ควรเข้าพบแพทย์ และควรไปอย่างเร่งด่วนหากว่ามีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง โดยเฉพาะเมื่อมีอาการอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวไป เช่นไอเลือด คลื่นไส้ หรือเหงื่อออกมาก

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

ภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบสามารถวินิจฉัยได้จากการสังเกตอาการ และฟังเสียงภายในหน้าอกเพื่อฟังเสียงกุกกักภายในที่ช่วยจำแนกภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบออกจากภาวะปอดอื่น ๆ

อาจมีการทดสอบอื่น ๆ เพื่อหาสาเหตุของภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบของคุณ และเพื่อประเมินความรุนแรงของภาวะ ซึ่งมีการทดสอบดังนี้: การตรวจเลือด เพื่อชี้ชัดว่าคุณเป็นภาวะติดเชื้อหรือภาวะแพ้ภูมิคุ้มกันตนเอง (autoimmune) การเอกซเรย์หน้าอก การสแกนอัลตราซาวด์ การสแกนคอมพิวเตอร์ (CT) การเจาะชิ้นเนื้อเยื่อหุ้มปอดหรือเนื้อเยื่อปอดตรวจ

อะไรเป็นสาเหตุของภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบ?

ภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบส่วนมากจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส (เช่นไข้หวัดใหญ่) หรือการติดเชื้อแบคทีเรีย (เช่นภาวะปอดบวม)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในกรณีหายาก ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นจากภาวะต่าง ๆ อย่างลิ่มเลือดไปยังปอดอุดตัน (pulmonary embolism) หรือแม้แต่มะเร็งปอดก็ได้

ภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่กลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป เพราะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในอกมาก

สามารถทำการรักษาภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบได้อย่างไร?

การรักษาภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบจะขึ้นอยู่กับสาเหตุการเกิดโรคนี้ขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น ภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัสจะสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่สำหรับภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบที่มาจากเชื้อแบคทีเรียจะต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ และผู้ที่มีร่างกายและสุขภาพอ่อนแออาจต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล

ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs - NSAID) อย่างอิบูโพรเฟนนั้นมักจะใช้ในการบรรเทาอาการปวดที่มาจากภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบ

หากระหว่างชั้นเยื่อหุ้มปอดมีของเหลวสะสมอยู่ปริมาณมากเกิน แพทย์อาจต้องทำการเจาะดูดของเหลวออกเพื่อป้องกันการเกิดอาการหายใจลำบาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบ

ภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบมักเกิดจากภาวะสุขภาพอื่น ๆ เช่นภาวะติดเชื้อต่าง ๆ แต่ในบางกรณีก็สามารถเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุก็ได้เช่นกัน

เยื่อหุ้มปอดเป็นแผ่นเนื้อเยื่อบาง ๆ สองแผ่นที่กั้นปอดออกจากซี่โครง แผ่นแรกจะติดอยู่กับซี่โครง และอีกแผ่นจะหุ้มปอดอยู่

ระหว่างเยื่อหุ้มทั้งสองจะมีชั้นของเหลวบาง ๆ ไว้หล่อลื่นเยื่อหุ้ม ช่วยลดแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นขณะที่คุณหายใจเข้าออก

เมื่อมีการอักเสบขึ้น พื้นผิวของเยื่อหุ้มทั้งสองจะหยาบตัวขึ้นจนทำให้ของเหลวมีความเหนียวข้นมากขึ้นตาม และเมื่อเยื่อทั้งสองสัมผัสเข้าด้วยกันจะทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดนั่นเอง

ภาวะติดเชื้อ

ภาวะติดเชื้อเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบที่พบได้มากที่สุด การติดเชื้อทุกประเภทสามารถส่งผลไปยังเยื่อหุ้มปอดได้ทั้งนั้น กระนั้นส่วนมากมักจะเป็นการติดเชื้อไวรัส โดยไวรัสที่เป็นสาเหตุของภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบมีดังนี้: ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัส Epstein-Barr: ไวรัสของโรคไข้และต่อมน้ำเหลืองโต (glandular fever) ไวรัส cytomegalovirus (CMV): ไวรัสที่ผู้คนส่วนมากจะมีอยู่บนร่างกาย แต่มักจะไม่ประสบปัญหาใด ๆ ไวรัส parainfluenza: ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไอครูปในเด็ก

ในบางกรณี ภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบก็สามารถเกิดขึ้นเนื่องจากเชื้อแบคทีเรียดังนี้ก็ได้: แบคทีเรีย streptococcal: เชื้อที่มักเกี่ยวข้องกับภาวะปอดบวม หรือการติดเชื้อบนผิวหนัง เช่นโรคพุพอง แบคทีเรีย staphylococcal: เชื้อที่มักเกี่ยวข้องกับภาวะติดเชื้อที่ผิวหนัง อาหารเป็นพิษ และภาวะเลือดเป็นพิษ

Meticillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) เองก็สามารถทำให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบได้เช่นกัน โดยเฉพาะบรรดาผู้ป่วยที่กำลังพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล MRSA เป็นแบคทีเรียชนิดที่มีความดื้อยาปฏิชีวนะหลายตัว

สาเหตุอื่น ๆ ของภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบ

สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบมีดังนี้: การบาดเจ็บ: หากกระดูกซี่โครงฟกช้ำหรือแตกหัก เยื่อหุ้มปอดอาจจะเกิดการอักเสบตามไปด้วย โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (pulmonary embolism) โรคโลหิตจางเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (sickle cell anaemia): ภาวะผิดปรกติของเม็ดเลือดที่มักเกิดขึ้นกับคนบางชนชาติ การทำเคมีบำบัดและรังสีบำบัด HIV หรือ AIDS มะเร็งปอด โรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด: มะเร็งที่เกิดจกการสูดสมแร่ใยหินเข้าไปในปอด

ภาวะแพ้ภูมิคุ้มกันตนเอง เช่นโรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) และโรคพุ่มพวง (lupus) ก็เป็นสาเหตุที่อาจทำให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบ ภาวะเหล่านี้มักจะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติและเริ่มเข้าโจมตีเนื้อเยื่อที่สุขภาพดีของร่างกาย

การรักษาภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบ

การรักษาภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบมักจะเป็นการบรรเทาความเจ็บปวด และรักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคขึ้น

หากทำการรักษาอย่างเหมาะสม ภาวะนี้จะหายไปโดยไม่สร้างความเสียหายระยะยาวกับปอดทั้งสองข้าง

การรักษาความเจ็บปวด

อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบสามารถรักษาได้ด้วยยาแก้ปวดที่เรียกว่ายาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs - NSAID) ซึ่งแพทย์ส่วนใหญ่จะเลือกใช้ยาอิบูโพรเฟนกัน

หากยา NSAID ไม่ได้ผล คุณจะได้รับยาแก้ปวดอีกประเภทเช่นพาราเซตตามอลหรือโคเดอีนแทน

หากคุณมีอาการเฉียบพลันก็สามารถบรรเทาอาการปวดหน้าอกได้ด้วยการนอนหันไปยังข้างที่มีอาการเจ็บ

การรักษาภาวะต้นตอ

การรักษาภาวะต้นเหตุของภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

หากภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบของคุณเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย คุณจะได้รับยาปฏิชีวนะมาทานโดยรูปแบบของการใช้ยาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการคุณ บางครั้งอาจมีการใช้ยาปฏิชีวนะผสานกันไปก็ได้

ในกรณีที่อาการของคุณมีความรุนแรงเป็นพิเศษ หรือคุณมีสุขภาพโดยรวมที่ไม่สู้ดีอยู่ก่อน คุณอาจต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ประคองการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของคุณจนกว่าภาวะจะคงที่

ภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด

ในบางกรณี ภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบก็นำไปสู่การสะสมกันของของเหลวรอบปอดที่เรียกว่าภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด (Pleural effusion)

ภาวะนี้เป็นผลมาจากอาการหายใจติดขัดที่ทรุดลงเรื่อย ๆ และมักเกิดกับภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบที่มาจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือโรคลิ่มเลือดอุดกั้น

หากภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอดไม่หายไปแม้จะทำการรักษาภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบไปแล้ว หรือคุณยังคงมีอาการหายใจลำบาก แพทย์จะทำการสอดท่อดูดของเหลวที่สะสมอยู่ออกแทน

ท่อนี้จะถูกสอดให้กับคนไข้ที่ได้รับยาสลบหรือยาชา และหากมีของเหลวสะสมอยู่มาก คุณอาจต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลเป็นเวลาสองถึงสามวัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ตรวจเอกซเรย์ปอด ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pleurisy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pleurisy/)
Pleurisy: Causes, Symptoms, Diagnosis, Treatment, and Complications. WebMD. (https://www.webmd.com/lung/understanding-pleurisy-basics)
Pleurisy: Causes, Symptoms, and Diagnosis (https://www.healthline.com/health/pleurisy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
Adenosine Deaminase
Adenosine Deaminase

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจหาเอนไซม์ Adenosine Deaminase ในน้ำที่ช่องเยื่อหุ้มปอด เพื่อวินิจฉัยโรควัณโรค พร้อมรายละเอียดการตรวจ และความหมายของผลการตรวจ

อ่านเพิ่ม