Adenosine Deaminase

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจหาเอนไซม์ Adenosine Deaminase ในน้ำที่ช่องเยื่อหุ้มปอด เพื่อวินิจฉัยโรควัณโรค พร้อมรายละเอียดการตรวจ และความหมายของผลการตรวจ
เผยแพร่ครั้งแรก 7 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Adenosine Deaminase

Adenosine Deaminase เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งในน้ำที่ช่องเยื่อหุ้มปอด ที่นำมาใช้ตรวจควบคู่ไปกับวิธีอื่น ๆ เพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

ชื่ออื่น: ADA

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อทางการ: Adenosine Deaminase, fluid

จุดประสงค์การตรวจ Adenosine Deaminase

การตรวจ Adenosine Deaminase (ADA) จากน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural Fluid) ไม่ใช่การตรวจวินิจฉัย แต่นำมาใช้ควบคู่กับการตรวจชนิดอื่นๆ เพื่อตรวจว่ามีการติดเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ที่เยื่อหุ้มปอดหรือไม่ เช่น

  • การวิเคราะห์ของเหลวภายในช่องเยื่อหุ้มปอด
  • Acid-Fast Bacillus (AFB) Smear And Culture
  • การตรวจ Tuberculosis Molecular

การตรวจ Pleural Fluid อาจทำให้เกิดปัญหาในการตรวจ Mycobacterium tuberculosis อยู่บ้าง เพราะในตัวอย่างที่เก็บมาอาจมีจำนวนแบคทีเรียต่ำมาก แต่วิธีนี้เป็นการตรวจที่ทำได้ง่ายและให้ผลเร็วหากพบเชื้อแบคทีเรีย จึงมักถูกนำมาช่วยกำหนดทิศทางการรักษา จนกว่าจะได้ผลตรวจจากการเพาะเชื้อที่ต้องรออย่างน้อย 6-8 สัปดาห์

การตรวจ ADA ถูกนำมาใช้ตรวจเสริม เพื่อช่วยหาความเป็นไปได้หรือตัดความเป็นไปได้ที่จะมีเชื้อวัณโรคใน Pleural Fluid นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจหาวัณโรคในของเหลวชนิดอื่นๆ ของร่างกาย เช่น น้ำในเยื่อบุช่องท้อง หรือน้ำในโพรงสมองและไขสันหลัง เป็นต้น

เมื่อไรที่ต้องตรวจ Adenosine Deaminase?

แพทย์อาจพิจารณาให้มีการตรวจ ADA หากพบสัญญาณหรืออาการที่บ่งชี้ว่าเป็นโรควัณโรค เช่น

  • ไอเรื้อรัง ซึ่งมีเสมหะปนเลือดในบางครั้ง
  • เป็นไข้ รู้สึกหนาว
  • มีเหงื่อออกตอนกลางคืน
  • น้ำหนักลดโดยไม่สามารถอธิบายได้
  • เจ็บหน้าอก

การตรวจนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งในการตรวจหลายๆ ประเภท เพื่อช่วยหาความเป็นไปได้หรือตัดความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรควัณโรค โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น

  • ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อวัณโรคที่อยู่ในระยะแสดงอาการ
  • ผู้ที่อพยพมาจากประเทศที่มีโรควัณโรคแพร่กระจาย
  • เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีที่มีผลตรวจวัณโรคเป็นบวก
  • ผู้ที่ทำงาน หรืออยู่ในกลุ่มคนที่มีอัตราการติดเชื้อสูง เช่น คนไร้บ้าน คนที่ใช้สารเสพติดฉีดเข้าเส้นเลือดดำ เป็นต้น
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น
    • ผู้ป่วยโรค HIV/AIDS
    • ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังอยู่ก่อน เช่น โรคเบาหวานและโรคไต
    • ผู้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
    • ผู้ที่ทานยากดภูมิคุ้มกัน
    • ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ผู้คนสูงอายุ

วิธีการเก็บตัวอย่างน้ำในเยื่อหุ้มปอดเพื่อตรวจสอบ

แพทย์จะเก็บตัวอย่างของ Pleural Fluid โดยใช้กระบอกฉีดยาและเข็ม ซึ่งแพทย์จะเจาะโพรงเยื่อหุ้มปอด (Thoracentesis)

นอกจากนี้อาจมีการเก็บตัวอย่างของเหลวอื่นๆ เช่น น้ำในโพรงสมองและไขสันหลัง (Peritoneal) โดยใช้กระบวนการที่เฉพาะเจาะจงสำหรับของเหลวแต่ละชนิด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

รายละเอียดการตรวจ Adenosine Deaminase

เยื่อหุ้มปอด เป็นเนื้อเยื่อที่ปกคลุมช่องอกและด้านนอกของปอดแต่ละข้าง มี Pleural Fluid ที่จะถูกผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อหล่อลื่นการเคลื่อนไหวของปอดกับเนื้อเยื่อเหล่านี้ระหว่างที่มีการหายใจเข้าและหายใจออก หากมีการติดเชื้อที่ทำให้เยื่อหุ้มปอดอักเสบ อาจทำให้มี Pleural Fluid สะสมมากกว่าปกติ

ส่วน Adenosine deaminase (ADA) เป็นโปรตีนที่สัมพันธ์กับการทำงานของลิมโฟไซต์ ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ที่มีบทบาทในการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่มีต่อการติดเชื้อ เมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้อจาก Mycobacterium Tuberculosis ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรควัณโรค อาจทำให้ ADA ถูกผลิตออกมามากขึ้นในบริเวณที่มีแบคทีเรีย

เมื่อโรควัณโรคสามารถแพร่กระจายไปสู่ปอดและเยื่อหุ้มปอด จึงทำให้การตรวจนี้ช่วยวัดปริมาณของ ADA ที่มีอยู่ใน Pleural Fluid เพื่อช่วยวินิจฉัยการติดเชื้อวัณโรคที่เยื่อหุ้มปอดได้ แม้การตรวจ ADA จะไม่ได้เฉพาะเจาะจง และไม่ได้มาแทนการเพาะเชื้อเพื่อวินิจฉัยโรควัณโรค แต่สามารถนำมาใช้ตรวจเพิ่มเติมเพื่อบ่งชี้ว่าความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น เกิดจากเชื้อวัณโรคหรือไม่

ความหมายของผลตรวจ

หาก ADA มีปริมาณเพิ่มขึ้นใน Pleural Fluid ของผู้มีสัญญาณและอาการที่บ่งชี้ถึงการเป็นโรควัณโรค ก็มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อในเยื่อหุ้มปอด แต่บางกรณี ADA ก็อาจเพิ่มขึ้นด้วยเหตุผลอื่น เช่น โรคมะเร็งต่างๆ โดยเฉพาะมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด โรคซาร์คอยโดซิส หรือโรคลูปัส

คนที่มีระดับของ ADA ต่ำ อาจไม่มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรควัณโรคที่เยื่อหุ้มปอด แต่ก็ไม่ได้ตัดความเป็นไปได้ที่จะเกิดการติดเชื้อที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เพราะหาก ADA มีมากขึ้นในของเหลวจากส่วนอื่นๆ เช่น น้ำในเยื่อบุช่องท้อง หรือน้ำในโพรงสมองและไขสันหลัง ก็เป็นไปได้ที่จะมีวัณโรคในบริเวณดังกล่าวแทน

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Adenosine Deaminase

  • การตรวจ ADA ไม่สามารถระบุเชื้อแบคทีเรีย M. tuberculosis ได้อย่างชัดเจน

ที่มาของข้อมูล

Lab Test Online, Adenosine Deaminase (https://labtestsonline.org/tests/adenosine-deaminase), 22 December 2018.


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ADA gene - Genetics Home Reference. Genetics Home Reference - NIH. (https://ghr.nlm.nih.gov/gene/ADA)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป