ไขข้อข้องใจ เรื่อง "ระบบเผาผลาญพัง"

มีจริงๆ หรือที่ “ระบบเผาผลาญพัง” เป็นไปได้อย่างไร มีสัญญาณอะไรบอก แล้วจะป้องกันได้หรือเปล่า หาคำตอบจาก HonestDocs
เผยแพร่ครั้งแรก 30 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ไขข้อข้องใจ เรื่อง "ระบบเผาผลาญพัง"

ในโลกปัจจุบัน เราจะสังเกตเห็นว่า ผู้คนต่างหันมาสนใจการดูแลร่างกายตนเองมากขึ้น โดยเฉพาะการดูแลรูปร่างให้อยู่ในสัดส่วนที่ถูกต้อง จึงทำให้มีข้อมูล หรือความเชื่อต่างๆ เกี่ยวกับการลดน้ำหนักอย่างหลากหลาย บ้างก็เป็นวิธีที่ดี ที่เหมาะสม แต่หลายๆ วิธีการนั้น ก็นำมาสู่ผลลัพธ์ที่ตรงข้าม นั่นคือ “ระบบเผาผลาญพัง”

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ระบบเผาผลาญพัง หมายถึงอะไร?

ระบบเผาผลาญพัง คือภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำพลังงานจากอาหารที่รับประทานมาเผาผลาญใช้เป็นพลังงานได้ ทำให้ยังคงมีสารอาหารตกค้างและสะสมในร่างกายในรูปแบบไขมัน จนทำให้เกิดผลต่างๆ ตามมา เช่น อ้วนง่ายขึ้น อ่อนเพลีย ขาดสารอาหารบางประเภท จนไปถึงไขมันพอกตับและอวัยวะภายในของร่างกายจนก่อให้เกิดการอักเสบของอวัยวะนั้นๆ

ระบบเผาผลาญโดยทั่วไปทำงานอย่างไร?

ระบบเผาผลาญของคนทั่วไปนั้น จะเริ่มจากการที่สารอาหารถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดทางลำไส้ใหญ่ แล้วเลือดนั้นก็จะนำสารอาหารไปให้แต่ละเซลล์ของร่างกาย ทั้งเซลล์สมอง กล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือเซลล์ของอวัยวะอื่นๆทั่วทั้งร่างกาย ซึ่งในเซลล์ก็จะมี ไมโทคอนเดรีย ทำหน้าที่นำกลูโคส ไปเผาผลาญ คล้ายๆกับการเผาเชื้อเพลิงเพื่อสร้างเป็นพลังงานให้แก่เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย ดังนั้นยิ่งเรารับประทานสารอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลมากเท่าไหร่ ก็จะมีกลูโคสมากเท่านั้น จึงเป็นที่มาของการที่แป้งเป็นสารให้พลังงานหลักแก่ร่างกายนั่นเอง ร่างกายของคนปกติ จะเกิดการเผาผลาญพลังงานเช่นนี้มากที่สุดในเซลล์กล้ามเนื้อทั้งกล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อหัวใจ เพราะเซลล์ชนิดนี้ มีไมโทคอนเดรียเป็นจำนวนมากกว่าเซลล์อื่นๆ

สาเหตุของระบบเผาผลาญพัง

สาเหตุหลักของระบบเผาผลาญพังคือ การที่ร่างกายไม่มีตัวช่วยในการเผาผลาญที่ดีและเพียงพอ ซึ่งในที่นี้หมายถึง เซลล์ทุกเซลล์ของร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อ เพราะกล้ามเนื้อมีสิ่งที่เรียกว่าไมโทคอนเดรียปริมาณมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่จะช่วยนำกลูโคสหรือน้ำตาลที่เรารับประทานและมีอยู่ในเลือด มาเปลี่ยนเป็นสารพลังงานที่ชื่อว่า “ATP (Adenosine Triphosphate)” ผ่านกระบวนการหายใจระดับเซลล์ ซึ่งกระบวนการนี้เกิดขึ้นภายในทุกเซลล์ของร่างกาย

ดังนั้นยิ่งร่างกายมีกล้ามเนื้อมากเท่าไร ก็ยิ่งเกิดกระบวนการเผาผลาญระดับเซลล์ได้มากขึ้นเท่านั้น แต่ร่างกายมีการรับรู้และปรับเปลี่ยนได้ดีตามการปฏิบัติตัว เช่น เมื่อรับประทานอาหารน้อยลงมากๆ หรืออดอาหาร ร่างกายจะรับรู้ว่าสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงจะมีการกระตุ้นต่อมหมวกไต ทำให้ฮอร์โมนเสียความสมดุล คือไปกระตุ้นให้เกิดฮอร์โมนที่ทำให้เกิดการสะสมของไขมันมากขึ้น ร่างกายจึงเลือกจะเก็บสารอาหารใหม่ไว้ และไปใช้สารอาหารที่ได้จากการสลาย กล้ามเนื้อ หรือเร่งการสร้างน้ำตาลที่ตับให้เพียงพอ ในขณะเดียวกันก็เปลี่ยนกลูโคสไปเก็บในรูปของเซลล์ไขมัน และสะสมตามใต้ชั้นผิวหนังและตับเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการที่บอกว่าระบบเผาผลาญพัง

อาการหรือสัญญาณที่บ่งบอกว่าระบบเผาผลาญพัง ได้แก่

  • มีไขมันสะสมตามผิวหนังมากขึ้น จนทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม ทั้งๆ ที่รับประทานอาหารน้อยลงแล้วก็ยังอ้วนขึ้นอยู่ดี ไม่ว่าจะจำกัดปริมาณอาหารมากแค่ไหน หรือออกกำลังกายมากเท่าไร ก็ยังมีน้ำหนักตัวที่มากขึ้น หรือไม่ลดลงจากเดิมเลย
  • เกิดความรู้สึกอ่อนเพลีย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างพลังงานจากสารอาหารนั้นได้เพียงพอต่อความต้องการที่แท้จริง

วิธีป้องกันระบบเผาผลาญพัง และฟื้นฟูระบบเผาผลาญ

การป้องกันระบบเผาผลาญพังที่ดีที่สุดคือ การออกกำลังกายแบบเร่งสร้างมวลกล้ามเนื้อ โดยวิธีการที่เรียกว่า ‘weight training’ ร่วมกับการออกกำลังกายแบบ ‘คาร์ดิโอ’ คือการออกกำลังกายที่เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจให้มากกว่า 100-120 ครั้งต่อนาที วันละประมาณ 30นาที ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการลดน้ำหนักด้วยวิธีอดอาหาร ให้รับประทานอาหารที่เหมาะสมและครบ 3 มื้อ แต่ละมื้อต้องมีสารอาหารครบทุกหมู่ ทั้งแป้ง ผัก ผลไม้ โดยเฉพาะน้ำ ซึ่งเป็นตัวเร่งระบบเผาผลาญที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
2.Henry Cj,https://europepmc.org/abstract/med/3066619,protien and energy metabolism in starvation, 1 july 1988.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ,http://www.dms.moph.go.th/dms2559/cpgcorner_all.php , แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง,1กันยายน 2555.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป