ทีมแพทย์แผนไทยประยุกต์ HD
เขียนโดย
ทีมแพทย์แผนไทยประยุกต์ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อาการคนท้องจะเริ่มตอนไหน ดูแลอย่างไรให้สบายตัวขึ้น?

ท้อง-ไม่ท้อง มีอาการไหนบ้างควรสังเกต ตั้งครรภ์แล้วไม่มีอาการแพ้ท้องผิดปกติหรือไม่? หาคำตอบได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 30 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
อาการคนท้องจะเริ่มตอนไหน ดูแลอย่างไรให้สบายตัวขึ้น?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • หญิงตั้งครรภ์ส่วนมากจะมีอาการของคนท้องตั้งแต่เดือนแรก แต่ก็มีอีกจำนวนหนึ่งที่มีอาการหลังจากอายุครรภ์มากแล้ว ทำให้ฝากครรภ์ช้า และอาจไม่ได้ดูแลสุขภาพของตัวเอง และทารกในครรภ์
  • ปกติแล้วอาการแพ้ท้องจะพบในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนตอนเช้า รู้สึกไวต่อกลิ่น หรือชอบรับประทานอาหารที่ไม่เคยรับประทานมาก่อน ส่วนใหญ่อาการจะบรรเทาลงในสัปดาห์ที่ 10
  • การบรรเทาอาการต่างๆ ให้รักษาที่ต้นเหตุ เช่น หากท้องผูก ให้เพิ่มการรับประทานผักผลไม้ที่มีกากใย หากปัสสาวะบ่อย ให้ฝึกขมิบช่องคลอด หรือหากมีอาการคลื่นไส้ ให้แบ่งมื้ออาหารเป็นหลายมื้อ ปริมาณน้อยๆ หลีกเลี่ยงของทอด ของมัน หรือของที่มีกลิ่นฉุน
  • สัญญาณของอาการคนท้อง เช่น ประจำเดือนขาด คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะบ่อย หรือเต้านมคัดตึงกดแล้วเจ็บ หากมีสัญญาณเหล่านี้ ให้ตรวจด้วยชุดตรวจการตั้งครรภ์เพื่อยืนยันผล
  • หากพบว่า ตั้งครรภ์ ควรรีบฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด เพื่อที่แพทย์จะได้ดูแล และติดตามพัฒนาการของทารกให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ (ดูแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตรได้ที่นี่)

ผู้หญิงส่วนใหญ่จะไปพบแพทย์เมื่อเริ่มต้นมีอาการคนท้อง หรือตรวจตั้งครรภ์แล้วพบว่า เพิ่งท้องไม่กี่สัปดาห์ แต่ก็ยังมีอีกจำนวนหนึ่งที่พบแพทย์เมื่ออายุครรภ์มากแล้ว ซึ่งถ้ามีปัญหาอาจแก้ไข หรือช่วยเหลือไม่ได้มากนัก 

โดยเฉพาะบางโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมารดา และทารก ซึ่งจำเป็นจะต้องให้การรักษาที่เร่งด่วน เช่น HIV ซิฟิลิส หัดเยอรมัน โรคหัวใจ เป็นต้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ดังนั้นการวินิจฉัยการตั้งครรภ์ให้ถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องทำอย่างรวดเร็ว เพื่อจะได้ดูแลรักษาผู้ที่ตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาการคนท้อง เริ่มเมื่อไหร่?

ส่วนใหญ่อาการแพ้ท้อง เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียนตอนเช้า รู้สึกไวต่อกลิ่น รู้สึกชอบรับประทานของกินที่ไม่เคยรับประทานมาก่อนจะพบได้ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์ แต่ช่วงเวลาของอาการแพ้ท้องจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน 

สำหรับบางคน อาการคนท้องอย่างคลื่นไส้ อาเจียน หรือพฤติกรรมอื่นๆ ผิดปกติอันเรียกรวมๆ ว่าแพ้ท้อง จะบรรเทาลงตอนตั้งครรภ์ประมาณ 10 สัปดาห์ และมีบางคนที่มีอาการแพ้ท้องไปจนถึงช่วงหลังตั้งครรภ์ หรือมีบางคนที่ไม่มีประสบการณ์การแพ้ท้องเลย

มีสัญญาณเล็กๆ น้อยๆ ตรงไหนบ้างที่เป็นอาการคนท้อง

อาการหรือสิ่งตรวจพบที่ช่วยในการวินิจฉัยการตั้งครรภ์

  • ประจำเดือนขาด ถ้ามีประจำเดือนเป็นปกติทุกเดือน แล้วประจำเดือนขาดหายไปเกิน 4 สัปดาห์ ควรจะนึกถึงเรื่องอาการคนท้องเป็นอันดับแรก และเพื่อความมั่นใจ ควรตรวจด้วยชุดตรวจครรภ์เพื่อยืนยันอีกครั้งหนึ่ง แต่สำหรับคนที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ต้องรอตรวจปัสสาวะหลังมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย 16-18 วัน
  • คลื่นไส้อาเจียน (Morning sickness) สาเหตุเกิดจากการเพิ่มระดับฮอร์โมน hCG และ ฮอร์โมนเอสโตรเจน รวมทั้งสาเหตุการแปรปรวนของอารมณ์ มักจะเกิดขึ้นในเวลาเช้าหรืออาจเกิดขึ้นในตอนเย็น อาการนี้เป็นอาการคนท้องที่เป็นกันมากประมาณ 50-70 % โดยส่วนใหญ่จะมีอาการหลังขาดประจำเดือนประมาณ 2-4 สัปดาห์ และอาการจะทุเลาลงหรือหายไปเมื่ออายุครรภ์ 12-16 สัปดาห์
  • ปัสสาวะบ่อย เป็นอาการคนท้องอย่างหนึ่งซึ่งเกี่ยวเนื่องกับฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจนส่งผลให้เยื่อบุกรเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะบวมเต่ง อีกทั้งปริมาณของเลือดที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไตกรองปัสสาวะมากขึ้น มดลูกที่โตขึ้นจะไปเบียดกระเพาะปัสสาวะทำให้ความจุน้อยลง จึงปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ นอกจากอาการคนท้องนี้แล้ว คุณแม่ยังอาจมีอาการท้องผูก เนื่องจากลำไส้มีการเคลื่อนไหวน้อยลง
  • เต้านมมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ทำให้เต้านมคัดตึงและกดเจ็บ ลานนมกว้างขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ท้องแรก หัวนมจะเปลี่ยนจากสีชมพูเป็นสีคล้ำและใหญ่ขึ้น
  • ทารกดิ้นครั้งแรก ผู้หญิงครรภ์แรกจะรู้สึกถึงได้เมื่อตั้งครรภ์ 18-20 สัปดาห์ ส่วนครรภ์หลังจะรู้สึกตัวได้เร็วกว่า คือประมาณ 16-18 สัปดาห์
  • ผิวหนังหน้าท้องคล้ำและมีลายเส้น เกิดจากฮอร์โมนบริเวณต่อมใต้สมอง ทำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์บางคนมีฝ้าที่หน้า หรือรอยเส้นสีคล้ำเห็นชัดบริเวณกลางท้อง และบางรายจะพบรอยแตกของกล้ามเนื้อหน้าท้องด้วย
  • เหนื่อยง่าย เป็นอาการคนท้องอีกอย่างหนึ่งที่พบได้ โดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น

ถ้าท้องแล้วไม่มีอาการอะไรเลย ปกติ-ผิดปกติหรือไม่ อย่างไร?

ผู้หญิงตั้งครรภ์หลายคนไม่มีอาการคนท้องอย่างที่เรียกว่า แพ้ท้อง เลย ทั้งนี้การไม่มีอาการแพ้ท้องเลยถือเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย แต่เพื่อความแน่ใจ หากสงสัยว่าตั้งครรภ์หรือไม่ ควรใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์ และเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์หรือได้ผลบวก ควรรีบไปฝากครรภ์กับแพทย์ทันที ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าทารกในครรภ์มีสุขภาพดี แข็งแรงตลอดการตั้งครรภ์

จะบรรเทาอาการต่างๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ได้อย่างไรบ้าง

อาการที่เกิดระหว่างการตั้งครรภ์มักเป็นอาการไม่รุนแรง เพียงแต่ทำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์รู้สึกไม่สบายตัว รายละเอียดอาการที่เกิดขึ้นในแต่ละไตรมาสจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่แตกต่างกัน ทั้งนี้หญิงตั้งครรภ์ควรรู้ถึงการปฏิบัติตัวเพื่อบรรเทาอาการเหล่านั้น เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • อาการคลื่นไส้ สาเหตุหลักทำให้เกิด คือ กระเพาะอาหารว่าง ดังนั้นการรับประทานอาหารน้อยๆ แต่บ่อยครั้งช่วยลดอาการดังกล่าวได้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารมัน อาหารที่มีกลิ่นฉุน และแนะนำให้ดื่มน้ำขิงหรือน้ำอุ่น
  • ปัสสาวะบ่อย คำแนะนำคือ ให้ฝึกขมิบช่องทวารเบาหรือช่องคลอด (Kegel’s excersise) เพื่อช่วยควบคุมการปัสสาวะ โดยการเกร็งกล้ามเนื้อรอบๆ ช่องคลอดไว้ประมาณ 5 วินาที แล้วคลายตัว ทั้งนี้แม้จะปวดปัสสสาวะบ่อยแค่ไหนก็ไม่ควรกลั้นไว้ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ นอกจากนี้ควรดื่มน้ำน้อยๆ ก่อนเข้านอน เพื่อไม่ต้องลุกปัสสาวะตอนกลางคืน
  • อาการอ่อนเพลีย หากมีอาการคนท้องทำนองนี้ แนะนำให้พักผ่อนมากขึ้น โดยกลางวันควรพักผ่อนอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง และกลางคืนควรพักผ่อนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง และควรจิบน้ำเปล่าบ่อยๆ ระหว่างวัน เพื่อช่วยทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น
  • น้ำลายมาก เป็นอาการคนท้องที่พบได้บ่อยระยะตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์หลังประจำเดือนขาด แนะนำให้เคี้ยวหมากฝรั่ง อมลูกกวาด ช่วยเบาเทาอาการรำคาญน้ำลายมากได้
  • ท้องผูก อาการคนท้องอย่างนี้เกิดจากแรงกดทับของมดลูกที่มีต่อลำไส้ หญิงตั้งครรภ์จึงควรรับประทานผักและผลไม้เพื่อช่วยในการขับถ่าย รวมถึงหลีกเลี่ยงการรับประทานของหวาน เพราะเป็นการช่วยให้แบคทีเรียในลำไส้เจริญเติบโต ทำให้ยิ่งท้องอืดได้ง่ายขึ้นอีก และควรเดินอย่างน้อยวันละ 1 กิโลเมตร เพื่อกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ และควรขับถ่ายให้เป็นเวลา
  • ตะคริวที่ขา เกิดจากการไม่สมดุลของระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัส บางทฤษฏีกล่าวว่าเนื่องจากมดลูกที่โตขึ้นไปกดเส้นเลือดบริเวณเชิงกราน ทำให้เกิดการไหลเวียนเลือดไม่สะดวก อาการคนท้องข้อนี้บรรเทาอาการได้โดยยืดขาและเข่าให้ตึง กระดกปลายเท้าขึ้นลง นอกจากนี้ควรดื่มนมอย่างน้อยวันละ 3-4 แก้ว เพื่อเพิ่มระดับแคลเซียมในเลือด

มีหญิงตั้งครรภ์หลายคนที่ไม่มีอาการแพ้ท้อง ซึ่งถือเป็นเรื่องโชคดี แต่ก็อาจทำให้ไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ได้ จึงควรสังเกตตัวเองอยู่เสมอ 

หากพบว่า มีสัญญาณของอาการคนท้อง ไม่ว่าจะเป็นประจำเดือนขาด คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะบ่อย หรือเต้านมคัดตึง และกดเจ็บ ให้ลองตรวจด้วยชุดตรวจการตั้งครรภ์ 

หลังจากที่ยืนยันผลการตั้งครรภ์แล้ว สิ่งที่ควรทำต่อไปคือ การฝากครรภ์ เพื่อที่แพทย์จะได้ตรวจสุขภาพของมารดา และพัฒนาการของทารก หากพบอาการผิดปกติใดๆ ก็จะได้รักษาอย่างทันท่วงที

ดูแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สุชยา ลือวรรณ, การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในสตรีตั้งครรภ์ (http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=1087:2015-02-22-11-39-05&catid=38&Itemid=480), 22 กุมภาพันธ์ 2558.
เรณู ชูนิล, สุกันยา ทองธำรง, พัชรา โกศินานนท์ และคณะ, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, สุขใจ ได้เป็นแม่ (https://thailand.unfpa.org/sites/default/files/pub-pdf/MomHandbook.pdf), เข้าถึงเมื่อ 12 พ.ค. 2562.
เนาวรัตน์ สุนทรัช, อารีพร กลิ่นเฟื่อง, อรนุช เชาว์ปรีชา และคณะ, ผดุงครรภ์ โรงเรียนอายุรเวท สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม
อารมณ์แปรปรวน? บางทีคุณอาจจะกำลังตกไข่อยู่
อารมณ์แปรปรวน? บางทีคุณอาจจะกำลังตกไข่อยู่

ความต้องการทางเพศของผู้หญิง รอบประจำเดือน และการตั้งครรภ์

อ่านเพิ่ม