ถ้าพูดถึงโรคใกล้ตัวเกี่ยวกับระบบขับถ่ายที่ใครๆ ก็มีโอกาสเป็นได้ คงจะหนีไม่พ้น "โรคริดสีดวงทวาร" หนึ่งในโรคที่สร้างความเจ็บปวดและรบกวนการชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก
ยิ่งไปกว่านั้น หลายๆ คนเมื่อเผชิญกับโรคนี้ก็มักจะเกิดความอาย ไม่กล้าไปพบแพทย์ และมักจะหาวิธีการรักษาริดสีดวงทวารด้วยตัวเอง บางคนเชื่อว่า การบีบริดสีดวงทวารด้วยตัวเอง จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
แต่ความจริงการบีบริดสีดวงทวารด้วยตนเองให้แตกไม่ใช่เรื่องดี และอาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา
ริดสีดวงทวารเกิดจากอะไร?
โรคริดสีดวงทวารคือ ภาวะที่หลอดเลือดดำบริเวณปลายลำไส้ใหญ่และบริเวณทวารหนักเกิดการโป่งพอง ทำให้เกิดเลือดออกขณะขับถ่าย
สาเหตุการเกิดโรคริดสีดวงทวารนั้นยังไม่แน่ชัด แต่เชื่อว่า ความดันในช่องท้อง หรือเรียกง่ายๆ ว่า “การเบ่ง” นั่นเอง รวมทั้งสาเหตุต่อไปนี้ที่อาจเป็นปัจจัยทำให้เกิดริดสีดวงทวาร
- การรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ต่ำ
- พฤติกรรมการถ่ายอุจจาระที่ไม่สม่ำเสมอ
- ขาดการออกกำลังกาย
- อายุ
- พันธุกรรม
ชนิดของริดสีดวงทวาร
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้
- โรคริดสีดวงทวารชนิดภายใน คือ ริดสีดวงทวารที่ไม่สามารถเห็นได้จากภายนอก ซึ่งจะอยู่เหนือบริเวณรูทวารขึ้นไปประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร โดยริดสีดวงชนิดนี้มักจะไม่มีอาการเจ็บปวด แต่จะมีอาการเลือดออกให้เห็นขณะขับถ่าย
- โรคริดสีดวงทวารภายนอก คือ ริดสีดวงที่เกิดขึ้นบริเวณปากทวารหนัก โดยจะสามารถมองเห็นและสัมผัสได้จากภายนอก เนื่องจากการเกิดของริดสีดวงชนิดนี้จะอยู่ในบริเวณที่มีเส้นประสาท ดังนั้นนอกเหนือจากอาการเลือดออกแล้ว ยังจะก่อให้เกิดความเจ็บปวดอีกด้วย
การบีบริดสีดวงทวาร หรือทำให้ริดสีดวงแตกคือ ทางออกจริงหรือ?
การเกิดริดสีดวงทวารภายนอกอาจมีลักษณะเป็นแผลนูนออกมารอบปากทวารหนัก ซึ่งการบีบ หรือการกด ไม่ใช่การรักษาที่ต้นเหตุของโรค เนื่องจากจะก่อให้เกิดแรงดันในหลอดเลือดซึ่งอาจทำให้หลอดเลือดแตกได้
ในบางกรณี เมื่อบีบ หรือกดหัวริดสีดวงแล้วผู้ป่วยยังอาจมีภาวะเลือดออกเป็นจำนวนมาก และยากที่จะหยุดเลือดด้วยตัวเองได้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
นอกเหนือจากนี้การบีบริดสีดวงทวารด้วยตัวเองยังอาจทำให้เกิดแผลเปิด ซึ่งมีโอกาสสูงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจากการอุจจาระแต่ละครั้งนั้น รอบๆ ทวารหนักล้วนเต็มไปด้วยแบคทีเรีย การมีแผลเปิดจึงเหมือนการเปิดทางให้แบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง
ข้อควรรู้เบื้องต้นเมื่อเกิดอาการเลือดออกจากริดสีดวงทวาร หรือริดสีดวงแตก
บางกรณี แม้ไม่ได้บีบ หรือเค้นใดๆ ริดสีดวงทวารก็อาจแตกเองได้ ส่วนมากเริ่มจากอาการท้องผูก ซึ่งทำให้ผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารต้องเข้าห้องน้ำนาน หรือมีการเบ่งในระหว่างขับถ่าย จนเกิดแรงดันมากถึงขั้นทำให้ริดสีดวงแตกในที่สุด
หากมีอาการเลือดออกจากโรคริดสีดวง ควรบรรเทาอาการด้วยวิธีนอนลงบนพื้นระนาบ จากนั้นให้นำหมอนมาหนุนใต้บริเวณริดสีดวงทวารและยกให้สูงกว่าระดับหัวใจ ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือการเกาบริเวณแผลด้วย
อย่างไรก็ดี ควรรีบพบแพทย์ทันที หากพบว่า มีอาการดังต่อไปนี้
- มีเลือดออกเป็นจำนวนมาก
- มีอาการวิงเวียน
- เลือดไม่หยุดไหล
- มีอาการปวดบริเวณแผลอย่างรุนแรง
การรักษาแผลเบื้องต้นที่เกิดจากริดสีดวงทวารแตก
การรักษาแผลเปิดที่เกิดจากโรคริดสีดวงทวาร สามารถดูแลรักษาเช่นเดียวกับแผลเปิดชนิดอื่นๆ ได้แก่ รักษาความสะอาดบริเวณแผลให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรทำความสะอาดหลังการขับถ่าย หรือการใช้ห้องน้ำทุกครั้ง
ทั้งนี้สามารถปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ หรือผ้าพันแผลบริเวณแผล เพื่อป้องกันแผลจากสิ่งสกปรก
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
นอกเหนือจากการดูแลรักษาแผลข้างต้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดว่า แผลมีการติดเชื้อหรือไม่ โดยสามารถสังเกตได้จากอาการต่างๆ ดังนี้
- แผลมีอาการบวม
- มีอาการปวดบริเวณแผลอย่างรุนแรง
- แผลเป็นหนอง
- มีกลิ่นเหม็นจากบริเวณแผล
- มีไข้
- มีอาการหนาวสั่น
การรักษาโรคริดสีดวงทวารอย่างถูกวิธี
โดยทั่วไปแล้ว โรคริดสีดวงทวารไม่ใช่โรคที่เป็นอันตราย แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ถูกวิธี โดยทางเลือกในการรักษาของโรคริดสีดวงทวาร สามารถรักษาได้ดังต่อไปนี้
การรักษาริดสีดวงทวารเบื้องต้นด้วยตัวเอง
ผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร สามารถรักษาอาการเบื้องต้น ได้ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
- แช่น้ำอุ่นประมาณ 15 นาที ทั้งก่อนและหลังถ่ายอุจจาระ
- การใช้ยาเหน็บริดสีดวง
- เน้นการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารมากๆ ได้แก่ ผัก ผลไม้ ถั่ว และธัญพืช
- หลีกเลี่ยงการเบ่งขณะถ่ายอุจจาระ
- ทำความสะอาดทุกครั้งหลังการขับถ่าย
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสและการเกาบริเวณริดสีดวงทวาร
การรักษาทางการแพทย์
ถึงแม้ว่าบางครั้งโรคริดสีดวงทวารสามารถหายได้เอง แต่โดยส่วนมากอาจต้องใช้เวลาและทำให้ผู้ป่วยต้องเผชิญกับความเจ็บปวด ทั้งยังกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน
การรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ตรงจุดมากกว่า โดยมีแนวทางการรักษาดังต่อไปนี้
- การรักษาด้วยยา ส่วนมากใช้เป็นการรักษาแบบประคับประคอง
- การฉีดยา ในบริเวณที่เป็นริดสีดวงทวาร ซึ่งจะช่วยให้เส้นเลือดแข็งและหดลง
- การรัดยาง การรัดยางเป็นการรักษาที่ไม่เจ็บ แต่ผู้ป่วยอาจจะรู้สึกหน่วงเหมือนปวดท้องถ่ายประมาณ 1-3 วัน หลังจากรัดแล้วยางจะหลุดไปเอง แผลตรงที่รัดยางจะหดกลับไป ทำให้ผู้ป่วยไม่เสียเลือด และไม่จำเป็นต้องเย็บแผล
- การผ่าตัด โดยใช้เลเซอร์ อินฟาเรด กระแสไฟฟ้า หรือความเย็น อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบางกรณีที่มีอาการรุนแรง อาจจำเป็นที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดมาตรฐาน ซึ่งจำเป็นต้องมีการเย็บแผลและพักฟื้นหลังผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์
อย่างไรก็ดี การรักษาโรคริดสีดวงทวารในแต่ละรูปแบบจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา
การป้องกันการเกิดริดสีดวงทวาร
อย่างที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่า โรคริดสีดวงทวารเกิดจากแรงดันในลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ซึ่งแรงดันที่มากเกินไปนี้จะทำให้หลอดเลือดดำโป่งพอง
ดังนั้นจึงควรป้องกันไม่ให้เกิดโรคริดสีดวงทวารจะดีที่สุด เริ่มด้วยการระมัดระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ได้แก่
- พยายามรับประทานทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น มะละกอ กล้วย บล็อคโคลี เพื่อป้องกันไม่ให้อุจจาระแข็ง
- ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อให้อุจจาระสามารถขับออกได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
- หลีกเลี่ยงการเบ่ง หรือนั่งถ่ายอุจจาระเป็นเวลานาน
- อย่ากลั้นอุจจาระ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือพยายามเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
การบีบริดสีดวงทวาร ทำให้แตกออก ไม่ใช่การรักษาโรคที่ต้นเหตุ และไม่ใช่การรักษาที่ถูกวิธี เพราะนอกจากจะไม่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ หรือทำให้เกิดภาวะเลือดออกรุนแรงได้
ดังนั้นวิธีการรักษาเบื้องต้นด้วยการนั่งแช่น้ำอุ่นอย่างถูกวิธีเป็นประจำจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด หรือหากสามารถเข้าการรับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ก็จะดีไม่น้อย
ที่สำคัญคือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคริดสีดวงทวารด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำมากๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่าย
เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้ระบบขับถ่ายดี ห่างไกลจากโรคริดสีดวงทวารแน่นอน
บทความที่เกี่ยวข้อง
รีวิว รัดยางริดสีดวง ที่ โรงพยาบาลยันฮี | HDmall
รีวิว ตรวจหาริดสีดวงทวาร ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจและรักษาริดสีดวงทวาร จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android