มีคู่รักจำนวนไม่น้อยที่พยายามจะมีลูกแต่ก็ไม่สำเร็จ โดยหนึ่งในสาเหตุที่หลายคู่มีลูกยากนั้น มาจากการสร้างครอบครัวช้าเกินไป หรือวางแผนมีลูกช้าจนร่างกายของทั้งสามี และภรรยาไม่พร้อมมีลูกเท่ากับวัยหนุ่มสาวอีกต่อไป
หากคู่ของคุณตั้งใจมีลูกโดยมีความสัมพันธ์ทางเพศเป็นปกติ 1-2 ปี แต่ยังไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น นั่นหมายความว่า คุณ หรือคนรักอาจประสบปัญหามีลูกยาก และควรที่จะเข้ารับการตรวจหาสาเหตุมีลูกยาก หรือตรวจภาวะมีลูกยากเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป
ตรวจภาวะมีบุตรยากวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 392 บาท ลดสูงสุด 63%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ความหมายของภาวะมีลูกยาก
ภาวะมีลูกยาก หรือภาวะมีบุตรยาก (Infertility) หมายถึง ภาวะที่คู่สมรส หรือคู่รักไม่ประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ หลังจากพยายามมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี แม้คุณ และคนรักจะมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งโดยไม่ได้มีการป้องกันก็ตาม
ภาวะมีบุตรยากสามารถเกิดขึ้นได้จากทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง โดยผู้หญิงนั้นจะถือว่า มีภาวะมีลูกยากก็ต่อเมื่อพยายามจะตั้งครรภ์มาเป็นเวลา 1 ปีแล้ว และไม่มีการใช้ยาคุมกำเนิด แต่ก็ยังไม่สำเร็จ ส่วนผู้ชายจะดูจากการมีจำนวนอสุจิน้อยเกินไป หรืออสุจิไม่แข็งแรงพอที่จะไปปฏิสนธิกับไข่ได้
การปฏิสนธิ และตั้งครรภ์นั้นต้องอาศัยความพร้อมด้านสุขภาพของคนทั้งคู่ อีกทั้งปัจจัยหลายๆ อย่างจึงจะประสบความสำเร็จ โดยจากสถิติพบว่า ปัญหามีลูกยากของคู่รักมีสาเหตุมาจากฝ่ายชาย 33% และฝ่ายหญิง 40-50% ส่วนที่เหลือนั้นเกิดจากปัญหาของทั้งคู่ หรือไม่สามารถระบุได้แน่ชัด
ทั้งนี้หากเป็นกังวลเกี่ยวกับปัญหามีลูกยาก คุณสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจภาวะมีลูกยากได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่จำเป็นต้องรอให้ถึง 1 ปี โดยเฉพาะหญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี เพราะยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสตั้งครรภ์สำเร็จก็ยิ่งน้อยลงตามไปด้วย
สาเหตุของภาวะมีลูกยากในฝ่ายชาย
- มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำอสุจิ และสเปิร์ม เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด เช่น มีจำนวนอสุจิน้อยเกินไป อสุจิไม่แข็งแรง หรือผิดปกติ ทำให้ว่ายไปปฏิสนธิกับไข่ได้ยาก
- ท่อนำเชื้อ หรือท่อปัสสาวะตีบตัน
- อัณฑะเสียหายจากการติดเชื้อ มะเร็งอัณฑะ ภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุง โรคหนองในแท้ การผ่าตัดอัณฑะ หรือมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
- มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
- เคยทำหมันชายมาก่อน
- มีภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ
- ใช้ยาบางชนิด ได้แก่ ยาซัลฟาซาลาซีน (Sulfasalazine) ยาอนาบอลิกสเตียรอยด์ (Anabolic steroids) ยาเคมีบำบัด รวมถึงสมุนไพรบางอย่างที่อาจส่งผลต่อการผลิตอสุจิ หรือทำให้อัณฑะมีขนาดเล็กลง
- ใช้สารเสพติดที่อาจส่งผลต่อคุณภาพ ความแข็งแรงของอสุจิ เช่น โคเคน กัญชา บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นต้น
- อ้วน
- ภาวะทุพโภชนา
- ความเครียด
- มีโรคทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการไคลน์เฟลเดอร์ (Klinefelter's syndrome) โครโมโซมจะมีลักษณะเป็น XXY ไม่ใช่ XY คือมีโครโมโซม X เกินมา 1 ตัว
สาเหตุของภาวะมีลูกยากในฝ่ายหญิง
- มีความผิดปกติของฮอร์โมนทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการตกไข่ ได้แก่ ภาวะถุงน้ำหลายใบในรังไข่ โรคไทรอยด์ และภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนอายุ 40 ปี
- มีแผลจากการผ่าตัดที่ส่งผลให้ท่อนำไข่เสียหาย
- มีความผิดปกติของมูกตกไข่ ทำให้สเปิร์มว่ายผ่านไปปฏิสนธิได้ยาก
- มีพังผืด หรือเนื้องอกในมดลูก ทำให้ไปขัดขวางท่อนำไข่
- ท่อรังไข่อุดตัน
- ผนังมดลูกเจริญไม่เต็มที่
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งจะส่งผลต่อรังไข่ หรือท่อนำไข่ และนำไปสู่ภาวะมีลูกยาก
- อุ้งเชิงกรานอักเสบ เป็นภาวะที่เกิดจากการติดเชื้อในมดลูก รังไข่ และท่อนำไข่ ส่วนมากมีสาเหตุมาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- เคยทำหมันหญิงมาก่อน
- ใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยาต้านอาการทางจิต (Antipsychotic medicines) ยาสไปโรโนแลคโตน (Spironolactone) รวมถึงยาเสพติดอย่างกัญชา และโคเคน
ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อภาวะมีลูกยาก
- อายุ นับเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ภาวะมีลูกยาก เนื่องจากภาวะเจริญพันธุ์ของผู้หญิงจะค่อยๆ ลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป คุณภาพ และปริมาณไข่ที่ผลิตออกมาเริ่มมีจำนวนน้อยลง ส่วนผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปก็จะมีความสมบูรณ์ทางเพศน้อยลงเช่นกัน
- การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มมึนเมา หากต้องการตั้งครรภ์ ทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด เพราะจะส่งผลให้โอกาสการตั้งครรภ์ลดน้อยลง และทำให้ผู้ชายเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือมีจำนวนอสุจิน้อยลง
นอกจากนั้นยังเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ หรือเสี่ยงเกิดการแท้งบุตรได้ - น้ำหนักตัวที่มากเกินพอดี เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดภาวะมีลูกยา และอาจส่งผลต่อจำนวนอสุจิลดน้อยลงด้วย
- ออกกำลังกายไม่เพียงพอ การออกกำลังสามารถช่วยลดภาวะอ้วนซึ่งนำไปสู่ภาวะมีบุตรยาก และยังเพิ่มความแข็งของร่างกาย รวมทั้งลดความเสี่ยงของปัญหาเกี่ยวกับการตกไข่ของผู้หญิงอีกด้วย
ทั้งนี้หากเป็นกังวลเกี่ยวกับปัญหามีลูกยาก คุณสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจภาวะมีลูกยากได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่จำเป็นต้องรอให้ถึง 1 ปี โดยเฉพาะหญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี เพราะยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสตั้งครรภ์สำเร็จก็ยิ่งน้อยลงตามไปด้วย
ขั้นตอนการตรวจภาวะมีบุตรยาก
1. การซักประวัติ
ในเบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติ และถามคำถามเพื่อประเมินสาเหตุของภาวะมีลูกยากของคู่รักดังนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- ฝ่ายหญิงเคยมีลูกมาก่อนหรือไม่ หากเคยมี การตั้งครรภ์ครั้งก่อนๆ เป็นอย่างไร มีภาวะแทรกซ้อน หรือการแท้งบุตรเกิดขึ้นหรือไม่ และฝ่ายชายเคยมีลูกกับคนรักเก่าหรือไม่
- คุณพยายามมีลูกมานานแค่ไหนแล้ว โดยคู่รักมากกว่า 80% จะสามารถมีลูกได้ภายใน 1 ปี หากฝ่ายหญิงมีอายุน้อยกว่า 40 ปี และมีเพศสัมพันธ์ทุกๆ 2-3 วัน โดยไม่มีการป้องกัน ส่วนอีกประมาณ 10% จะมีลูกสำเร็จในปีถัดไป และส่วนที่เหลือจะประสบภาวะมีลูกยาก
- คุณมีเพศสัมพันธ์บ่อยแค่ไหน และมีปัญหาในการมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ ทั้งคู่ควรเปิดอก และบอกให้แพทย์ทราบอย่างตรงไปตรงมา ไม่ต้องเขินอาย หรือปกปิด เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่แพทย์ผู้วินิจฉัยจะต้องทราบ เพื่อจะให้คำแนะนำ และวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง
- ก่อนหน้านั้นคุณใช้วิธีคุมกำเนิดแบบใด และหยุดใช้มานานแค่ไหนแล้ว
- ประจำเดือนของฝ่ายหญิงมาเป็นปกติหรือไม่ มีเลือดออกระหว่างรอบเดือน หรือหลังการมีเพศสัมพันธ์หรือเปล่า
- คุณมีโรคประจำตัว โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือเคยรับการผ่าตัดใดๆ มาก่อนหรือไม่
- คุณใช้ยารักษาโรคทั้งที่หาซื้อได้เอง และสั่งจ่ายโดยแพทย์ วิตามิน สมุนไพร หรืออาหารเสริมชนิดใดอยู่หรือไม่
- พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคุณเป็นอย่างไร เพื่อประเมินปัจจัยเสี่ยงก่อให้เกิดภาวะมีลูกยากได้ เช่น สูบบุหรี่ น้ำหนักเกินมาตรฐาน ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป เครียด หรือใช้สารเสพติด ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลให้มีลูกยากได้
คู่รักบางคู่เพียงเข้ารับคำปรึกษาดังข้างต้น และทำตามคำแนะนำจากแพทย์ก็มีลูกสำเร็จได้ แต่บางคู่ก็ต้องตรวจหาสาเหตุ และรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ต่อไป
2. การตรวจภาวะมีบุตรยาก
การตรวจมีลูกยากในฝ่ายชายมักเริ่มจากการตรวจน้ำอสุจิ ส่วนมากวิธีนี้จะสามารถบอกได้ทันทีว่า มีภาวะมีลูกยากหรือไม่
สิ่งสำคัญในการตรวจภาวะมีบุตรยาก คือ คุณจะต้องงดการมีเพศสัมพันธ์ และงดการหลั่งน้ำอสุจิเป็นเวลา 3-7 วันก่อนมาตรวจ ไม่ควรน้อย หรือนานกว่านี้ ส่วนการตรวจมีลูกยากในฝ่ายหญิงจะมีขั้นตอน และวิธีตรวจที่ซับซ้อนกว่า เช่น
- ตรวจภายใน
- ตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมน
- อัลตราซาวด์ทางช่องคลอดเพื่อดูมดลูก และรังไข่
- ฉีดสีเข้าโพรงมดลูกพร้อมกับส่องกล้องดูโพรงมดลูก และท่อนำไข่
- ส่องกล้องดูโพรงมดลูก และอุ้งเชิงกราน
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างวิธีที่แพทย์อาจใช้ในการตรวจ แน่นอนว่า คุณไม่จำเป็นต้องตรวจทุกวิธี การตรวจที่เหมาะสมจะพิจารณาจากประวัติ และผลการตรวจร่างกายของคุณว่า ปัญหามีลูกยากน่าจะเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง
วิธีรักษาภาวะมีบุตรยาก
คู่รักทุกคู่อาจไม่ทราบว่า ตนเองสามารถเพิ่มโอกาสในการมีลูกโดยเปลี่ยนจากพฤติกรรมทำร้ายสุขภาพเป็นคนรักสุขภาพได้ โดยไม่ต้องถึงมือแพทย์ โดยทำได้ตามคำแนะนำง่ายๆ ดังต่อไปนี้
- ออกกำลังกายเป็นประจำ ครั้งละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบถ้วนทั้ง 5 หมู่
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ และคุณภาพของอสุจิ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ และสารเสพติด
- หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด เช่น พูดคุยกับเพื่อน นวดผ่อนคลาย เล่นกีฬา นั่งสมาธิ ทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ
หากเป็นภาวะมีลูกยากที่การดูแลสุขภาพเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะช่วยได้ คุณจำเป็นต้องรับการรักษาตามสาเหตุที่พบ เช่น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- ท่อนำไข่ตีบตัน อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดให้กลับมาเป็นปกติ
- ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สามารถรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อนำเยื่อบุโพรงมดลูกที่ผิดปกติออก แต่หากมีมากเกินไปอาจต้องใช้การทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งเป็นการนำไข่ และอสุจิมาผสมกันภายนอกร่างกาย ก่อนจะฉีดกลับเข้าไปภายในมดลูกของฝ่ายหญิงเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์
- ภาวะไข่ไม่ตก มีวิธีรักษาโดยการให้ยากระตุ้นการตกไข่
- อสุจิมีความผิดปกติ เบื้องต้นจะมีการตรวจหาสาเหตุ และอาจต้องเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์โดยฉีดน้ำเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูก หรือทำเด็กหลอดแก้ว
- เคยทำหมันมาก่อน แม้จะสามารถแก้หมันได้ แต่ก็ไม่สำเร็จเสมอไป
- ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด กรณีนี้แพทย์จะพยายามเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การกระตุ้นรังไข่ และการฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูก
หากการรักษาเบื้องต้นตามสาเหตุใช้ไม่ได้ผลก็อาจต้องใช้เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์เข้าช่วย แต่ส่วนมากจะมีกระบวนการที่ซับซ้อน และมีค่าใช้จ่ายสูง เช่น
- การปฏิสนธินอกร่างกายอย่างการทำเด็กหลอดแก้ว (In-vitro Fertillization: IVF)
- การทำอิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperm Injection: ICSI)
- การฉีดเชื้ออสุจิเขาไปในเซลล์ไข่ (intrauterine insemination: IUI)
ค่าใช้จ่ายในการตรวจภาวะมีลูกยาก และรักษาภาวะมีลูกยาก
การตรวจภาวะมีลูกยากในขั้นรับคำปรึกษา และตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจภายใน หรือตรวจความสมบูรณ์ของอสุจินั้นมีค่าใช้จ่ายประมาณไม่เกิน 2,000 บาท
ส่วนการรักษาด้วยเทคโนโลยีแก้ไขภาวะมีลูกยากนั้นอาจมีค่าใช้จ่ายสูงถึงหลักหมื่น หรือหลักแสน หลังจากปรึกษา หรือแม้กระทั่งเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาไปแล้วก็ยังไม่สามารถรับประกันว่า จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้ 100%
เปรียบเทียบราคาตรวจมีลูกยากในผู้หญิง
รพ. พญาไท 2 (ตรวจสุขภาพสำหรับผู้มีบุตรยาก)
ราคาประมาณ 3,500 บาท โดยมีรายละเอียดการตรวจดังนี้
- ปรึกษา ซักประวัติ และตรวจร่างกายโดยสูตินรีแพทย์
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด (CBC)
- ตรวจหมู่เลือดระบบ ABO และ Rh
- ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg)
- ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (Anti HCV)
- ตรวจหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Anti HIV)
- ตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส (VDRL)
- ตรวจหาโรคเลือดทางพันธุกรรม (Hemoglobin Typing)
- ตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน (Rubella IgG)
รพ. จุฬารัตน์อินเตอร์ 9 (คัดกรองมีบุตรยาก)
ราคาประมาณ 4,200 บาท โดยมีรายละเอียดการตรวจดังนี้
- ปรึกษา ซักประวัติ และตรวจร่างกายโดยสูตินรีแพทย์
- ตรวจอัลตร้าซาวด์อุ้งเชิงกราน
- ตรวจเอกซเรย์ดูมดลูกและท่อนำไข่(รวมฉีดสี)
รพ. นนทเวช (แพ็กเกจสำหรับผู้มีบุตรยาก)
ราคาประมาณ 6,900 บาท มีรายละเอียดการตรวจดังนี้
- ปรึกษา ซักประวัติ และตรวจร่างกายโดยสูตินรีแพทย์
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด (CBC)
- ตรวจหมู่เลือดระบบ ABO และ Rh
- ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg)
- ตรวจหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Anti HIV)
- ตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส (VDRL)
- ตรวจหาโรคเลือดทางพันธุกรรม (Hemoglobin Typing)
- ตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน (Rubella IgG)
- ตรวจอัลตร้าซาวด์อุ้งเชิงกราน
- ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกพร้อมตรวจเชื้อเอชพีวี
เปรียบเทียบราคาตรวจมีลูกยากในผู้ชาย
รพ. พญาไท 2 (ตรวจสุขภาพสำหรับผู้มีบุตรยาก)
ราคาประมาณ 3,500 บาท โดยมีรายละเอียดการตรวจดังนี้
- ปรึกษา ซักประวัติ และตรวจร่างกายโดยสูตินรีแพทย์
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด (CBC)
- ตรวจหมู่เลือดระบบ ABO และ Rh
- ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg)
- ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (Anti HCV)
- ตรวจหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Anti HIV)
- ตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส (VDRL)
- ตรวจหาโรคเลือดทางพันธุกรรม (Hemoglobin Typing)
- ตรวจดูความสมบูรณ์ของเชื้ออสุจิ (Semen Analysis)
รพ. จุฬารัตน์อินเตอร์ 9 (คัดกรองมีบุตรยาก)
- ราคาประมาณ 800 บาท โดยมีรายละเอียดการตรวจดังนี้
- ปรึกษา ซักประวัติ และตรวจร่างกายโดยสูตินรีแพทย์
- ตรวจดูความสมบูรณ์ของเชื้ออสุจิ (Semen Analysis)
รพ. นนทเวช (แพ็กเกจสำหรับผู้มีบุตรยาก)
ราคาประมาณ 3,700 บาท โดยมีรายละเอียดการตรวจดังนี้
- ปรึกษา ซักประวัติ และตรวจร่างกายโดยสูตินรีแพทย์
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด (CBC)
- ตรวจหมู่เลือดระบบ ABO และ Rh
- ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg)
- ตรวจหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Anti HIV)
- ตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส (VDRL)
- ตรวจหาโรคเลือดทางพันธุกรรม (Hemoglobin Typing)
- ตรวจดูความสมบูรณ์ของเชื้ออสุจิ (Semen Analysis)
*ราคาข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลง และอาจยังไม่รวมค่าแพทย์หรือค่ายา
การมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งในช่วงที่ไข่ตกเป็นวิธีพื้นฐานที่ช่วยเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ได้ ซึ่งสามารถคำนวณช่วงเวลาที่ไข่ตกโดยเริ่มนับย้อนจากวันแรกที่จะมีประจำเดือนครั้งต่อไปเป็นจำนวน 14 วัน
หรือคุณอาจสังเกตจากมูกบริเวณช่องคลอดที่จะออกมามากในช่วงนี้ และปัจจุบันยังมีแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการคำนวณช่วงไข่ตกให้แม่นยำยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากพยายามด้วยวิธีธรรมชาติแล้วยังไม่มีเจ้าตัวน้อยสมใจ แต่ต้องการมีลูกจริงๆ การตรวจภาวะมีลูกยาก และเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยได้
เพียงแต่คู่สามีภรรยาต้องเตรียมตัวเตรียมใจ และเตรียมกำลังทรัพย์ให้พร้อม หากได้ลูกมานำเป็นเรื่องที่ดี แต่หากไม่ได้ลูกมาก็ไม่โทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภาวะมีบุตรยาก จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android