กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

มะเร็งอัณฑะ (Testicular Cancer)

เผยแพร่ครั้งแรก 11 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที

มะเร็งอัณฑะจัดว่าเป็นมะเร็งที่พบได้ไม่บ่อยและมักจะมีการพยากรณ์ของโรคที่ดี

มะเร็งเป็นโรคที่การเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติในระดับที่ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นมะเร็งอัณฑะจึงหมายถึงการมีเซลล์ที่เป็นมะเร็งเกิดขึ้นอยู่ภายในเนื้อเยื่อของอัณฑะข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างของผู้ชาย สมาคมโรคมะเร็งของสหรัฐอเมริกาได้กล่าวว่ามีมะเร็งอัณฑะมากกว่า 90% ขึ้นไปที่เกิดขึ้นใน germ cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างสเปิร์ม มะเร็งอัณฑะสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ seminomas และ non-seminomas โดยชนิด non-seminomas มีการเจริญและแพร่กระจายได้เร็วกว่าชนิด seminoma และตอบสนองต่อการฉายแสงได้น้อยกว่า ในบางกรณี มะเร็งอัณฑะอาจเป็นการแพร่กระจายมาจากมะเร็งที่เกิดขึ้นในอวัยวะอื่นได้ เนื้องอกยังสามารถเกิดขึ้นในส่วนที่เรียกว่า stroma ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อภายในอัณฑะที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน แต่เนื้องอกใน stroma ส่วนใหญ่มักไม่ใช่มะเร็ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ข้อมูลทางสถิติของมะเร็งอัณฑะ

สถาบันสุขภาพแห่งชาติได้กล่าวว่า มะเร็งอัณฑะเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ชายอายุระหว่าง 15-35 ปี แต่มะเร็งอัณฑะนี้ก็ยังถือว่าพบได้ค่อนข้างน้อย โดยพบเพียง 1 ในผู้ชาย 263 คน ๖(หรือประมาณ 0.4%) ในสหรัฐอเมริกา อ้างอิงจากสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา หรือคิดเป็นผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 8430 รายในปี 2015 National Cancer Institute’s Surveillance, Epidemiology, and End Results (SEER) program ได้กล่าวว่าในปี 2012 มีผู้ชาย 233,602 คนที่เป็นมะเร็งอัณฑะในสหรัฐอเมริกา โดยรวมแล้ว มะเร็งอัณฑะนั้นเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นลำดับที่ 25 ในสหรัฐอเมริกา อ้างอิงจากข้อมูลของ SEER โดยคิดเป็น 0.5% ของผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ในประเทศ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งอัณฑะที่แน่ชัดในผู้ป่วยบางราย แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้เพิ่มขึ้น โดยมะเร็งชนิดนี้สามารถเกิดได้ในผู้ชายทุกช่วงอายุ แต่มักพบในผู้ชายอายุน้อย ระหว่าง 20-34 ปี อ้างอิงจาก ACS และมะเร็งชนิดนี้ยังพบได้บ่อยในผู้ชายผิวขาวมากกว่าเชื้อชาติอื่น โดยพบว่าความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งอัณฑะในผู้ชายผิวขาวนั้นมากกว่าผู้ชายผิวดำหรือกลุ่มเอเชียนถึง 4-5 เท่า ความเสี่ยงในกลุ่มผู้ชายฮิสแปนิกและอเมริกันอินเดียนหรือชนพื้นเมืองในอลาสก้านั้นน้อยกว่าผู้ชายผิวขาว แต่สูงกว่ากลุ่มผิวดำและเอเชียน

คุณจะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งอัณฑะเพิ่มขึ้นหากคุณมีภาวะดังต่อไปนี้

  • มีความปกติระหว่างการเจริญเติบโตของลูกอัณฑะ
  • มีภาวะทองแดง
  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งอัณฑะ
  • ติดเชื้อ HIV
  • เคยเป็นมะเร็งอัณฑะมาก่อน
  • เป็นกลุ่มอาการ Klinefelter syndrome ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่มีโครโมโซม X มากกว่าปกติ
  • เป็น Carcinoma in situ ซึ่งเป็นเนื้องอกของ testicular germ cell ชนิดหนึ่งที่ไม่มีการแพร่กระจาย

นอกจากนั้น ผู้ชายที่ใช้มารีฮวนน่ายังอาจจะมีความเสี่ยงในการเกิด testicular germ cell tumors มากขึ้น อ้างอิงจากรายงานในวารสารชื่อ Cancer ในปี 2012

การพยากรณ์โรค

ในสหรัฐอเมริกาพบว่ามีผู้ชายประมาณ 380 ที่น่าจะเสียชีวิตจากโรคมะเร็งอัณฑะในปี 2015 อ้างอิงจาก ACS อย่างไรก็ตาม พยากรณ์โรคสำหรับผู้ชายที่เป็นมะเร็งอัณฑะมีแนวโน้มไปในทางที่ดี เพราะมักสามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ รายงานของ ACS ได้กล่าวว่าความเสี่ยงของผู้ชายที่จะเสียชีวิตจากมะเร็งอัณฑะนั้นอยู่ที่ 1 ใน 5000 ซึ่งความเสี่ยงในการเสียชีวิตนี้มักจะวัดจากอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี ซึ่งก็คือจำนวนผู้ป่วยที่ยังมีชีวิตอยู่หลังจากได้รับการวินิจฉัยไปแล้ว และสามารถคิดอัตราการรอดชีวิตแบบสัมพันธ์ที่ 5 ปีซึ่งจะทำให้ตัวเลขผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคนี้มีลดลง อัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีของโรคนี้อยู่ที่ 95% อ้างอิงจากข้อมูลทางสถิติของ SEER หากมะเร็งนั้นยังไม่มีการลุกลามออกไปรอกอัณฑะ โอกาสการรอดชีวิตที่ 5 ปีนั้นจะอยู่ที่ 99% แต่หากมะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังต่อน้ำเหลืองหรือเนื้อเยื่ออื่นๆ อัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีนั้นจะอยู่ที่ 96% และ 74% ตามลำดับ

สาเหตุ

ยังไม่ทราบแน่ชัด พบในผู้ที่ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน ลูกอัณฑะไม่ลงถุงอัณฑะ อาจพบในบุตรชายของมารดาที่ได้รับเอสโตรเจนชนิด Diethylstilbestrol (DES) ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หรือบุตรชายของมารดาที่ใช้ยาที่มีเอสโตรเจนผสมกับโปรเจสตินเพื่อตรวจสอบการตั้งครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

พยาธิสรีรภาพ

มะเร็งอัณฑะส่วนใหญ่ร้อยละ 90 – 95 เป็นชนิด Germinal cell tumor ในมะเร็งอัณฑะทั้งหมดแบ่งเป็นร้อยละ 30 – 40 เป็นชนิด Seminomas และร้อยละ 20 เป็นชนิด Embryonal carcinomas ส่วนที่เหลืออาจเป็นมะเร็งชนิด Teratocarcinomas, Choriocarcinomas, Seminomas การพยากรณ์โรคจะดีประมาณร้อยละ 90 มีชีวิตรอดได้ 5 ปี เนื่องจากอยู่เฉพาะที่ เพราะในระยะแรกจะไม่ลุกลาม จะลุกลามเฉพาะในระยะท้าย และรักษาด้วยการฉายแสงได้ผลดี

มะเร็งอัณฑะส่วนน้อยเป็นชนิด Interstital cell tumor, Testicular adenomas ซึ่งเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งส่วนใหญ่จะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ปอด ส่วนน้อยไปที่ตับ กระดูก และสมอง ส่วนมะเร็งชนิด Choriocarcinomas แพร่กระจายทางกระแสเลือด ดังนั้นเมื่อผ่าตัดเอามะเร็งอัณฑะออกไปข้างหนึ่งแล้วสามารถเกิดขึ้นอีกข้างหนึ่งได้

อาการที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคมะเร็งอัณฑะคือการคลำได้ก้อน

ถึงแม้ว่ามะเร็งอัณฑะจะเป็นมะเร็งที่พบได้น้อยถ้าเปรียบเทียบกับมะเร็งชนิดอื่นๆ แต่มะเร็งชนิดนี้ก็ยังเป็นมะเร็งที่ส่งผลกระทบต่อผู้ชายอายุระหว่าง 20-34 ปีมากเป็นอันดับที่ 1 อ้างอิงจากสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (ACS) มะเร็งอัณฑะมักจะมีการพยากรณ์โรคที่ดี เพราะมักจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ การรู้อาการและอาการแสดงของโรคนี้จึงสามารถช่วยให้คุณสามารถได้รับการวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตต่อไป

อาการและอาการแสดง

ACS ได้กล่าวว่า การคลำได้ก้อนบนหรือในอัณฑะเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับโรคมะเร็งอัณฑะ อาการอื่นๆ ที่สามารถพบได้ประกอบด้วย

  • ปวดหรือรู้สึกไม่สบายภายในอัณฑะ บางครั้งอาจรู้สึกหนักๆ ในลูกอัณฑะได้
  • มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเกี่ยวกับความรู้สึกเกี่ยวกับลูกอัณฑะ
  • ลูกอัณฑะบวมหรือใหญ่ขึ้น (โดยอาจจะไม่ได้คลำได้ก้อนชัดเจน)
  • ปวดแน่นๆ บริเวณขาหนีบหรือท้องน้อย
  • มีสารน้ำสะสมภายในถุงอัณฑะ

มะเร็งอัณฑะระยะแรกนั้นอาจทำให้เกิดอาการอื่นๆ เช่นต้านมโตขึ้น ความต้องการทางเพศลดลง และความผิดปกติในการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ในเด็กผู้ชาย

หากมะเร็งมีการแพร่กระจายเข้าสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย จะทำให้เกิดอาการอื่นๆ เพิ่มเติมได้ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้ชายวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ปวดหลังส่วนล่าง
  • ปวดท้อง
  • ปวดหัวและมึนงง (เนื่องจากมีความผิดปกติทางสมองร่วมด้วย)
  • ชา, เจ็บแปลบ หรืออ่อนแรงในแจนหรือขา (หากมีความผิดปกติที่ไขสันหลัง)
  • ปัญหาเกี่ยวกับกาหายใจ เช่นหายใจลำบาก แน่นหน้าอก และไอ

การตรวจอัณฑะด้วยตนเอง

การตรวจอัณฑะด้วยตนเองสามารถทำให้คุณตรวจพบอาการแสดงของโรคมะเร็งอัณฑะได้ตั้งแต่ระยะแรก แพทย์บางคนอาจแนะนำให้ทำการตรวจอัณฑะด้วยตนเองเดือนละครั้งหลังจากเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะหากคุณมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งอัณฑะ เมื่อทำการตรวจ อย่าลืมที่จะจับองคชาติออกไปและตรวจอัณฑะทีละข้าง และอย่าลืมว่าอัณฑะทั้ง 2 ข้างอาจจะมีขนาดไม่เท่ากัน ห้อยอยู่ในระดับที่ต่างกัน หรือมีรอยนูนเล็กๆ บริเวณด้านนอกของลูกอัณฑะส่วนบนและส่วนกลางได้ เป็นเรื่องปกติ (อาจเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า epididymis)

ในการเริ่มตรวจอัณฑะ ให้เริ่มจากการค่อยๆ ใช้นิ้วโป้งและนิ้วอื่นๆ ทั้ง 2 ข้างไล่คลำบริเวณอัณฑะ ในขณะที่พยายามมองหา

  • ก้อนแข็ง
  • ก้อนเรียบๆ ที่มีขอบเขตชัดจเน
  • ความเปลี่ยนแปลงของขนาด รูปร่างและความหยุ่นของอัณฑะ   

การตรวจอัณฑะจะทำได้ดีที่สุดเมื่อถุงอัณฑะอยู่ในสภาวะผ่อนคลาย เช่นหลังจากการอาบน้ำอุ่น

การวินิจฉัย

หากคูณรู้สึกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอัณฑะ คุณควรไปพบแพทย์ทันที การวินิจฉัยโรคมะเร็งอัณฑะนั้นจะริ่มจากการที่แพทย์สอบถามเกี่ยวกับประวัติและอาการที่คุณมาพบแพทย์ ก่อนที่จะเริ่มทำการตรวจร่างกาย โดยการมองหาตำแหน่งที่อาจเกิดการบวมหรือเจ็บ และดูขนาดและตำแหน่งของก้อนที่อาจเกิดขึ้น

หากแพทย์ตรวจพบก้อนแข็ง แพทย์อาจใช้ไฟฉายตรวจที่บริเวณอัณฑะเพื่อดูว่าแสงสามารถผ่านก้อนนั้นได้หรือไม่ นอกจากนั้นแพทย์ยังอาจตรวจบริเวณขาหนีบ ท้อง และส่วนอื่นๆ ของร่างกายเพื่อมองหาบริเวณที่อาจมีการแพร่กระจายของมะเร็ง ก่อนที่แพทย์จะส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคมะเร็งอัณฑะ เช่นการทำ ultrasound หรือการตรวจเลือดเพื่อดูระดับของสารในร่างกายที่อาจแสดงถึงการมีเนื้องอกเช่น alpha fetoprotein, human chorionic gonadotropin และ lactic dehydrogenase หรือในบางกรณี แพทย์อาจส่งตัดชิ้นเนื้อ เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ หากผลการ ultrasound หรือเจาะเลือดนั้นไม่ชัดเจน นอกจากนั้นยังมีการใช้เทคนิคทางรังสีวินิจฉัยอื่นๆ เช่นการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชในช่องท้องและเชิงกราน การเอกซเรย์ทรวงอกและการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หากแพทย์สงสัยว่ามีการแพร่กระจายของมะเร็ง

การรักษา

โดยการผ่าตัดอัณฑะส่วนหนึ่งออกไปโดยใช้เคมีบำบัดหลังการผ่าตัด เป็นการใช้ยาต้านมะเร็งมากำจัดเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ในร่างกาย ถือเป็นวิธีการรักษาแบบเสริมการรักษาโดยการฉายรังสีซึ่งเป็นการใช้รังสีพลังงานสูงมาทำลายเซลล์มะเร็ง จนทำให้เนื้องอกหดตัวลง ถือเป็นการรักษาที่ใช้เฉพาะส่วน เพราะจะส่งผลต่อเซลล์มะเร็งบริเวณที่ได้รับการรักษาเท่านั้น

การพยาบาล

ดูแลฟื้นฟูหลังการผ่าตัด

การดูแลด้านอาหาร หลังการผ่าตัดผู้ป่วยมะเร็งอัณฑะควรรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูง โปรตีนสูงและวิตามินสูงอย่างเหมาะสม อีกทั้งห้ามสูบบุหรี่และงดดื่มสุรา หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีฤทธิ์กระตุ้น

การดูแลด้านจิตใจ ควรช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีความหนักแน่นและความเชื่อมั่นในการเผชิญหน้ากับโรคและการเอาชนะโรค หลีกเลี่ยงอารมณ์ด้านลบ ส่วนอีกด้านหนึ่งต้องเน้นการบริหารทางด้านจิตใจของผู้ป่วย คอยดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด คอยฟังผู้ป่วยระบายอย่างอดทน

การดูแลด้านการดำรงชีวิต ควรดูแลความสะอาดของผิวหนัง โดยจะต้องใช้น้ำอุ่นเช็ดผิวหนังทุกวัน ต้องพลิกตัวเป็นประจำ นวดมือและเท้าให้ผู้ป่วย การใส่ใจสภาพแวดล้อม ควรรักษาความสะอาด ความสงบ และอากาศถ่ายเทของห้องนอน อีกทั้งอุณหภูมิภายในห้องและความชื้นต้องเหมาะสมอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากหนังสือ "คู่มือโรค" โดยปราณี ทู้ไพเราะ จากจากโรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
อัณฑะไม่ลงถุงตั้งแต่เด็กครับ อยากทราบว่าจะเป็นอันตรายไหม เพราะเวลาอัณฑะลงถุงเมื่อไหร่ ผมจะเกิดอาการเจ็บที่อัณฑะครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
คุณหมอครับมะเร็งอัณฑะเป็นอย่างไรครับมีอาการยังไงบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ผมมีก้อนที่อวัยวะเพศ(ไม่เจ็บและไม่มีอาการเกี่ยวกับมะเร็งอัณฑะเลยค่อนข้างขรุขระ) ตอนประถมเคยปั่นจักรยานล้มแล้วเป็นแผล
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ถ้าเเบบมีเหมือนอะไรบางอย่างเป็นเเบบเเผ่นนูนๆบีบไม่เจ็บ เเปลว่าเป็นมะเร็งอัณฑะไหมครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)