กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ท้องอืดหลังทานอาหาร..ป้องกันได้อย่างไรบ้าง?

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ท้องอืดหลังทานอาหาร..ป้องกันได้อย่างไรบ้าง?

เคยไหมกับการรู้สึกแน่นท้องหรืออึดอัดหลังทานอาหาร? โดยทั่วไปแล้ว อาการท้องอืดที่เกิดขึ้นหลังทานอาหารไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลและอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว แต่มันก็จะทำให้เรารู้สึกว่าท้องบวมหรือไม่สบายตัว รวมถึงอาจมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น ผายลม เรอ ฯลฯ ส่งผลให้คุณรู้สึกหงุดหงิดใจไปตลอดวัน แต่ก่อนที่เราจะไปดูวิธีป้องกันอาการท้องอืดหลังทานอาหาร เราลองมาดูสาเหตุกันก่อนดีกว่าค่ะ

สาเหตุ

อาการท้องอืดหลังทานอาหารเป็นเรื่องปกติ ซึ่งการเลี่ยงอาหารบางชนิดสามารถช่วยป้องกันได้ ทั้งนี้อาการท้องอืดเกิดขึ้นที่บริเวณท้อง ซึ่งคุณจะมีอาการดังกล่าวเมื่อมีอากาศหรือก๊าซปริมาณมากก่อตัวขึ้นในทางเดินอาหาร อย่างไรก็ดี การทานอาหารเป็นสาเหตุพื้นฐานของอาการท้องอืด เพราะเมื่อร่างกายย่อยอาหาร มันก็จะผลิตก๊าซออกมา นอกจากนี้คนยังกลืนอากาศเมื่อทานอาหารหรือดื่มน้ำ ทำให้อากาศเข้าไปในทางเดินอาหาร  อย่างไรก็ดี การผายลมและการเรอสามารถช่วยลดปริมาณก๊าซและอากาศในลำไส้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วิธีป้องกัน

1.อย่าทานอาหารที่มีไฟเบอร์มากเกินไป

ไฟเบอร์เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่พบได้ในพืช ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยได้ ทั้งนี้ไฟเบอร์มีบทบาทสำคัญต่อร่างกาย เช่น ช่วยควบคุมระดับของน้ำตาลในเลือดและการทานน้ำตาล อย่างไรก็ตาม อาหารที่มีไฟเบอร์สูงสามารถทำให้ร่างกายของบางคนผลิตก๊าซออกมามากเกินไป ซึ่งมีงานวิจัยพบว่า การทานอาหารที่มีไฟเบอร์น้อยลงช่วยบรรเทาอาการท้องอืดในคนที่มีอาการท้องผูกชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ ตัวอย่างของอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ถั่วฝัก เลนทิล ผลไม้ ข้าวโอ๊ตเต็มเมล็ด ถั่วสปริตพี บร็อกโคลี กะหล่ำดาว ฯลฯ

2.ร่างกายไม่สามารถย่อยอาหารบางชนิดหรือแพ้อาหาร

อาการท้องผูกถือเป็นอาการทั่วไปของคนที่ร่างกายไม่สามารถย่อยอาหารบางประเภทหรือมีอาการแพ้อาหาร ซึ่งมันสามารถทำให้ร่างกายผลิตก๊าซออกมามากเกินไป หรือมีก๊าซติดอยู่ในทางเดินอาหาร ซึ่งอาหารที่มีแนวโน้มว่าทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวคือ ข้าวสาลีหรือกลูเตน

3.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง

ไขมันเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ ซึ่งร่างกายย่อยไขมันอย่างช้าๆ เพราะมันต้องใช้เวลาเคลื่อนผ่านระบบย่อยอาหารนานกว่าอาหารชนิดอื่นๆ และนั่นก็สามารถทำให้อาหารตกค้างอยู่ในท้อง ส่งผลให้บางคนมีอาการท้องอืด สำหรับคนที่เผชิญปัญหาดังกล่าว การหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงอาจช่วยลดอาการท้องอืดได้

4.ทานอาหารหรือดื่มน้ำให้ช้าลง

การทานอาหารหรือน้ำเร็วเกินไปสามารถทำให้เรากลืนอากาศเข้าไปในร่างกายมากขึ้น และนั่นก็จะทำให้ก๊าซก่อตัวในทางเดินอาหารได้ในที่สุด ซึ่งการทานอาหารให้ช้าลงก็อาจช่วยบรรเทาปัญหาได้ค่ะ

5.หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม

น้ำอัดลมมีคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่สามารถก่อตัวขึ้นในทางเดินอาหารและทำให้เรามีอาการท้องอืด ซึ่งการทานเครื่องดื่มประเภทนี้สูตรไดเอทก็สามารถทำให้เรามีอาการดังกล่าวเช่นกัน อย่างไรก็ดี การดื่มน้ำเปล่าถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการท้องอืด

6.ขิง

ขิงเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่นำมาใช้รักษาปัญหาที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ทั้งนี้ขิงมีสารที่ช่วยขับก๊าซส่วนเกินออกมาจากทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังมี Review เมื่อปี ค.ศ.2013 พบว่า ขิงสามารถช่วยรับมือกับปัญหาที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร ตัวอย่างเช่น อาการท้องอืด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

7.ออกกำลังกายเบาๆ

การออกกำลังกายเบาๆ หลังทานอาหารอย่างการเดิน อาจช่วยบรรเทาอาการท้องอืดได้ในบางคน ซึ่งมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า การออกกำลังกายเบาๆ สามารถช่วยกำจัดก๊าซออกจากทางเดินอาหาร และช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ดังนั้นใครที่รู้ตัวว่ามักมีอาการท้องอืดหลังทานอาหาร การออกไปเดินรับลมนอกบ้านก็อาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการดังกล่าวได้

8.รักษากรดไหลย้อน

กรดไหลย้อนเกิดขึ้นเมื่อกรดจากกระเพาะอาหารไหลกลับมายังคอ ซึ่งสามารถทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแสบร้อน อย่างไรก็ดี กรดไหลย้อนถือเป็นสาเหตุทั่วไปของการมีอาการท้องผูก บางคนอาจพบว่าการรักษากรดไหลย้อนเป็นวิธีที่ช่วยลดอาการท้องอืดได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งคุณสามารถรักษาโรคดังกล่าวโดยทานยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปอย่างยาลดกรด

อาการท้องอืดที่เกิดขึ้นหลังจากทานอาหารไม่ใช่เรื่องน่ากังวล แต่หากมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องผูก ท้องเสีย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ผิวระคายเคือง ฯลฯ คุณก็ควรไปพบแพทย์ เพราะมันอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพอื่นๆ


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sensitive Stomachs: Secrets to Gas Control. WebMD. (https://www.webmd.com/digestive-disorders/features/secrets-gas-control#1)
7 Easy Ways to Tame Excessive Gas or Flatulence. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/digestive-health/treatment-for-excessive-gas/)
How to stop farting: 12 tips and remedies. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321604)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)