วิธีวัดมวลกล้ามเนื้อ ทำอย่างไรได้บ้าง?

เผยแพร่ครั้งแรก 5 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีวัดมวลกล้ามเนื้อ ทำอย่างไรได้บ้าง?

การตรวจวัดมวลกล้ามเนื้อ มีหลายวิธีที่สามารถทำได้ โดยหลักๆ จะต้องใช้เครื่องมือช่วยเพื่อแบ่งแยกมวลร่างกายต่างๆ ออกจากกันก่อน ดังนั้นจึงมีอุปกรณ์ที่นิยมใช้วัดโดยตรง ไปจนถึงการวัดด้วยวิธีคำนวณผ่านค่าความสูงและน้ำหนักตัว ส่วนระดับความแม่นยำก็จะแตกต่างกันออกไป โดยมากแล้วจะไม่มีค่าตายตัว จะเป็นเหมือนค่าเฉลี่ยที่ทำให้ทราบว่าร่างกายในตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง การวัดค่ามวลกล้ามเนื้อ จะได้ข้อมูลออกมาทั้งค่ามวลกระดูก มวลน้ำ มวลกล้ามเนื้อ และมวลไขมัน แล้วจะถูกนำไปคำนวณเป็นค่าดัชนีมวลกายที่เรียกว่า BMI ต่อไปนั่นเอง

การวัดมวลกล้ามเนื้อด้วยเครื่องชั่งน้ำหนักแบบ BIA

เครื่องชั่งน้ำหนักที่สามารถวัดค่ามวลกล้ามเนื้อได้นั้น จะไม่ใช่เครื่องชั่งน้ำหนักที่เราเห็นกันโดยทั่วไป แต่จะถูกออกแบบให้มีความสามารถพิเศษมากกว่านั้นคือเป็น เครื่องชั่งน้ำหนักและวัดไขมันพร้อมๆ กัน ซึ่งจะทำให้ได้ออกมาเป็นค่า BMI ที่ต้องการ โดยตัวเครื่องที่นิยมใช้จะทำงานด้วยการวัดองค์ประกอบของร่างกายด้วยความต้านทานไฟฟ้า ได้เปอร์เซ็นต์ไขมัน น้ำ และมวลกล้ามเนื้อ ตัวพื้นของเครื่องชั่งมีลักษณะไม่ต่างจากเครื่องชั่งน้ำหนักธรรมดา ทว่าจะผลิตจากวัสดุแก้ว Tempered Glass ด้านขวาและซ้าย ประกอบด้วยแผ่นอิเล็กโทรด ที่จะส่งกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย ข้อเสียของการวัดด้วยเครื่องมือชนิดนี้ คือผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ และหญิงตั้งครรภ์ เพราะคลื่นที่ปล่อยออกมา จะไปรบกวนร่างกาย จนเกิดเป็นอันตรายขึ้นมาก็ได้ ส่วนค่าที่ได้ก็ไม่ได้มีความแม่นยำมากนัก เป็นเพียงข้อมูลคร่าวๆ ที่มีความคาดเคลื่อนอยู่พอสมควร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วิธีคำนวณหามวลกล้ามเนื้อผ่านโปรแกรมคำนวณ

เป็นวิธีการเรียบง่ายที่เหมาะสำหรับคนที่ไม่ได้จริงจังการค่าความแม่นยำมากนัก ซึ่งวิธีนี้มักจะเป็นวิธีของคนที่เริ่มต้นให้ความสำคัญกับการหาค่ามวลต่างๆ ของร่างกาย โปรแกรมการคำนวณจะมีอยู่ตามเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการออกกำลังกาย เมื่อเข้าไปแล้วก่อนคำนวณจะต้องป้อน อายุ เพศ น้ำหนัก และส่วนสูงเข้าไปด้วย จากนั้นโปรแกรมก็จะทำการคำนวณออกมาเป็นค่าเฉลี่ย เรื่องความแม่นยำไม่เท่ากับเครื่องมือที่ใช้วัดกับร่างกายโดยตรง แต่ช่วยให้ทราบว่ามวลกล้ามเนื้อ ไขมัน และดัชนีมวลกายมีค่าเท่าไหร่

การวัดมวลกล้ามเนื้อด้วยวิธี Underwater Weighing

เป็นวิธีการวัดด้วยเครื่องมือที่ถือว่าได้รับการยอมรับอยู่พอสมควร แต่จะมีความยุ่งยากตรงที่ต้องลงไปชั่งน้ำหนักใต้น้ำ โดยค่าที่ได้จะออกมาเป็นค่าความหนาแน่นของกล้ามเนื้อที่ปราศจากไขมันในขณะที่ร่างกายอยู่ในน้ำ ค่าที่ได้ออกมาจะเป็นตัวเลขคร่าวๆ เท่านั้น แน่นอนว่ายังไม่แม่นยำ เนื่องจากร่างกายมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยที่เครื่องชั่งไม่ได้หยิบเอามาใช้ในการคำนวณร่วมด้วยแต่อย่างใด

การวัดมวลกล้ามเนื้อด้วยวิธี DXA (Dual Energy X-ray Absorptiometry)

วิธีวัดมวลกล้ามเนื้อด้วยการทำ DXA นิยมใช้เพื่อวินิจฉัยตรวจหาค่าความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนในทางการแพทย์กันเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นวิธีนี้จะสามารวัดได้ทั้งมวลกระดูก, กล้ามเนื้อ และไขมัน ด้วย ข้อดีคือมีความแม่นยำสูง ปลอดภัย สามารถใช้งานได้ไม่ยุ่งยาก ถือว่าเป็นเทคนิคที่มีความใหม่ หากจะเทียบกับวิธีตรวจแบบอื่นที่กล่าวมาข้างต้น โดยใช้หลักการตรวจด้วยคลื่นรังสี X ที่มีค่าพลังงาน 2 ค่าผ่านร่างกาย รังสีที่ส่งผ่านเข้าไปจะลดหลั่นพลังงานแตกต่างกันไปตามระดับความหนาแน่นของเนื้อเยื่อและกระดูก หลังจากนั้นระบบจะทำการคำนวณภาพที่แสกนออกมาในแต่ละจุดพิกเซล ค่าที่ได้ออกมาก็จะทำให้ทราบมวลกล้ามเนื้อที่แม่นยำได้

นอกจากวิธีข้างต้นเหล่านี้ ยังมีการวัดมวลกล้ามเนื้อด้วยวิธีอื่นๆ ที่ทันสมัย และมีความแม่นยำมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทว่าในการวัดที่อยากจะทราบให้แน่ชัด อาจจะต้องเลือกใช้บริการกับทางโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือทันสมัย ซึ่งรับรองว่าค่าที่ได้ออกมาจะแม่นมากกว่าการซื้ออุปกรณ์มาใช้เอง เนื่องจากบางยี่ห้อมักจะโฆษณาเกินจริง เป็นการกล่าวอ้างลอยๆ ใช้เพียงการป้อนสูตรคำนวณเข้าไปแล้วให้กรอกประวัติก่อนคำนวณเท่านั้น ค่าที่ได้ออกมาจึงมีโอกาสเกิดความผิดเพี้ยนได้สูง


22 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to measure body fat: Accurate methods and ranges. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/326331)
How fit are you? See how you measure up. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/fitness/in-depth/fitness/art-20046433)
Muscle Mass Percentage Averages and How to Calculate It. Healthline. (https://www.healthline.com/health/muscle-mass-percentage)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
พอกันทีกับการซิทอัพ ถึงเวลาเล่นโยคะและพีลาทีสเพื่อกล้ามเนื้อหน้าท้อง
พอกันทีกับการซิทอัพ ถึงเวลาเล่นโยคะและพีลาทีสเพื่อกล้ามเนื้อหน้าท้อง

หลากหลายวิธีเพื่อช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหน้าท้อง

อ่านเพิ่ม
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน

ใช้เทคนิคต่อไปนี้มาช่วยเผาผลาญพลังงานระหว่างการเดินกันเถอะ

อ่านเพิ่ม