การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก

เผยแพร่ครั้งแรก 12 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 19 นาที
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก

การเปลี่ยนข้อสะโพกเป็นหัตถกรรมเพื่อการเปลี่ยนข้อสะโพกที่เกิดความเสียหายด้วยข้อสะโพกเทียม (อวัยวะเทียม)

ข้อสะโพก ข้อต่อสะโพกเป็นส่วนข้อต่อที่ใหญ่ที่สุดของร่างกายมนุษย์ และเรียกกันว่า “ข้อต่อลูกกลมในเบ้ากระดูก” ข้อต่อที่สุขภาพดีจะมีกระดูกที่เชื่อมต่อกันด้วยสายเนื้อเยื่อหรือเส้นเอ็น โดยเส้นเอ็นเหล่านี้จะถูกหล่อลื่นด้วยของเหลวเพื่อลดแรงเสียดทานลง ข้อต่อยังถูกห้อมล้อมด้วยเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนที่มีไว้รองรับข้อต่อและป้องกันไม่ให้กระดูกเสียดสีเข้าด้วยกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เป้าหมายหลักของข้อสะโพกคือรองรับร่างกายส่วนบนในขณะที่มนุษย์เดิน ยืน หรือวิ่งอยู่ และช่วยในการเคลื่อนไหวบางอย่าง อย่างเช่นการงอตัวหรือการยืดตัว เป็นต้น

เหตุใดจึงต้องมีการเปลี่ยนข้อสะโพก?

หากข้อต่อสะโพกของคุณเสียหาย เกิดความเจ็บปวดเวลาขยับร่างกาย หรือมีปัญหากับการดำเนินกิจกรรมปรกติอย่างการเดินหรือขับรถ แพทย์อาจแนะนำให้คุณทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเสีย

โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ข้อสะโพกเสียหายคือ:

  • โรคข้อเสื่อม: ที่ซึ่งกระดูกอ่อนภายในข้อต่อสะโพกหมดสภาพ จนทำให้กระดูกสองส่วนเสียดสีกัน
  • โรคข้อรูมาตอยด์: เกิดมาจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าใจผิด และโจมตีเยื่อบุข้อต่อ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดและข้อตึง
  • สะโพกหัก: หากสะโพกได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากการตกหรืออุบัติเหตุ อาจต้องทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อต่อสะโพกเพื่อรักษา

หลาย ๆ ภาวะที่เป็นสาเหตุที่ต้องทำการเปลี่ยนข้อสะโพกเกี่ยวข้องกับอายุ โดยผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ถึง 80 ปีมักจะมีปัญหาที่ข้อสะโพกอย่างใดอย่างหนึ่ง

แต่การเปลี่ยนข้อสะโพกก็สามารถดำเนินการกับผู้ที่มีอายุน้อยกว่านั้นได้เช่นกัน

เป้าหมายของการเปลี่ยนข้อสะโพกใหม่คือ:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
  • เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานข้อสะโพกของคุณ
  • เพื่อช่วยความสามารถในการเคลื่อนที่
  • เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของคุณ

เกิดอะไรขึ้นระหว่างการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก?

การเปลี่ยนข้อต่อสะโพกต้องดำเนินการกับยาสลบ (คุณจะหลับไปตลอดกระบวนการผ่าตัด) หรือการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง (ทำให้ร่างกายส่วนล่างชา)

ศัลยแพทย์จะกรีดเข้าไปในสะโพกของคุณ และนำส่วนสะโพกที่เสียหายออกมาก่อนใส่ข้อต่อสะโพกเทียมลงไปแทน ซึ่งอวัยวะเทียมนี้จะเป็นโลหะผสมหรือเซรามิกก็ได้

การผ่าตัดมักจะใช้เวลาประมาณ 60-90 นาทีกว่าจะเสร็จสิ้น

การพักฟื้นหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก

ในช่วง 4 ถึง 6 อาทิตย์แรกหลังการผ่าตัด คุณต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดินในการเคลื่อนที่และยันร่างกายของคุณ แต่ระหว่างนั้น คุณก็อาจถูกจัดให้เข้าโปรแกรมพิเศษที่ช่วยให้คุณกลับมามีกำลังและเพื่อการปรับใช้ข้อสะโพกใหม่ ผู้คนส่วนมากจะสามารถกลับไปดำเนินกิจกรรมตามปกติได้ภายใน 2 ถึง 3 เดือน แต่กว่าจะสามารถปรับตัวใช้ประโยชน์จากสะโพกใหม่ได้อาจต้องใช้เวลามากกว่าหนึ่งปี

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกใหม่ช่วยอะไรได้บ้าง?

ตั้งแต่ที่มีการดำเนินการครั้งแรกในปี 1960 การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกใหม่ก็ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นจนกลายเป็นหนึ่งในหัตถการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดประเภทนี้จะมีอาการบาดเจ็บที่ลดน้อยลง และค่อย ๆปรับตัวจนจะมีระยะการเคลื่อนไหวที่ดีมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนข้อสะโพกก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะสามารถกลับไปทำกิจกรรมได้เหมือนแต่ก่อนทุกประการ ยกตัวอย่างเช่น คุณจะสามารถปั่นจักรยานได้ แต่จะอาจไม่เหมาะที่จะไปเล่นรักบี้ เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

กระบวนการเวชกรรมฟื้นฟูหลังการผ่าตัดเองก็ต้องใช้ความพยายามและใช้เวลาอย่างมากเช่นกัน

ความเสี่ยงของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก

ภาวะแทรกซ้อนของการเปลี่ยนข้อต่อสะโพกมีดังนี้:

  • สะโพกเคลื่อน
  • การติดเชื้อที่จุดที่ทำการผ่าตัด
  • การบาดเจ็บของเส้นเลือดและเส้นประสาท
  • การแตกหัก
  • ความแตกต่างของความยาวช่วงขา

กระนั้นความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงก็มีน้อยกว่า 1 ใน 100

ข้อสะโพกเทียมสมัยใหม่สามารถอยู่ได้นานอย่างน้อย 15 ปี แต่ก็อาจมีความเสี่ยงที่ข้อเทียมจะเสื่อมหรือผิดปรกติในทางใดทางหนึ่งก่อนหน้าเวลาจริง ทำให้อาจต้องมีการผ่าตัดแก้ไขหรือซ่อมแซมเกิดขึ้นบ้าง

กระบวนการนี้จะเรียกว่าการผ่าตัดแก้ไข โดยคาดประมาณว่ามีผู้ที่ผ่านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมประมาณ 1 ใน 10 คนที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขในอนาคต

อีกทั้งยังมีรูปแบบการผ่าตัดแบบใหม่หรือการเปลี่ยนข้อสะโพกแบบเหล็กชนเหล็กที่มีอายุการใช้งานสั้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ และยังทำให้กระดูกและเนื้อเยื่อโดยรอบสะโพกเสื่อมสภาพตามไปอีก กอปรกับความกังวลของผู้คนที่เกรงว่าการผ่าตัดแบบนี้จะทำให้สารของเหล็กไหลปนเข้าสู่กระแสเลือด

การผ่าตัดรักษาอื่น ๆ

นอกจากการเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแล้ว ยังมีการผ่าตัดอีกประเภทที่สามารถใช้แทนกันได้ที่เรียกว่าการผ่าตัดผิวกระดูกอ่อน ซึ่งเป็นการขจัดพื้นผิวกระดูกภายในข้อต่อที่เสียหาย และแทนที่ส่วนที่ขัดออกด้วยพื้นผิวที่เป็นเหล็กแทน

ประโยชน์ของหัตถการรูปแบบนี้คือจะมีการกำจัดเนื้อกระดูกออกน้อยกว่า แต่จะใช้ได้ผลดีกับผู้ที่มีอายุน้อยและมีโครงกระดูกที่แข็งแรงพอเท่านั้น

การตัดผิวกระดูกอ่อนไม่ค่อยเป็นที่นิยมเนื่องมาจากประเด็นความกังวลการใช้โลหะกับพื้นผิวกระดูกว่าอาจไปสร้างความเสียหายกับเนื้อเยื่ออ่อนรอบสะโพกได้นั่นเอง

การพัฒนาในอนาคต

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกได้มีการพัฒนาขึ้นจากเมื่อก่อนโดย:

  • มีการใช้อวัยวะเทียมที่ทำจากวัสดุใหม่ที่แข็งแรงทำให้มีอายุการใช้งานยาวขึ้นและทำให้ข้อต่อเคลื่อนที่ได้ดีกว่า
  • กระบวนการปลูกถ่ายแบบใหม่ที่ไม่มีการใช้ซีเมนต์ ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการผ่าตัดข้อต่อแบบใหม่ได้อย่างเช่นเซรามิกบนเซรามิก และเซรามิกบนพลาสติก
  • กระบวนการผ่าตัดมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ประกอบการสร้างภายข้อต่อสะโพกภายในทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำสูง
  • มีงานวิจัยที่กำลังมองหาการใช้สเต็มเซลล์ในการฟื้นฟูสภาพข้อต่อสะโพก โดยสเต็มเซลล์เป็นเซลล์พิเศษที่มีความสามารถช่วยฟื้นฟูเซลล์ประเภทอื่น ๆ ได้

เมื่อไรที่ควรทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อต่อสะโพก

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกมักจะดำเนินการหากข้อต่อหนึ่งหรือทั้งสองส่วนเกิดความเสียหาย และด้วยเหตุผลที่ว่า คุณมีอาการเจ็บปวดเรื้อรังที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น ๆ ขอบเขตการเคลื่อนไหวข้อต่อสะโพกถูกจำกัดทำให้ดำเนินกิจกรรมวันต่อวันยากลำบากหรือเป็นไปไม่ได้เลย ปัญหาข้อต่อสะโพกของคุณส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคุณอย่างมาก

ใครสามารถเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อต่อสะโพกได้บ้าง?

การผ่าตัดนี้มักจะเหมาะสำหรับทุก ๆ คน เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดด้านอายุแม้แต่น้อย อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนข้อต่อสะโพกอาจไม่ถูกแนะนำให้กับผู้ที่มีภาวะทางสุขภาพร้ายแรงอยู่

ด้วยเหตุผลที่ว่า พวกเขาอาจไม่สามารถดำเนินโปรแกรมเวชกรรมฟื้นฟูหลังการผ่าตัดได้ มีโอกาสน้อยที่จะฟื้นตัวสมบูรณ์พวกเขามีความเสี่ยงที่จะทำให้ข้อต่อเทียมเกิดความเสียหายขึ้นอีก และอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีโอกาสประสบกับภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดสูง

สาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายที่สะโพกที่พบได้บ่อยที่สุด

โรคข้อเสื่อม

โรคข้อเสื่อมเป็นภาวะข้ออักเสบที่พบเห็นได้มากที่สุด โดยจะมีสภาพข้อต่อทรุดลงไปตามกาลเวลาและทำให้กระดูกอ่อนโดยรอบเสื่อมสภาพตามจนทำให้กระดูกระหว่างข้อต่อเกิดเสียดสีเข้าด้วยกันจนทำให้เกิดความเจ็บปวด ตึงเกร็ง และจำกัดการเคลื่อนไหวลงไป

โรคข้อรูมาตอยด์

ในกรณีของโรคข้อรูมาตอยด์นั้นเกิดมาจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าโจมตีเซลล์ที่เยื่อบุข้อต่อจนทำให้เกิดอาการบวม ปวด และแข็งขึ้น หากปล่อยไว้นาน ๆ ระบบภูมิคุ้มกันจะสร้างความเสียหายกับข้อต่อ กระดูกอ่อน และกระดูกใกล้เคียงได้

สะโพกแตกหัก

กระดูกหักเป็นการบาดเจ็บที่กระดูกที่พบมากที่สุดในบรรดาผู้สูงอายุ ในกรณีสะโพกแตกหักส่วนมากมักเกิดมาจากการหกล้ม

แม้ว่าแพทย์จะสามารถซ่อมแซมกระดูกสะโพกที่หักได้ แต่ในบางกรณีก็อาจต้องมีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อต่อขึ้นมา

สาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายที่สะโพกที่พบได้ไม่บ่อยนัก

สาเหตุที่พบเห็นได้ไม่บ่อยนักที่ทำให้เกิดการแตกหักที่สะโพกมีดังนี้:

  • โรคข้ออักเสบติดเชื้อ: เป็นภาวะข้อต่อเสื่อมที่เกิดการติดเชื้อ
  • โรคหัวกระดูกสะโพกตาย: เกิดมาจากหลาย ๆ สาเหตุ
  • โรคพาเจทของกระดูก: ภาวะที่สงผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูกและทำให้กระดูกอ่อนแอและผิดรูปร่าง
  • เนื้องอกที่กระดูก: เป็นภาวะที่มีเซลล์เนื้อร้ายโตภายในกระดูก
  • ข้อสะโพกเสื่อม: เป็นภาวะที่ทารกเกิดมาพร้อมกับกระดูกสะโพกผิดรูป โดยจะค่อย ๆ แย่ลงตามกาลเวลาจนอาจต้องทำการเปลี่ยนข้อสะโพก
  • ปัญหาสะโพกในเด็กที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่สะโพกระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น โรคกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือด หรือการเคลื่อนของกระดูกต้นขา เป็นต้น

แนวทางรักษาอื่น ๆ

ก่อนที่แพทย์จะตัดสินใจทำการผ่าตัดเปลี่ยนสะโพก คุณจะต้องเข้ารับการรักษาที่ไม่ใช่การผ่าตัดเสียก่อน ซึ่งหากการรักษาเหล่านี้ได้ผล คุณจะไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก

การรักษาที่ไม่เป็นการผ่าตัดยังสามารถถูกใช้แทนในกรณีที่คุณไม่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด

โดยตัวอย่างวิธีการมีดังต่อไปนี้:

  • การใช้ยาแก้ปวด อย่างการยาแก้อักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) ในกรณีที่ข้อสะโพกคุณมีการติดเชื้อ
  • การฉีดสเตียรอยด์ สามารถใช้ได้ในบางกรณี แต่เนื่องจากผลหลังการยากลุ่มนี้ไม่อาจคาดเดาได้ ทางแพทย์จึงไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้เท่าไรนัก
  • ครีม เจล หรือยาทาแก้ปวด มักหาซื้อยาจำพวกนี้ได้ตามร้านขายยา
  • การใช้ยาตามอาการ: แพทย์จะใช้ยาที่คอยปรับเปลี่ยนการทำงานของระบบภูมิต้านทานไปเรื่อย ๆ เพื่อจัดการกับอาการที่ปรากฏ

การผ่าตัดผิวกระดูกอ่อนเทียม

การผ่าตัดผิวกระดูกอ่อนเทียมเป็นกระบวนการที่ขจัดพื้นผิวส่วนบนของกระดูกต้นขากับพื้นผิวของโพรงที่เป็นจุดบรรจบของกระดูกต้นขากับกระดูกเชิงกราน

พื้นผิวของกระดูกทั้งสองส่วนจะถูกคลุมด้วยแผ่นโลหะ (เหล็กบนเหล็ก) ซึ่งจะช่วยแก้ไขความเสียหายของข้อต่อให้กลับไปสู่สภาวะปรกติ ประโยชน์ของการผ่าตัดผิวกระดูกอ่อนเทียมคือเป็นกระบวนการที่มีการกำจัดกระดูกออกน้อยกว่าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก

หัตถการผ่าตัดผิวกระดูกอ่อนเทียมต้องดำเนินการกับผู้ป่วยที่มีมวลกระดูกแข็งแรงเท่านั้น ทำให้การผ่าตัดนี้ไม่เหมาะสมกับผู้ใหญ่ที่มีอายุน้อย และอาจไม่เหมาะสมกับกลุ่มคนเหล่านี้:

  • ผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป: เนื่องจากยิ่งมีอายุมากกระดูกจะยิ่งอ่อนแอลง
  • สตรีที่ผ่านช่วงหมดประจำเดือนมาแล้ว: ผลข้างเคียงของภาวะหมดประจำเดือนคือกระดูกจะอ่อนแอและเปราะบางกว่าเดิม

โดยทางศัลยแพทย์จะเป็นผู้ชี้แจงและพิจารณาตัวคุณว่าอยู่ในกลุ่มใดหรือมีความเหมาะสมจะเข้ารับการรักษาประเภทนี้หรือไม่เอง

การเตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัด

สองสามสัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด คุณจะถูกนัดให้เข้าคลินิกการประเมินร่างกายก่อนการผ่าตัดเพื่อพบศัลยแพทย์และบุคลากรที่จะมีดูแลรักษาคุณ

ระหว่างขั้นตอนนี้ แพทย์จะซักถามประวัติสุขภาพ ดำเนินการตรวจร่างกาย และจัดการทดสอบต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าตัวคุณมีสุขภาพดีพร้อมรับการผ่าตัด โดยอาจมีการทดสอบมีดังนี้:

และในขั้นตอนนี้ แพทย์จะแนะนำทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณต้องปฏิบัติเพื่อเตรียมตัวก่อนรับการผ่าตัดจริง และสอบถามเรื่องสถานการณ์ทางบ้านเพื่อวางแผนการปล่อยตัวคุณจากโรงพยาบาล หากคุณต้องการการช่วยเหลือเพิ่มเติมให้แจ้งแพทย์ทันทีเพื่อให้พวกเขาจัดหาความช่วยเหลือให้แก่คุณ

ต้องหยุดการใช้ยารักษาโรคข้อต่อรูมารอยด์เนื่องจากยากลุ่มนี้มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะชะลอกระบวนการรักษาลง และคุณต้องหยุดทานยาเจือจางโลหิตกับการบำบัดทดแทนฮอร์โมนด้วยเช่นกัน

โดยทางศัลยแพทย์จะสามารถแนะนำยาการใช้ยาวิธีอื่น ๆ แก่คุณได้

การออกกำลังการก่อนเข้ารับการผ่าตัด

ควรเตรียมความพร้อมรับการผ่าตัดด้วยร่างกายที่กระปรี้กระเปร่าที่สุด ยิ่งกล้ามเนื้อรอบสะโพกของคุณแข็งแรงเท่าไร สะโพกจะยิ่งฟื้นสภาพกลับมาเร็วเท่านั้น คุณอาจถูกส่งไปยังนักกายภาพบำบัดเพื่อให้พวกเขาช่วยเรื่องการออกกำลังกายแก่คุณ แต่หากคุณสามารถทำได้ด้วยตนเอง ต้องพยายามออกกำลังกายด้วยกิจกรรมเบา ๆ อย่างการเดินหรือว่ายน้ำ และควรปฏิบัติเช่นนี้ก่อนการผ่าตัดหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน

การออกกำลังกายต่อไปนี้สามารถช่วยคงสภาพความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของคุณก่อนการผ่าตัดได้:

  • ยืนที่ปลายบันไดและก้าวขาข้างหนึ่งขึ้นหนึ่งขั้น หรือใช้วิธียกเท้าขึ้นบนเก้าอี้ก็ได้ จับราวบันไดหรือเสาที่แข็งแรง ๆ เอาไว้แล้วเอนตัวไปข้างหน้าจนทำให้ขาข้างที่อยู่ข้างล่างยืดออก คงในท่านี้ประมาณ 30 วินาทีก่อนสลับขาอีกข้าง
  • ยืนบนขาที่มีปัญหาเป็นเวลาสั้น ๆ และค่อย ๆ ยกขาข้างที่ดีจากพื้น พยายามคงตำแหน่งสะโพกเอาไว้ ซึ่งคุณสามารถหาตัวรองหรือเกาะเสาเอาไว้ก็ได้
  • นอนหงายบนเตียงและยกขาข้างหนึ่งขึ้นบรรจบหน้าอกโดยที่คงขาอีกข้างไว้ที่เตียง ทำเช่นนี้โดยสลับการยกขาไปมา (สามารถออกกำลังกายท่านี้ได้หากคุณยังไม่เคยได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกมาก่อน)
  • นอนหงายบนเตียง งอเข่าขึ้นจนทำให้เท้าของคุณวางราบไปบนหน้าเตียงและค่อย ๆ ปล่อยเข่าที่ยกขึ้นให้ตกลงข้าง ๆ ลำตัวจนอยู่ในมุมที่รู้สึกสบายที่สุด
  • นอนคว่ำบนเตียงแล้วจึงเปลี่ยนมานอนหงายเป็นเวลา 20 นาทีหนึ่งหรือสองครั้งต่อวันเพื่อยืดทั้งหน้าและหลังของสะโพกออก (แพทย์มักแนะนำให้เป็นตอนเช้าตรู่หรือกลางดึก)

การวางแผนสำหรับการพักฟื้นหลังการผ่าตัด

ภายหลังการผ่าตัด คุณอาจไม่สามารถเดินหรือเคลื่อนไหวแบบต่าง ๆ โดยไม่มีตัวช่วยได้เลยเป็นเวลาอย่างน้อย 4 อาทิตย์ อย่างเช่นการยืดเส้นยืดสาย หรือการก้มหยิบของ

คุณอาจต้องปรับเปลี่ยนการจัดวางข้าวของที่บ้านของคุณเผื่อเอาไว้ อย่างเช่น:

  • เตรียมเก้าอี้นั่งอาบน้ำในห้องน้ำ
  • วางอุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นในระดับที่สามารถเอื้อมถึงเพื่อไม่ให้คุณต้องงอตัวหรือยืดตัวไปหยิบ
  • กักตุนอาหารที่เตรียมง่าย ๆ ไว้อย่างเช่นอาหารแช่แข็ง หรือทำอาหารตุนเอาไว้ในตู้เย็น เป็นต้น
  • บางคนอาจหาซื้อ “มือวิเศษ” หรือ “แขนยืดยาว” มาไว้ เพื่อทำการหยิบจับสิ่งของที่อยู่ในระยะเกินเอื้อม (แต่ไม่ไกลจนเกินไป) โดยสามารถหาซื้ออุปกรณ์เหล่านี้ได้ง่าย ๆ จากอินเตอร์เน็ตหรือร้านค้าที่ขายสินค้าที่ช่วยในเรื่องของการเคลื่อนไหว เป็นต้น

การดำเนินการ

คุณมักสามารถเลือกยาที่ช่วยระงับความรู้สึกก่อนการผ่าตัดได้ด้วยตัวเอง โดยจะมีอยู่สองตัวเลือกคือ:

  • ยาสลบ: ที่ซึ่งคุณจะนอนหลับไปตลอดการผ่าตัด
  • การฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง: ที่ซึ่งแพทย์จะฉีดยาเข้ากระดูกสันหลังของคุณเพื่อทำให้ร่างกายส่วนล่างของคุณชา โดยมักใช้ยาตัวนี้ร่วมกับยากล่อมประสาทเพื่อทำให้คุณไม่รู้สึกตัวถึงกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างการผ่าตัด และคุณจะไม่มีความทรงจำระหว่างนั้นอีกด้วย

เงื่อนไขการใช้จะขึ้นอยู่กับสุขภาพโดยรวมของคุณ แต่ศัลยแพทย์มักจะแนะนำให้ใช้วิธีระงับความรู้สึกที่สันหลังเนื่องจากเป็นวิธีที่สร้างผลแทรกซ้อนน้อยกว่าในกรณีที่เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะอื่น ๆ ทางสุขภาพร่วมด้วย

กระบวนการ

หลังจากคุณได้รับยาระงับประสาทแล้ว ศัลยแพทย์จะทำการนำข้อต่อสะโพกที่มีออกทั้งหมด ส่วนกระดูกต้นขาจะถูกนำออกมาเพื่อทำให้ส่วนหัวของกระดูกต้นขากลวง

ปลอกจะถูกใส่เข้าในช่องกลวงที่เชิงกราน แพทย์จะนำด้ามโลหะที่มีขนาดสั้นและลูกบอลผิวเรียบอยู่ปลายบน (เพื่อใส่เข้าไปในปลอก) ใส่เข้าไปในช่องกลวงของกระดูกต้นขา เมื่อปลอกและด้ามดังกล่าวถูกประกบเข้าด้วยกัน แพทย์จะต่อสองส่วนนี้เข้าด้วยอะคริลิกซีเมนต์

การผ่าตัดผิวกระดูกอ่อนเทียมแบบเหล็กบนเหล็กมักจะดำเนินการในรูปแบบที่คล้ายกัน โดยความแตกต่างหลักคือปริมาณกระดูกต้นขาที่ถูกนำออกเพื่อเสริมด้วยโลหะเท่านั้น

วัสดุที่ใช้

อวัยวะเทียมที่ใช้เป็นได้ทั้งแบบซีเมนต์และไม่ใช่ซีเมนต์ ส่วนที่เป็นซีเมนต์จะมีความปลอดภัยต่อกระดูกมากว่า

ส่วนที่ไม่ใช่ซีเมนต์อาจทำมาจากวัสดุอื่น ๆ ที่มีพื้นผิวหยาบ ซึ่งอาจทำให้กระดูกเติบโตเข้าไปและยืดไว้กับที่ได้

ส่วนปลอกของอวัยวะเทียมมักจะผลิตมาจากโพลิทีนความหนาแน่นสูง และด้ามจะทำมาไททาเนียมอัลลอย และในบางครั้งส่วนลูกบอลก็อาจทำมาจากโครเมียมและโมลีเดียมแทนซึ่งไม่เหมือนส่วนด้ามก็ได้

ศัลยแพทย์บางท่านอาจใช้ลูกบอลกับปลอกโลหะ และอาจใช้ส่วนที่เป็นเซรามิกแทน ทำให้มีอายุการใช้งานอุปกรณ์นานกว่า

มีรายงานเมื่อไม่นานมานี้ที่พบว่าการผ่าตัดเปลี่ยนสะโพกแบบเหล็กบนเหล็กจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเป็นหัตถการทั่วไป แต่ก็ไม่ต่างจากการผ่าตัดรูปแบบอื่น ๆ ที่จะมีความเสี่ยงแฝงอยู่บ้าง

การเลือกอวัยวะเทียม

อวัยวะเทียมมีมากกว่า 60 ประเภท แต่ในทางปฏิบัติแล้ว แพทย์จะจำกัดเหลือเพียง 4 ถึง 5 ประเภทเท่านั้น โดยทางศัลยแพทย์สามารถให้ข้อมูลและเปรียบเทียบความเหมาะสมของแต่ละประเภทแก่คุณได้

ทางสถาบันความเป็นเลิศทางสุขภาพและการดูแลนานาชาติ (NICE) ได้จัดทำรายการอวัยวะเทียมที่มีโอกาสมากกว่า 95% ที่จะอยู่คงทนไปอย่างน้อย 10 ปีไว้แล้ว หากคุณต้องการใช้หรือต้องการเหตุผลที่ต้องใช้อวัยวะประเภทนั้น ๆ ก็สามารถถามจากศัลยแพทย์ได้ อีกทั้งหากคุณมีความกังวลกับการผ่าตัดแบบเหล็กบนเหล็กนี้ ก็สามารถปรึกษาศัลยแพทย์ได้เช่นกัน

ผู้เชี่ยวชาญ

ให้เลือกเข้ารักษากับผู้เชี่ยวชาญที่สมารถทำการผ่าตัดรักษาสะโพกแก่คุณได้หลายครั้ง เนื่องจากหากมีกรณีที่ต้องมีการผ่าตัดแก้ไขสะโพกครั้งที่สองหรือมากกว่านั้น ผู้ที่ทำการผ่าตัดให้แก่คุณจะเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุด

การพักฟื้น

หลังการผ่าตัด คุณจะถูกจัดให้นอนหงายบนเตียงโดยมีหมอนหนุนอยู่ระหว่างขาทั้งสองข้างเพื่อปรับตำแหน่งของสะโพกของคุณ โดยจะมีพยาบาลคอยสอดส่องอาการและทำแผลที่ขาคุณตลอดการรักษาตัว

ระหว่างนั้นแพทย์อาจอนุญาตให้คุณได้แค่ดื่มน้ำเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับอาการของคุณ หากดูดีแพทย์อาจอนุญาตให้คุณรับประทานอาหารได้

คุณจะลุกขึ้นมาได้เร็วขนาดไหน?

ภายหลังการผ่าตัด บุคลากรทุกคนจะพยายามทำให้คุณฟื้นตัวกลับมาลุกขึ้นและเดินได้ให้เร็วที่สุด ผู้ป่วยบางคนอาจสามารถลุกเดินได้ภายในวันเดียวกับที่มีการผ่าตัด

แต่ในตอนแรกนั้น คุณจะรู้สึกไม่สบายตัวในขณะเดินหรือออกกำลังกาย และขากับเท้าของคุณอาจมีอาการบวมเช่นกัน คุณอาจได้รับยาฉีดที่ช่องท้องเพื่อช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดที่ขาของคุณ และอาจได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้ออีกด้วย

จะมีนักกายภาพบำบัดเข้ามาสอนการออกกำลังกายแก่คุณเพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงให้สะโพก และจะเป็นผู้อธิบายกิจกรรมที่ควรและไม่ควรปฏิบัติหลังการผ่าตัดต่าง ๆ อีกทั้งนักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้ชี้ทางการนั่งและงอตัวที่ไม่เป็นการสร้างความเสียหายแก่สะโพกใหม่แก่คุณอีกด้วย

การดูแลสะโพกใหม่

สะโพกใหม่ของคุณจะคงอยู่ได้นานหากมีการดูแลที่ดี โดยแพทย์จะให้ข้อแนะนำต่าง ๆ แก่คุณ โดยคำแนะนำนั้นจะขึ้นอยู่กับรายบุคคลอีกที:

  • หลีกเลี่ยงการหมุนหรืองอส่วนสะโพกมากกว่า 90 องศาระหว่างการทำกิจกรรมทุกประเภท
  • หลีกเลี่ยงการบิดสะโพก
  • หากต้องทำการหมุนตัว ให้ค่อย ๆ ก้าวทีละก้าวแทน
  • อย่ากดบาดแผลที่ช่วงระยะแรกของการฟื้นตัว (ดังนั้น พยายามอย่านอนตะแขงไปด้านข้าง)
  • อย่านั่งไขว้ขา หรือเอาขามาทับขาอีกข้าง
  • อย่าฝืนทำกิจกรรมใด ๆ ที่สร้างภาระแก่สะโพกใหม่จนทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว
  • หลีกเลี่ยงการนั่งเก้าอี้หรือสุขภัณฑ์เตี้ย ๆ (ควรหาที่รองชักโครกให้สูงขึ้นมา

คุณจะสามารถกลับบ้านได้เมื่อไร?

คุณจะต้องอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อพักฟื้นเป็นเวลาประมาณ 3 ถึง 5 วัน หากคุณมีสภาพร่างกายที่แข็งแรงดี ศัลยแพทย์จะเพิ่มประสิทธิภาพโปรแกรมฟื้นตัวของคุณ ซึ่งโปรแกรมนี้จะเริ่มให้คุณลุกขึ้นเดินไปมาและอาจทำให้คุณสามารถออกจากโรงพยาบาลได้เร็วกว่านั้น หรือประมาณ 1 ถึง 3 วัน

ความคาดหวังและความรู้สึกเมื่อกลับถึงบ้าน

ในช่วงแรก ๆ คุณจะรู้สึกเหนื่อยอย่างมาก ซึ่งเป็นอาการปรกติหลังการผ่าตัดใหญ่ที่ซึ่งต้องให้เวลากล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อโดยรอบสะโพกใหม่ฟื้นตัวเองสักหน่อย

 คุณอาจจัดหาความช่วยเหลือมายังบ้านของคุณก็ได้ โดยคุณอาจใช้วิธีจ้างหรือขอร้องใครสักคนเข้ามาดูแลคุณในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ หรือจะเลือกใช้นักบำบัดตามสถานที่ที่ทางโรงพยาบาลจัดหามาให้ก็ได้ โดยนักบำบัดจะสามารถแนะนำวิธีดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันของคุณได้อย่างการอาบน้ำด้วยตนเอง หรือคอยช่วยเหลือการใช้ชีวิตของคุณในบางเรื่องก็ได้

ความเจ็บปวดจะหายไปเมื่อใด?

ความเจ็บปวดที่คุณมีก่อนเข้ารับการผ่าตัดควรจะหายไปทันทีที่ผ่าตัดเสร็จ แต่จะมีความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดเข้ามาแทน ซึ่งไม่ควรจะมีระยะเวลานานเกินไป

สิ่งที่คุณควรระมัดระวังหรือเป็นกังวล

หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก หากคุณมีอาการบวมแดง มีของเหลวขับออก หรือมีความเจ็บปวดเพิ่มขึ้นที่ข้อต่อใหม่ ให้คุณแจ้งแพทย์ผู้ดูแลในทันที

คุณจะกลับไปอยู่โรงพยาบาลอีกหรือไม่?

คุณจะได้รับแจ้งนัดหมายติดตามผลอีกครั้งประมาณ 6 ถึง 12 สัปดาห์หลังจากการผ่าตัดเปลี่ยนสะโพก และหลังจากนั้น ศัลยแพทย์จะทำการนัดคุณมาพบอีกทีหนึ่งปีใหม่ให้หลัง และค่อยทำการนัดอีกครั้ง 5 ปีข้างหน้าเพื่อทำการเอกซเรย์ดูสภาพความแข็งแรงของสะโพกใหม่ของคุณ

ต้องใช้เวลานานเท่าไรกว่าร่างกายจะกลับไปเป็นปกติ?

โดยทั่วไปนั้นคุณจะสามารถหยุดใช้ไม้ค้ำช่วยเดินภายใน 4 ถึง 6 สัปดาห์หลังการผ่าตัด และจะรู้สึกเหมือนเป็นปรกติหลังจาก 3 เดือน ซึ่งในระหว่างนี้คุณจะสามารถดำเนินกิจกรรมทั่วไปได้เหมือนแต่ก่อน

แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือการเล่นกีฬาสุดโต่งที่อาจทำให้คุณหกล้มได้ อย่างสกี หรือการขี่ยานพาหนะเร็ว ๆ โดยทางแพทย์และนักกายภาพจะเป็นผู้แนะนำกิจกรรมต่าง ๆ แก่คุณเอง

คุณจะสามารถกลับไปขับรถได้เมื่อไร?

คุณสามารถขับรถยนต์ได้หลังการผ่าตัด 6 สัปดาห์ แต่ก็ควรเริ่มขับเมื่อได้รับคำยืนยันจากแพทย์แล้วเท่านั้น หากคุณไม่สามารถก้มเข้าหรือออกจากรถได้สะดวก ลองปรับอิริยาบถในการเข้าออกใหม่อย่างการหันหลังเข้านั่งในรถ หรือเหวี่ยงขาทั้งสองข้างเป็นวงกลมเพื่อลุกออกจากเบาะรถ เป็นต้น

คุณจะสามารถกลับไปทำงานได้เมื่อไร?

ขึ้นอยู่กับประเภทงานของคุณ ส่วนมากแล้วคุณจะสามารถกลับไปทำงานได้หลังการผ่าตัด 6-12 สัปดาห์

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกส่งผลอย่างไรกับชีวิตบนเตียง?

หากว่ากิจกรรมร่วมเพศสร้างความเจ็บปวดแก่ร่างกายของคุณก่อนเข้ารับการผ่าตัด ภายหลังการผ่าตัด อาการดังกล่าวควรจะดีขึ้นจนทำให้ชีวิตบนเตียงของคุณกลับมาน่าอภิรมย์กว่าแต่ก่อน แต่กระนั้น ในช่วงการพักฟื้น ทางศัลยแพทย์จะเป็นผู้แจ้งกับคุณว่าเมื่อไรที่คุณสามารถกลับไปทำกิจกรรมทางเพศได้อีกครั้ง โดยส่วนมากและในกรณีที่คุณระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ คุณจะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้หลังจากการผ่าตัด 6 ถึง 8 สัปดาห์ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงท่วงท่าที่อันตรายไว้จะดีที่สุด

คุณจะทราบได้อย่างไรว่าต้องทำการเปลี่ยนสะโพกใหม่?


ณ ปัจจุบัน การปลูกถ่ายสะโพกส่วนมากจะมีอายุมากถึง 15 ปี หรือมากกว่านั้น หากคุณมีอายุมากตั้งแต่ตอนที่ทำสะโพกใหม่ อวัยวะเทียมก็สามารถอยู่ได้ตลอดชีวิตของคุณ แต่หากคุณมีอายุน้อยอยู่ คุณอาจต้องทำการผ่าตัดเปลี่ยนสะโพกชิ้นใหม่อีกครั้งในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต

การผ่าตัดแก้ไขจะมีความซับซ้อนและกินเวลามากกว่าการผ่าตัดแรก อีกทั้งยังมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงกว่าเดิมอีกเช่นกัน ทำให้การผ่าตัดแก้ไขอาจไม่เหมาะสมกับคนไข้ทุกคน แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ การผ่าตัดแก้ไขได้มีโอกาสสำเร็จสูงขึ้นเรื่อย ๆ และผลของการผ่าตัดก็มีอายุยืนยาวมากถึง 10 ปีขึ้นไปอีกด้วย

ความเสี่ยง

ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกมักเป็นความผิดปรกติที่เกิดกับข้อต่อ ซึ่งจะเกิดขึ้นกับคนไข้ 1 ใน 10 คน

ปัญหาข้อต่อ

ประเภทของความผิดปรกติที่ข้อต่อถูกระบุไว้ดังนี้:

ข้อต่อหลวม

เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยครั้งที่สุด โดยมักเกิดมาจากการที่ด้ามของอวัยวะเทียมที่สอดอยู่ในช่องกลวงของกระดูกต้นขาหลวมเกินไป หรืออาจเกิดมาจากการบางลงของกระดูกรอบจุดที่ทำการผ่าตัด การหลวมของข้อต่อสามารถเกิดขึ้นได้เวลาใดก็ได้ แต่ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นราว ๆ 10-15 ปีหลังการผ่าตัดครั้งแรก

สัญญาณของปัญหาข้อต่อหลวมคือความเจ็บปวดและรู้สึกไม่มั่นคงบริเวณข้อต่อ ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัดแก้ไข ซึ่งแปลว่ามันอาจไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยทุกคน

สะโพกเคลื่อน

ปัญหาข้อต่อสะโพกหลังการผ่าตัด จะมีประมาณ 3% ที่เป็นปัญหาเช่นนี้ โดยส่วนมากมักจะเกิดปัญหานี้ขึ้นในช่วงหนึ่งอาทิตย์แรกหลังการผ่าตัด หรือช่วงที่สะโพกกำลังฟื้นตัวอยู่ ต้องใช้การผ่าตัดแก้ไขเพื่อทำให้ข้อต่อกลับไปในตำแหน่งที่ควรจะเป็น

หมดสภาพและเสียหาย

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยครั้งอีกประเภทคือการเสื่อมสภาพและการพังเสียหายของปลอกเทียม โดยเกิดมาจากการที่ข้อต่อเทียมถูกเนื้อเยื่อโดยรอบกินเข้าไปจนทำให้ข้อต่อหลวม

หากแพทย์สังเกตเห็นปัญหานี้จากการเอกซเรย์ ศัลยแพทย์จะแนะนำให้คุณทำการเอกซเรย์เป็นประจำ และหากปัญหามีความรุนแรงมาก คุณอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษา

มีรายงานว่ากระบวนการปลูกถ่ายที่ใช้วิธีเหล็กบนเหล็กจะมีโอกาสหมดสภาพเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยมีคำแนะนำว่าผู้ที่ทำการปลูกอวัยวะเทียมแบบเหล็กบนเหล็กควรทำการตรวจสภาพทุกปี หากคุณไม่ทราบชนิดของการผ่าตัดหรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม คุณสามารถเข้าปรึกษากับแพทย์ผู้ดูแลของคุณได้ทุกเมื่อ

ข้อแข็งขึ้น

เป็นภาวะที่เนื้อเยื่ออ่อนรอบจุดที่ทำการปลูกอวัยวะเทียมเกิดแข็งตัวจนลดขอบเขตการเคลื่อนไหวลง โดยมากภาวะนี้มักไม่สร้างความเจ็บปวดมากนักและสามารถป้องกันได้ด้วยการใช้ยาหรือการบำบัดรังสี (เป็นกระบวนการที่รวดเร็วและไม่เจ็บปวดที่ใช้รังสีที่ผ่านการควบคุมปริมาณความเข้มข้นมาแล้วกับข้อต่อสะโพก)

ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกมักไม่ค่อยพบเห็นกันนัก โดยคาดว่าเกิดขึ้นประมาณ 1 ใน 100 กรณีเท่านั้น:

ลิ่มเลือด

ในช่วงสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัดจะมีความเสี่ยงเล็กน้อยที่จะเกิดลิ่มเลือดขึ้น

โดยจุดที่มักจะเกิดลิ่มเลือดคือ:

  • ภายในขาข้างใดข้างหนึ่ง: หรือภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน (DVT)
  • ภายในปอด: หรือโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด
  • อาการของ DVT มีดังนี้:
  • เจ็บปวด บวม และมีภาวะกดเจ็บที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง (มักเป็นที่น่อง)
  • มีความเจ็บปวดบริเวณที่เป็นรุนแรง
  • ผิวหนังบริเวณที่เกิดลิ่มเลือดอุ่นขึ้น

อาการของโรคลิ่มเลือดในปอดอุดกั้นมีดังนี้:

หากคุณคาดว่าภายในร่างกายตนเองเป็นลิ่มเลือดประเภทใดประเภทหนึ่ง ในรีบติดต่อแพทย์ผู้ดูแลในทันที

เพื่อลดความเสี่ยงข้อนี้ลง แพทย์จะให้ยาเจือจางโลหิตแก่คุณ (อย่างเช่นยาวอร์เฟริน) หรือแนะนำให้สวมถุงเท้ารัด ๆ เข้าไว้

การติดเชื้อ

การผ่าตัดมักจะมีความเสี่ยงเล็กน้อยที่ผู้ป่วยจะติดเชื้อบางอย่าง สำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อต่อสะโพกเทียมนั้น การติดเชื้อมักจะเกิดขึ้นโดยรอบอวัยวะเทียม

อาการของการติดเชื้อมีดังนี้:

  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • หนาวสั่น
  • จุดที่ผ่าตัดมีสีแดงและบวมออก
  • มีของเหลวขับออกจากจุดที่ทำการผ่าตัด
  • ปวดสะโพกเรื้อรังแม้ขณะนอนหลับ

หากคุณประสบกับอาการที่กล่าวไปข้างต้น ให้รีบติดต่อแพทย์ผู้ดูแลในทันที

กระบวนการเปลี่ยนข้อต่อสะโพกแบบเหล็กบนเหล็กแบบใหม่ล่าสุด

ผู้ป่วยที่ผ่านการปลูกอวัยวะเทียมโลหะควรทำการตรวจร่างกายและอุปกรณ์ทุก ๆ ปีไปตลอดชีวิต

เนื่องจากอุปกรณ์ที่ผลิตมาจากเหล็กจะมีโอกาสเสื่อมลงตามกาลเวลา และสำหรับบางคนอาจมีอัตราการเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติอันเนื่องมาจากการเสื่อมโทรมและความเสียหายบนกระดูกและเนื้อเยื่อโดยรอบสะโพก อีกทั้งยังเป็นเพราะว่าอุปกรณ์ดังกล่าวมีโอกาสปล่อยเหล็กเข้าสู่กระแสเลือดได้อีกด้วย

ในปี 2012 ได้มีคู่มือฉบับใหม่ (โดย MHRA) ในเรื่องของการปลูกถ่ายสะโพกแบบ “เหล็กบนเหล็ก” ที่ใช้หัวอุปกรณ์โลหะหรือเซรามิกที่มีขนาดเล็กกว่าเดิม

รายละเอียดก่อนหน้าหรือฉบับปี 2010 กล่าวว่าผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายแบบเหล็กบนเหล็กควรทำการตรวจร่างกายทุกปี เป็นเวลาต่อเนื่อง 5 ปีหลังการผ่าตัดครั้งแรก ซึ่งคู่มือใหม่กำหนดว่าการตรวจร่างกายควรทำทุกปีไปตลอดชีวิต เพื่อช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ แม้จะเล็กมาแค่ไหนก็ตาม และเพื่อมองหาการผ่าตัดช่วยเหลือต่อ ๆ ไป

ถ้าคุณเป็นผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายสะโพกเทียมควรปฏิบัติอย่างไร?

คู่มือข้างต้นกล่าวเฉพาะเครื่องมือเหล็กบนเหล็กที่เป็นหัวขนาดใหญ่ และระบุสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนสะโพกขนาดเล็กเท่านั้น หากคุณยังคงกังวลหรือไม่แน่ใจประเภทการผ่าตัดที่ทำไป คุณก็สามารถปรึกษากับแพทย์ผู้ดูแลของคุณได้ตลอดเวลา

ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนสะโพกควรหมั่นสังเกตหาสัญญาณเตือนของภาวะปัญหาต่าง ๆ อย่างรอบคอบ

อะไรคือสัญญาณเตือน?

ผู้ป่วยที่ผ่านการปลูกอวัยวะเทียมแบบเหล็กบนเหล็กต้องเข้าพบแพทย์ตามที่มีการนัดหมายไว้ทุกครั้ง

แต่หากคุณพบอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบไปพบแพทย์ในทันที:

  • มีอาการเจ็บปวดที่ขาหนีบ สะโพก หรือขา
  • มีอาการบวมที่จุดใกล้กับข้อต่อสะโพก
  • มีปัญหาการเดิน
  • มีเสียงดังออกจากข้อต่อ

อาการเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าอุปกรณ์ภายในเสียหายหรือพังทลายทุกกรณี แต่กระนั้นก็ควรทำการตรวจสอบก่อนจะดีที่สุด

หากมีการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพโดยรวมดังนี้ก็ควรรีบแจ้งแพทย์ผู้ดูแลเช่นเดียวกัน:

  • เจ็บหน้าอก หรือหายใจลำบาก
  • ชาหรืออ่อนแรง
  • สายตาหรือการได้ยินเปลี่ยน
  • เหนื่อยล้า
  • รู้สึกหนาว
  • น้ำหนักขึ้น

มีประเภทการปลูกถ่ายสะโพกใดบ้าง?

กระบวนการปลูกถ่ายสะโพกมีอยู่หลากหลายวิธีและมีการใช้หลายวัสดุ โดยในปี 2012 ทาง MHRA ได้เสนอรูปแบบการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบเหล็กบนเหล็กที่เป็นข้อต่อที่สร้างมาจากโลหะสองชิ้นขึ้นมา ซึ่งเป็นการใช้ลูกบอลเหล็กแทนบอลที่อยู่บนยอดของกระดูกต้นขากับปลอกเหล็ก ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็นปลอกสวมที่อยู่บนกระดูกเชิงกราน

MHRA ได้ระบุว่าการปลูกถ่ายแบบเหล็กบนเหล็กที่มีการใช้หัวบอลบนกระดูกต้นขาที่มีขนาด 36 mm หรือมากกว่าเป็นการปลูกถ่ายแบบ “หัวใหญ่” และได้แนะนำว่าผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดรูปแบบนี้ควรทำการตรวจร่างกายประจำปีไปตลอดชีวิต และยังต้องทำการทดสอบระดับสารโลหะในกระแสเลือดเพิ่มเติมอีกด้วย

ผู้ป่วยที่ผ่านการปลูกถ่ายรูปแบบนี้ที่มีอาการควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ MRI หรือสแกนอัลตราซาวด์ ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีอาการใด ๆ ควรทำการตรวจสอบระดับไอออนโลหะในเลือด

ซึ่งเปลี่ยนจากประกาศเมื่อปี 2010 ที่กล่าวว่าผู้ที่ทำกรปลูกถ่ายสะโพกด้วยกรรมวิธีนี้ต้องทำการตรวจร่างกายประจำปีต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ทำการปลูกถ่ายแบบเหล็กบนเหล็กประเภทอื่น ๆ ที่ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงมีต่อไปนี้:

  • การผ่าตัดปลูกถ่ายพื้นผิวกระดูกอ่อนแบบเหล็กบนเหล็ก: ที่ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้พื้นผิวโลหะกับปลอกและลูกบอลบนกระดูกสะโพกแทนการเปลี่ยนสะโพกทั้งหมด
  • การผ่าตัดเปลี่ยนสะโพกแบบเหล็กบนเหล็กทั้งหมด: ที่ซึ่งใช้ลูกบอลที่มีขนาดเส้นน้อยกว่า 36 mm
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบ DePuy ASR: เป็นกระบวนการผ่าตัดเปลี่ยนข้อที่มีโอกาสล้มเหลวสูง โดยตั้งชื่อจากชื่อของผู้ผลิตอุปกรณ์ดำเนินการเอง
  • การผ่าตัดปลูกถ่ายที่ใช้หัวเซรามิก

มีคนกี่คนที่ได้รับผลกระทบ?

คาดการณ์ว่ามีผู้คน (ในประเทศอังกฤษ) ได้รับผลกระทบจากการปลูกถ่ายแบบเหล็กบนเหล็กที่ใช้ลูกโลหะขนาด 36 mm หรือมากกว่า โดยนับว่าเป็นประชากรผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกจำนวนน้อย ซึ่งส่วนใหญ่ใช้อุปกรณ์ที่เป็นเซรามิกหรือใช้หัวโลหะที่มีขนาดเล็กกว่า

ในปี 2010 ได้มีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกมากกว่าเจ็ดหมื่นครั้ง และประมาณ 5% ของการผ่าตัดเหล่านั้นจะเป็นการปลูกถ่ายแบบเหล็กบนเหล็กที่ใช้ลูกโลหะขนาด 36 mm หรือมากกว่า

อะไรคือปัญหาจากกระบวนการเหล็กบนเหล็ก?

อวัยวะสะโพกเทียมจะเสื่อมโทรมไปเองตามกาลเวลาเนื่องจากตัวปลอกและลูกบอลจะเสียดสีกันและกันระหว่างการเดินและวิ่ง จึงทำให้แพทย์แนะนำว่าคุณควรเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนหรือถอดอุปกรณ์ แม้ว่าจะมีผู้ป่วยหลายท่านที่สามารถใช้ชีวิตกับข้อเทียมโดยไม่เคยทำการผ่าตัดเปลี่ยนสักครั้งก็ตาม

ข้อมูลใหม่ได้ระบุว่าการใช้อุปกรณ์สะโพกเทียมแบบเหล็กบนเหล็ก (ที่ใช้ลูกโลหะขนาด 36 mm หรือมากกว่า) จะมีความเร็วในการเสื่อมสภาพเร็วกว่าแบบอื่น ๆ เนื่องจากแรงเสียดสีสะสมของพื้นผิวอุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้มีโลหะหลุดเข้าไปในกระแสเลือดได้ด้วย

ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีปฏิกิริยาต่อสารโลหะที่ต่างกัน บางคนอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อหรือเกิดความรู้สึกไม่สบายบริเวณจุดที่ทำการปลูกถ่ายก็ได้

เมื่อผ่านไปนานเข้า ความเสียหายนี้จะลามไปยังกระดูกและเนื้อเยื่อโดยรอบตำแหน่งที่ทำการปลูกถ่าย จนอาจกลายเป็นภาวะอุปกรณ์หลวมและก่อให้เกิดความเจ็บปวดรุนแรงได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต้องทำการผ่าตัดรักษา ทาง MHRA จึงได้ประกาศคำแนะนำในการมองหาร่องรอยไอออนของเหล็กในกระแสเลือดไว้แล้ว โดยกล่าวว่าระดับไอออนในกระแสเลือดโดยเฉพาะตัวโคบอลต์และโครเมียมที่อยู่บนพื้นผิวของอุปกรณ์จะบ่งชี้ถึงความเสื่อมสภาพของตัวอุปกรณ์เอง

แม้ว่ายังไม่มีหลักฐานเชื่อมโยงที่แน่ชัดถึงไอออนจากอุปกรณ์ปลูกถ่ายแบบเหล็กบนเหล็กก็ตาม แต่ก็มีรายงานถึงระดับไอออนโลหะที่สูงในผู้ป่วยที่มีอาการและการเจ็บปวดตามร่างกาย อย่างปัญหาที่หัวใจ ระบบประสาท และต่อมไทรอยด์

MHRA ชี้ว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบเหล็กบนเหล็กส่วนมากจะมีสะโพกที่สามารถใช้งานได้ดีและมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำ อย่างก็มีผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบเหล็กบนเหล็กจำนวนเล็กน้อยที่มีปัญหาเนื้อเยื่อเสื่อมสภาพจากอุปกรณ์ประเภทนี้


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hip Replacement Surgery | Hip Arthroplasty. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/hipreplacement.html)
Hip replacement. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/hip-replacement/)
Hip Replacement Surgery: Things to Consider. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/considering-hip-replacement-surgery-2549565)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)